Tuesday 19 April 2011

แนวทางการใช้ครีมป้องกันแดด

การเลือกใช้ครีมป้องกันแดด (Sun screen)



Clinical Practice Guideline for Sunscreen
นายแพทย์นภดล นพคุณ
แพทย์หญิงณัฏฐา รัชตะนาวิน
นายแพทย์ประวิตร อัศวานนท์
แพทย์หญิงรัศนี อัครพันธุ์
แพทย์หญิงชนิษฎา ตู้จินดา
แพทย์หญิงรตยา เดิมหลิ่ม

ความนำ

แสงแดดที่ผ่านลงมายังพื้นผิวโลกประกอบ ด้วยแสงหลายชนิดซึ่งมีคุณสมบัติแตกต่างกัน
แบ่งตามความยาวคลื่นได้เป็น Infrared (>760 nm), Visible light (400-760 nm), UVA1 (340-400 nm), UVA2 (320-340 nm),UVB (290-320 nm) ดังรูปที่1(1) (ในภาคผนวก) ส่วนแสง UVC นั้นถูก ozone กรองไว้ จึงไม่สามารถผ่านมายังพื้นผิวโลกได้ แต่ปัจจุบันบางพื้นที่มี ozone ลดลง ทำให้แสง UV อาจผ่านลงมาสู่พี้นผิวโลกได้มากขึ้นแสงแดดมีประโยชน์ต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก รวมทั้งมนุษย์มากมาย เช่น เป็นแหล่งการสร้างพลังงาน ช่วยในการมองเห็น และสร้างวิตามินดี แต่การที่มนุษย์ได้รับแสงปริมาณมากเกินไป พบว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงให้เกิดผิวไหม้แดง ผิวคล้ำ โรคฝ้า กระแดด ผิวหนังชราจากแสงแดด มะเร็งผิวหนัง รวมทั้งทำให้โรคผิวหนังบางชนิดมีอาการเลวลง แสงทั้งชนิด UVA และUVB ก่อให้เกิดโรคได้มากน้อยแตกต่างกัน ดังตารางที่1(2)(ในภาคผนวก)การป้องกันแสงแดดทำได้หลายวิธี เช่น อาศัยร่มเงาอาคาร เสื้อผ้า หมวก เป็นต้น ยากันแดดเป็นหนึ่งทางเลือกและพบมีการใช้เพิ่มมากขึ้น แต่หากเลือกชนิดและนำไปใช้ไม่ถูกต้อง อาจทำให้ได้ผลการป้องกันแสงUV ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ

นิยาม
  • แสง UVA หมายถึง แสงที่มีความยาวคลื่นในช่วง 320-400 nm แบ่งเป็น UVA1 (340-400 nm) และ
  • UVA2 (320-340 nm)
  • แสง UVB หมายถึง แสงที่มีความยาวคลื่นในช่วง 290-320 nm
  • Sunburn protection factor(SPF) หมายถึง ตัวเลขบอกประสิทธิภาพ ในการป้องกันผิวไหม้แดงจาก
  • แสงแดดชนิดUVB (ดูวิธีคำนวณในภาคผนวก) แบ่ง SPF ไว้ 4 ระดับ ดังแสดงตารางที่ 2
  • UVA protection factor (UVA-PF/PA) หมายถึง ตัวเลขบอกประสิทธิภาพในการป้องกันผิวคล้ำหรือแดงจากแสง UVA (วิธีคำนวณดูในภาคผนวก)
  • Water resistant และ very water resistant หมายถึง ความสามารถในการกันน้ำ ยากันแดดโดยทั่วไปไม่มีคุณสมบัตินี้ จะมีเฉพาะในยากันแดดที่ผ่านการทดสอบ(ดูรายละเอียดในภาคผนวก) แล้วว่ากันน้ำได้ ซึ่งจะมีระบุอยู่ในฉลากยากันแดดนั้นๆ
  • Photostability หมายถึง ความสามารถในการส่งผ่านพลังงานที่ดูดซับจากรังสี UV เปลี่ยนไปเป็นพลังงานความร้อนโดยไม่เปลี่ยนแปลงโครงสร้างสำคัญของยากันแดดเอง

เกณฑ์การพิจารณาใช้ยากันแดด (ดังตารางที่ 3 ใน ภาคผนวก)(2)

1. เพื่อการรักษาผู้ป่วยโรคผิวหนัง
1.1 โรคแพ้แสงแดด เช่นโรคลูปัส
1.2 โรคมะเร็งผิวหนัง

2. ป้องกันความเสื่อมของผิวหนัง
2.1 ผิวหนังไหม้แดง
2.2 ฝ้า
2.3 กระแดด
2.4 ผิวหนังชราจากแสงแดด

3. เพื่อป้องกันแสงแดดในเด็ก การใช้ยากันแดดเป็นวิธีเสริมรวมทั้งต้องเลือกชนิดที่ไม่ระคายเคืองและไม่
ดูดซึมผ่านผิวหนังควรใช้วิธีเลื่ยงการสัมผัสแสงแดดและการปกปิด เช่น หมวก เสื้อผ้า ร่มเงาเป็นหลัก
หลักการใช้ยากันแดดยากันแดดที่มีประสิทธิภาพสูงมักประกอบด้วยสารเคมีหลายชนิด เนื่องจากสารเคมีแต่ละชนิดไม่สามารถดูดจับแสงได้ทุกความยาวคลื่นอย่างมีประสิทธิภาพ ยากันแดดแบ่งตามกลไกการออกฤทธิ์ได้เป็น

1. Organic sunscreen (Chemical sunscreen)
ออกฤทธ์โดยจับกับ carbonyl group ในตำแหน่ง ortho หรือ para และดูดซับรังสี UV
แล้วเปลี่ยนไปเป็นพลังงานความร้อน ควรทาก่อนออกสัมผัสแดดประมาณ 15 นาที เดิมยากันแดดเน้นการป้องกันรังสี UVB แต่ปัจจุบันพบว่า UVA ก่อให้เกิดปัญหาได้เช่นเดียวกัน(ดังตารางที่1)(2) ยากันแดดรุ่นใหม่จึงมีคุณสมบัติป้องกันUVA ร่วมด้วย ปัจจุบันยังไม่มีสารเคมีตัวใดที่ป้องกันได้ทั้ง UVA และ UVB ดังนั้นยากันแดดในปัจจุบันจึงต้องใช้สารเคมี 3-4 ประเภทผสมกัน สารเคมีที่นำมาเป็นส่วนประกอบในการผลิตยากันแดดแต่ละชนิดมีคุณสมบัติในการป้องกัน UVA และUVB ได้แตกต่างกัน ดังแสดงในตารางที่ 4(ในภาคผนวก)(2)

2. Inorganic sunscreen (Physical sunscreen)
มีคุณสมบัติทึบแสง ออกฤทธิ์โดยการสะท้อนรังสี UV ไม่เกิดปฎิกิริยาทางเคมีกับผิวหนัง
มีขนาดparticleใหญ่ ดูดซึมได้น้อยมาก สามารถป้องกันได้ทั้ง visible light รังสี UVB และUVA หลังทาแล้วทำให้รู้สึกเหนียวเหนอะหนะ และยามีสีขาวกว่าสีผิวปกติทำให้เมื่อทาแล้วดูไม่เป็นธรรมชาติ แต่มีข้อดีคือ ไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้(3) สามารถใช้ปลอดภัยในเด็ก แต่อย่างไรก็ดีไม่ควรใช้ในเด็กที่อายุต่ำกว่า 6 เดือน สารเคมีในกลุ่มนี้ได้แก่ titanium dioxide(TiO2) และ Zinc oxide (ZnO) เป็นต้น

ปัจจุบันมีการพัฒนาสารกลุ่มนี้ให้ที่มี particle ขนาดเล็กลง (micronized form) และพบ
ว่าการป้องกันแสงเปลี่ยนแปลงตามขนาด particle โดย particle ขนาดเล็ก สามารถออกฤทธิ์เป็นการดูดซับรังสี UV ได้คล้ายกับorganic sunscreen จึงป้องกันรังสี UVB ได้ดีและทึบแสงน้อยลง หลังทาดูเป็นธรรมชาติมากขึ้น(4) แต่คุณสมบัติในการป้องกัน visible light จะลดลงหรือหมดไป เช่น microfine zinc oxide และmicrofine titanium dioxide

3. Tanning sunscreen
เป็นสารเคมีที่ทำให้สีผิวคล้ำขึ้น ชนิดที่ใช้กันแพร่หลายขณะนี้คือ สาร dihydroxyacetone
(DHA)โดยมีส่วนประกอบเป็น 3-carbon ketoscreen สามารถจับกับ amine group ของโปรตีนใน stratum corneum เกิดเป็นสีน้ำตาลอมส้ม มีผลให้รังสี UV ผ่านผิวหนังได้ลดลง ประสิทธิภาพในการป้องกันแสงแดด UV ได้เทียบเท่ากับ SPF 5-13 ขึ้นกับความเข้มข้นของ DHA(5) มักใช้ในผู้ที่ต้องการให้สีผิวเข้มขึ้น และผู้ป่วยโรคด่างขาว เพื่อให้ผลในการปกปิดสีผิวไม่สม่ำเสมอร่วมด้วย โดยแนะนำให้ทาก่อนนอน จะมีสีผิวคล้ำขึ้นประมาณ 6-10 ชั่วโมงและคงอยู่ 3-7วันหลังการทา tanning sunscreen ที่มีวางขายในท้องตลาดมีปริมาณยา DHA ในความเข้มข้นต่างๆกัน และให้ผลสีผิวคล้ำขึ้นแตกต่างกัน มีทั้งในรูป lotion และ
sprayความคงทนต่อแสงของยากันแดด (Photostability) Photostability คือ ความสามารถในการส่งผ่านพลังงานที่ดูดซับจากรังสี UV สู่สิ่งแวดล้อมโดยไม่เปลี่ยนแปลงโครงสร้างสำคัญของยากันแดดเอง ยากันแดดที่ไม่คงทนต่อแสง UV คือมีการสลายไปมากกว่าร้อยละ 25 หลังถูกแสง UV ทำให้ประสิทธิภาพการป้องกันแสงแดดได้น้อยลง ในการผลิดยากันแดดจึงต้องคำนึงถึงส่วนประกอบที่จะทำให้ยากันแดดมีความคงทนต่อแสงแดดร่วมด้วย (ดูรายละเอียดในภาคผนวก)

การใช้ยากันแดดที่ถูกต้อง

1. การใช้ยากันแดด
เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพกันแดดตามที่ทดสอบในห้องทดลอง ต้องใช้ปริมาณยาถึง 2 มิลลิกรัม/ตารางเซนติเมตร ซึ่งประมาณเท่ากับ 1 ช้อนชา หรือสองข้อนิ้วมือสำหรับทาหน้าและคอ แต่บุคคลทั่วไปมักใช้ยากันแดดน้อยกว่าที่กำหนด และไม่สม่ำเสมอ ดังนั้นเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพตามที่กำหนด และทั่วถึง จึงแนะนำให้แบ่งทา 2รอบ โดยใช้ยาแต่ละครั้งประมาณหนึ่งข้อนิ้วมือ (16,17)

2. ทายากันแดดก่อนสัมผัสแดด 15 นาที
เพื่อให้ยากันแดดยึดติดกับผิวหนัง โดยเฉพาะยากันแดดชนิด organic sunscreen และควรทาซ้ำทุก 2 ชั่วโมงเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพต่อเนื่อง

3. หากต้องมีกิจกรรมกลางแดดต่อเนื่องหรือเล่นกีฬาทางน้ำกลางแดด ควรเลือกยากันแดดชนิดกันน้ำ และควรทายากันแดดซ้ำทุก 2 ชั่วโมง

4. ต้องทายากันแดดเป็นประจำสม่ำเสมอ อาจป้องกันความเสื่อมของผิวหนังจากแสงแดดได้
ผลข้างเคียงจากยากันแดด
1. Allergic contact dermatitis (18)
2. Irritant contact dermatitis (18)
3. Photoallergic contact dermatitis(19, 20)
4. Acne and Milia (21)
5. Vitamin D deficiency

โดยสรุปการหลีกเลี่ยงแสงแดดสามารถ ลดปัญหาที่เกิดจากแสงแดดได้ดีที่สุด โดยใช้การ
ป้องกันหลายวิธีร่วมกัน เช่น การกำบังแสงแดดร่วมกับการใช้ยากันแดด นอกจากนี้การใช้อย่างถูกวิธีและเลือกให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคลก็จะได้ประสิทธิภาพการป้องกันสูงสุด

แนวทางการใช้ยากันแดด

กิจกรรมกลางแดด

- SPF > 15
- PA ++ - +++
- SPF/UVA-PF<3
- Water resistant
- ทาซ้ำ ทุก 2 ชั่วโมง

Visible light sensitive
Physical photoprotection เช่น
  • อยู่ในร่มเงา
  • ใส่หมวกปีกกว้าง
  • กางร่ม
  • สวมเสื้อผ้า
  • photosensitivity   
UVA sensitive   UVB sensitive
Physical photoprotection ร่วมกับยากันแดด

- SPF>30
- PA+++
- SPF/UVA-PF <3
- Water resistant

Non-photosensitivity
ทำงานในร่ม

- SPF <15
- PA + - +++
- SPF/UVA-PF<3

No comments:

Post a Comment