Thursday 31 March 2011

ไฟเบอร์ในอาหาร

เส้นใยอาหาร (Fiber) คืออะไร
ไฟเบอร์ หรือ เส้นใยอาหาร ส่วนใหญ่เราจะได้จากส่วนโครงสร้างของพืช มีอีกชื่อหนึ่งว่าเซลลูโลส ไฟเบอร์ แบ่งได้ 2 ชนิดคือ ไฟเบอร์ ชนิดที่ละลายน้ำได้ เวลาละลายน้ำจะเห็นเป็นลักษณะเมือกๆ พบมากในผลไม้ ถั่ว ข้าวโอ๊ต เป็นต้น อีกชนิดคือ ไฟเบอร์ ชนิดที่ไม่ละลายน้ำ จะพบมากใน ข้าวซ้อมมือ รำข้าว ผักต่างๆ

มีการรายงานว่าปกติเฉลี่ยแล้วพวกเรารับประทาน ไฟเบอร์ เพียง 10 กรัมต่อวันเท่านั้น ซึ่งหากว่าเราสามารถรับประทาน 25-40 กรัมต่อวันจะสามารถช่วยลดความเสี่ยงของการเกิด โรคหัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง มะเร็งลำไส้ใหญ่ และความผิดปกติของระบบทางเดินอาหารได้งั้นเรามาลองดูว่าอาหารแต่ละชนิดมีปริมาณ ไฟเบอร์ อยู่เท่าไร

ไฟเบอร์ในอาหารทั่วไป
นมและผลิตภัณฑ์จากนม    มี ไฟเบอร์ อยู่    0 กรัม
เนื้อสัตว์ มี ไฟเบอร์ อยู่    0 กรัม
ถั่วอบ (1/2 ถ้วย) มี ไฟเบอร์ อยู่    11 กรัม
ข้าวโพดคั่ว (1ถ้วย) มี ไฟเบอร์ อยู่    0.4 กรัม

ไฟเบอร์ในผัก
บร็อคคอรี่ (1/2ถ้วย)    มี ไฟเบอร์ อยู่    3.2 กรัม
แครรอตต้ม (1/2ถ้วย)    มี ไฟเบอร์ อยู่    2.3 กรัม
แครรอตสด (1ถ้วย)    มี ไฟเบอร์ อยู่    2.3 กรัม
เห็ดสด (1/2ถ้วย)    มี ไฟเบอร์ อยู่    0.7 กรัม
ผักขม (1/2ถ้วย)    มี ไฟเบอร์ อยู่    5.7 กรัม
มะเขือเทศสด (1ถ้วย)    มี ไฟเบอร์ อยู่    2.0 กรัม

ไฟเบอร์ในผลไม้
แอปเปิ้ล(1ผล)    มี ไฟเบอร์ อยู่    3.3 กรัม
กล้วย (1 ลูก)    มี ไฟเบอร์ อยู่    3.2 กรัม
แคนตาลูป (1/4 ลูก)    มี ไฟเบอร์ อยู่    1.6 กรัม
องุ่น (1/2 ถ้วย)    มี ไฟเบอร์ อยู่    0.6 กรัม
ส้ม (1 ผล)    มี ไฟเบอร์ อยู่    2.4 กรัม
สับประรด (1/2 ถ้วย)    มี ไฟเบอร์ อยู่    0.9 กรัม
สตอเบอรี่ (1/2 ถ้วย)    มี ไฟเบอร์ อยู่    1.7 กรัม

No comments:

Post a Comment