Friday 29 April 2011

Dietary Supplement



A dietary supplement quietly fights those changes while you're out living. Its purpose is achieving balance. A balanced body ages slower and is less susceptible to disease.


Thursday 21 April 2011

นำ้มันปลา (Omega 3)


 น้ำมันปลา อุดมไปด้วยไขมันที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายที่ชื่อว่า Omega-3 ซึ่งมีหลักๆอยู่ 3 ตัวคือ ALA, EPA และ DHA

ซึ่งตัว Omega-3 นอกจากจะพบในน้ำมันปลาแล้ว ยังพบได้ในน้ำมันพืชอีกหลายชนิด เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด น้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันเมล็ดฝ้าย

แต่น่าเสียดายที่น้ำมันจากพืชที่กล่าวมานั้น นอกจากจะมี Omega-3 อยู่ แต่ปริมาณก้มีน้อยกว่า Omega-6 ซึ่งเป็นไขมันที่จำเป็นต่อร่างกาย แต่หากได้รับมากไป ก็อาจทำให้เกิดความดันสูงหรือโรคหัวใจได้ ทำให้น้ำมันพืชที่ดูท่าจะปลอดภัยมีเพียง น้ำมันมะกอกและน้ำมันคาโนลา เท่านั้น

ประโยชน์ของน้ำมันปลา
การศึกษาถึงประโยชน์ของน้ำมันปลามีมาหลายปีแล้ว เราจะมาดูกันว่า จริงๆแล้วมันช่วยอะไรเราได้บ้าง

1. ช่วยลดไขมัน Triglyceride (TG) ในเลือด
มีการทดลองที่ชัดเจนว่า การกิน Omega-3 ในขนาด 2 กรัม/วัน ก็ช่วยส่งผลลด TG ได้ และจะยิ่งส่งผลดี เมื่อได้รับในขนาดมากขึ้น เช่น การได้รับในขนาด 4 กรัม/วัน ช่วยลด TG ได้ 25-40 %

2. ลดการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน/heart attack ในคนที่เคยมีประวัติมาก่อน (Secondary cardiovascular disease prevention)
พบว่า ในผู้ป่วยที่มีประวัติเคยมีอาการกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน การกินปลาในขนาด 200-400 กรัม/สัปดาห์ (เทียบเท่ากับได้รับ Omega-3 500-800 มก./สัปดาห์) ช่วยลดการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน และลดอัตราการเสียชีวิตที่เกิดขึ้นได้
แต่ทั้งนี้คนไข้ต้องใช้ยารักษาโรคหัวใจควบคู่ไปด้วยถึงจะได้ผล (น้ำมันปลา ช่วยเสริมประสิทธิภาพของการรักษาให้มากขึ้น)

นอกจากนี้ทางสมาคมโรคหัวใจของ USA ได้แนะนำให้คนที่เป็นโรคหัวใจควรจะได้รับ EPA + DHA วันละ 1 กรัม ไม่ว่าจะมาจากการกินปลาหรือจะมาจากอาหารเสริมก็ตาม

3. อาการความดันโลหิตสูง
การกิน Omega-3 ช่วยลดความดันได้ 2-5 ม.ม.ปรอท และอาจลดได้มากกว่านี้ในกรณีที่ความดันสูงมากๆ

แต่ทั้งนี้ การกิน Omega-3 อาจต้องกินในขนาดสูงคือ 3 กรัม/วัน ซึ่ง อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้สูง

Note การควบคุมความดันด้วยวิธีอื่น สามารถเห็นผลได้ดีกว่ามาก เช่น การจำกัดเกลือ, การลดน้ำหนัก, การออกกำลังกายหรือการใช้ยา

4. การป้องกันโรคหัวใจ ในกรณีที่ไม่เคยมีประวัติมาก่อน (Primary cardiovascular disease prevention)
มีบางรายงานว่าในคนที่กินปลาเป็นประจำ จะมีอัตราการเกิดโรคหัวใจน้อยกว่าคนที่ไม่ได้กิน แต่บางรายงานก็ขัดแย้งกัน

จึงยังไม่สามารถสรุปได้ว่า การป้องกันการเกิดโรคหัวใจนี้ จะป้องกันได้เฉพาะในกลุ่มคนที่มีแนวโน้ม / ความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจหรือไม่

5. ข้ออักเสบ Rheumatoid
การใช้น้ำมันปลาจะช่วยเสริมฤทธิ์แก้ปวด เมื่อใช้ควบคู่กับยาแก้ปวดได้ โดยน้ำมันปลาจะช่วยลดสารสื่อที่เกี่ยวข้องกับความเจ็บปวดได้

วิตามิน E

 วิตามินอี จะมีลักษณะเป็นน้ำมันสีเหลืองและละลายได้ดีในไขมันเป็นวิตามินชนิดหนึ่งที่ร่างกายต้องการหากขาดอาจทำเกิดภาวะผิดปกติต่อขบวนการปฏิกิริยาต่างๆในร่างกายเราพบว่าเมื่อร่างกายได้รับวิตามินอีไปพร้อมกับอาหารวิตามิน อีจะถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายยังผนังลำไส้เล็กไปพร้อมกับไขมันและพร้อมกับวิตามินที่ละลายในไขมันชนิดอื่น ๆ เช่นวิตามินเอ, วิตามินดีและวิตามินเคและปกติเมื่อร่างกายได้รับวิตามินอีเข้าไปแล้วจะเก็บสะสมไว้ใน ไขมันในร่างกาย แต่พบว่าในคนที่รับประทานกรดไขมันไม่อิ่มตัว (กรดไขมันไม่อิ่มตัว) หรือฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) เช่นยาเม็ดคุมกำเนิด (ยาเม็ดคุมกำเนิด) จะมีผลทำให้วิตามินอีที่สะสมไว้ใช้ประโยชน์ในร่างกาย ถูกขับ (สูญสิ้น) ออกจากแหล่งสะสมไปจนอาจทำให้เกิดภาวะขาดวิตามินอีได้

ทั่วไปข้อมูล

       วิตามินอีเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญในร่างกายร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นมาได้มีชื่อทางเคมีว่า Tocopherol เป็นพวกแอลกอฮอล์ไม่อิ่มตัวมีอยู่ในธรรมชาติ 7 ชนิดกัน ได้แก่ ด้วย -- alpha, beta -, Delta -, - Epsilon, OSTA, แกมมา - และ -- ซีตา Alphatocopherol เป็นตัวที่สำคัญที่สุดเนื่องจากมีความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระได้ดีวิตามินอีเป็นวิตามินที่มีการค้นพบกันมานาน แต่วิตามินอีที่มีการศึกษาและพูดถึงกันมากคือ โทโคไตรอินอล (tocotrienols) ซึ่งเป็นวิตามินที่ได้จากน้ำมันปาล์มและมีบทบาทสำคัญคล้ายโทโคฟีรอลที่มีในน้ำมันพืชทั่วๆไป

คุณสมบัติ

       วิตามินอีที่บริสุทธิ์จะมีสีเหลืองอ่อนค่อนข้างเหนียวเหมือนน้ำมันสามารถละลายได้ในไขมันและตัวทำละลายไขมันทนความร้อนได้สูงถึง 200 องศาเซลเซียสทนต่อกรด แต่ถูกทำลายได้ง่ายในด่างแสงอัลตร้าไวโอเลต ออกซเดชั่นหรือในน้ำมันเหม็นหืน

ต่อร่างกายประโยชน์

       วิตามินอีจะช่วยปกป้องเซลล์ในร่างกายจากสารอนุมูลอิสระโดยไปขัดขวางปฏิกิริยาออกซิเดชั่นของสารในร่างกายโดยอาศัยคุณสมบัติของมันเองที่เป็นตัวที่ไวต่อการถูกออกซิไดส์มากจึงเป็นตัวที่ถูกออก ซิไดส์เองแทนสารอื่น ๆ ในร่างกายที่มีความไวต่อการถูกออกซิไดส์ได้น้อยกว่าป้องกันไขมันไม่อิ่มตัวที่กินเข้าไปรวมกับออกซิเจนซึ่งจะก่อให้เกิดอนุมูลอิสระเป็นสารต้านไม่ให้หลอดเลือดแข็งตัวและยัง ขยายหลอดเลือดฝอยเล็ก ๆ ได้อีกด้วยทำให้การไหลเวียนดีขึ้นป้องการการเกาะตัวของเกร็ดเลือดที่ผนังหลอดเลือดจึงช่วยลดการอุดตันของคอเลสเตอรอลทั้งตัวมันเองยังมีฤทธิ์ลดคอเลสเตอรอลทำให้ร่างกายมีการนำพาออกซิเจนได้อย่าง สะดวกส่งผลให้ร่างกายใช้ออกซิเจนได้ดีขึ้นทำให้กล้ามเนื้อมีกำลังมากขึ้นอีกทั้งยังช่วยให้มีการผลัดผิวหนังขึ้นมาใหม่ช่วยเพิ่มการทำงานของอินซูลินทำให้ระบบประสาทดีขึ้นสามารถทำงานได้ตามปกติช่วยทำให้ระบบสืบพันธ์ เป็นปกติรักษาอาการเป็นหมันได้ช่วยป้องกันการเกิดต้อกระจกได้และยังเชื่อว่าทำลายฤทธิ์ของสารก่อมะเร็งได้ด้วย

วิตามินอีแหล่ง

       วิตามินอีมีมากในน้ำมันจากธัญพืชและถั่วประเภทเปลือกแข็งการเก็บรักษาให้วิตามินอีควรเก็บให้พ้นจากความร้อนแสงแดดรวมทั้งออกซิเจนในอากาศการขัดสีการบดจะทำให้พืชสูญเสียวิตามินอีไปจำนวนมากร่างกายคนเรา ต้องการวิตามินอีอยู่ที่วันละ 10-15 IU

แหล่งวิตามินในธรรมชาติจำนวนปริมาณสารอาหารได้รับที่

              น้ำมันเมล็ดฝ้ายน้ำหนัก 100 กรัม 40 IU
              น้ำมันดอกคำฝอยน้ำหนัก 100 กรัม 31.5 IU
              น้ำมันข้าวโพดน้ำหนัก 100 กรัม 19 IU
              น้ำมันถั่วเหลืองน้ำหนัก 100 กรัม 14.4 IU
              กะหล่ำปลีน้ำหนัก 100 กรัม 6.4 IU
              จมูกข้าวสาลี 1 ช้อนโต๊ะ 11-14 IU
              เมล็ดทานตะวันน้ำหนัก 100 กรัม 25 IU
              ถั่วเปลือกแข็งประเภทอัลมอนด์น้ำหนัก 100 กรัม 13.5 IU
              มันเทศน้ำหนัก 100 กรัม 6 IU
              เมล็ดมะม่วงหิมพานต์น้ำหนัก 100 กรัม 4.6 IU
              อะโวคาโด (เฉพาะเนื้อ) น้ำหนัก 100 กรัม 4.5 IU
              ปวยเล้งน้ำหนัก 100 กรัม 3 IU

อันตรายจากการวิตามินอีขาด

โรคหัวใจกำเริบวิตามินอีมีหน้าที่ในการจับสารที่เข้ามาทำลายภูมิคุ้มกันของร่างกายการขาดวิตามินอีทำให้สารเหล่านี้เข้าไปทำปฏิกิริยากับไขมันในเลือดทำให้เนื้อเยื่อต่างๆเสื่อมสภาพเร็วยิ่งขึ้นนำไปสู่ภาวะหลอดเลือดแดงแข็งก่อให้ เกิดก้อนเลือดและที่สุดทำให้เกิดโรคหัวใจกำเริบได้ระบบประสาทมีปัญหาในกรณีของคนที่ร่างกายมีปัญหาในการดูดซึมไขมันและในเด็กทารกที่คลอดก่อนกำหนดการได้รับวิตามินอีต่ำกว่าปริมาณที่กำหนดอาจทำให้เกิดความ เสียหาบต่อระบบประสาทและเป็นโรคโลหิตจางได้เนื่องจากเซลล์เม็ดเลือดแดงในร่างกายถูกทำลาย

อันตรายจากการได้รับวิตามินมากเกินไป

พบว่าถ้าได้รับวิตามินอีวันล่ะ 300 มิลลิกรัมเป็นเวลาหลายเดือนจะส่งผลให้ปวดท้องคลื่นไส้อ่อนเพลียซึมสายตามัวถ้ามากกว่า 2,000 มิลลิกรัมขึ้นไปเป็นเวลา 3 เดือนจะเกิดอาการมุมปากและริมฝีปากอักเสบกล้ามเนื้อไม่มีกำลังได้ใน คนปกติไม่ควรเสริมวิตามินอีเพราะไม่มีหลักฐานแสดงถึงประโยชน์และในแต่ละวันการทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ก็จะได้รับวิตามินอีเพียงพอต่อความของร่างกายต้องการดูดซึมการ

จะถูกดูดซึม

ที่ลำไส้เข้าไปในระบบน้ำเหลืองต่อไปสู่กระแสเลือดในรูปของไคโลไมคอลพบว่าการดูดซึมวิตามินอีต่ำ ๆ จะมีประสิทธิภาพดีกว่าวิตามินอีปริมาณสูง ๆ และส่งต่อไปเก็บสะสมที่ตับ นอกจากนี้ยังพบอยู่ตามเนื้อเยื่อไขมันหัวใจปอดและอยู่ในชั้นผิวหนังของอวัยวะนั้น ๆ มีการสะสมได้เป็นเวลานานมีการขับออกทางอุจจาระโดยผ่านที่ตับส่วนเมตาบอไลต์จะออกทางปัสสาวะ

เสื่อมสลายการ

การปรุงโดยใช้ความร้อนสูงหรือถูกแสงแดดการขัดสีการบดเพื่อทำแป้งและการกลั่นน้ำมันพืชรวมทั้งการแปรรูปที่มีความสลับซับซ้อนจะทำให้สูญเสียอีได้วิตามิน

ประเมินการ

สามารถประเมินหาปริมาณวิตามินอีในร่างกายได้ด้วยต่างๆต่อไปนี้วิธีการวัดปริมาณวิตามินอีในเลือดและวิธีประเมิ ณ สัดส่วนวิตามินอีต่อโคเลสเตอรอลในเลือดโดยคนปกติจะมีปริมาณวิตามินอีในซีรัมและพลาสม่า เท่ากับ 5-18 มิลลิกรัมต่อลิตร 


เรียบเรียงโดย : กรรณิการ์เอมแสง
ข้อมูลจาก : E - ห้องสมุด Eduzones

เลซิติน ( Lecithin )

เลซิทิน (อังกฤษ: Lecithin) เป็นไขมันชนิดฟอสโฟไลปิค (Phospholipid) ที่มีความจำเป็นต่อเซลล์ทุกชนิดในร่างกาย เยื่อหุ้มเซลล์ (Cell membrane) ซึ่งเป็นส่วนที่ควบคุมการเข้าออกของสารอาหารจะมีลักษณะแข็งและขาดความ ยืดหยุ่นถ้าไม่มีเลซิติน นอกจากนี้ยังพบว่าเลซิตินเป็นส่วนประกอบของเยื่อหุ้มสมอง กล้ามเนื้อ และเซลล์ประสาท เลซิตินเองมีคุณสมบัติเป็น emulsifier หรือสารที่ทำให้น้ำกับน้ำมันเข้ากันได้ ดังนั้นจะพบว่าได้มีการนำมาใช้ในการควบคุมโคเลสเตอรอลในเลือดกันอย่างแพร่หลาย
เลซิตินพบได้มากในถั่วเหลือง แต่แหล่งอาหารที่ให้เลซิตินยังมีอีกมากมาย อาทิ ไข่แดง ตับ ข้าวโอ๊ต กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก เนื้อสัตว์ ปลา บริวเวอร์ยีสต์ และพืชบางชนิด ทั้งนี้อาจจะรวมถึงผลิตภัณฑ์ Multi-Vitamin ที่มีเลซิตินผสมอยู่ด้วย เลซิตินที่วางจำหน่ายในท้องตลาดมีอยู่สองชนิด คือ แกรนูล และแคปซูล ชนิดแกรนูลนิยมรับประทาน โดยผสมกับเครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ เช่น นม นมเปรี้ยว น้ำผลไม้ ฯลฯ และยังนิยมให้ผสมหรือโปรยบนอาหารประเภทต่าง ๆ อีกด้วย
สารสำคัญที่พบในเลซิติน ได้แก่ ฟอสฟาติดิลโคลีน (Phosphatidylcholine) เป็น ซึ่งสารนี้จะให้วิตามินบีชนิดหนึ่ง เรียกว่า โคลีน สารโคลีนเป็นสารต้นตอในการสังเคราะห์สารสื่อรประสาท อะเซททิลโคลีน (Acetylcholine) ส่วนประกอบอื่น ๆ ของเลซิติน ได้แก่ ฟอสฟาติดิลอิโนซิทอล ฟอสฟาติดิลเอททาโนลามีน กรดไลโนเลอิก ฯลฯ

ประโยชน์ของเลซิทิน 

ช่วยป้องกันและสลายโคเลสเตอรอล หรือไขมันที่อุดตันในหลอดเลือด จึงนิยมในกันมากในผู้ที่มีปัญหาไขมันอุดตันในหลอดเลือด Phosphaticylcholine ซึ่งให้สารโคลีน เป็นสารตั้งต้นของสารสื่อประเภท อะเซททิลโคลีน จะช่วยให้ความจำและความสามารถในการเรียนรู้ดีขึ้น ช่วยให้การทำงานของตับมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ลดการอุดตันของถุงน้ำดี (Gall Stones) ให้สารอิโนซิทอล (Inositol) ซึ่งเป็นส่วนที่ช่วยบำรุงเซลล์ประสาท ทำให้การทำงานของระบบประสาทดีขึ้นการใช้เพื่อป้องกัน และรักษาโรคความจำเสื่อม (Alzheimer's disease) ยังอยู่ในระหว่างการศึกษา


ข้อมูลที่ 2

เลซิติน  (Lecithin)   เลซิตินเป็นสารธรรมชาติที่ประกอบด้วยฟอสฟอรัสกับไขมันบางชนิด และวิตามินในกลุ่มวิตามินบี  ไม่สำคัญว่าเลซิตินประกอบด้วยสารใดบ้างแต่สิ่งสำคัญคือเลซิตินเป็นหน่วยพื้นฐานในทุกๆเซลล์ของสิ่งมีชีวิต  ที่สำคัญไปกว่านี้ก็คือเลซิตินนั้นช่วยจับไขมันและคอเลสเตอรอลในกระแสเลือด  ด้วยคุณสมบัติอันน่ามหัศจรรย์ของเลซิติน คือ การที่เลซิตินสามารถละลายในได้ทั้งน้ำและไขมัน เลซิตินจึงละลายอยู่ในกระแสเลือดแล้วคอยจับเอาไขมัน หรือคอเลสเตอรอลที่ล่องลอยอิสระในกระแสเลือดและไขมันที่เกาะตามผนังหลอดเลือดไว้ ด้วยวิธีนี้ของเลซิตินจึงทำความสะอาดระบบหมุนเวียนโลหิตได้ ส่วนประกอบที่พบมากที่สุดในเลซิตินคือ สารฟอสฟาติดิลโคลีน (phosphatidylcholine) ซึ่งเป็นแหล่งอาหารอันอุดมไปด้วยสารโคลีน  โคลีนจัดเป็นสารประกอบในกลุ่มของวิตามินบี  ที่มีความสำคัญคือเป็นวัตถุดิบในการผลิตสารสื่อประสาทในสมองของเราสารดังกล่าวคือ อะเซทิลโคลีน (Acetylcholine)

แหล่งอาหาร
          เลซิตินสามารถพบได้ในอาหารหลากชนิดจากผลิตภัณฑ์ทั้งพืชและสัตว์ เช่น ซอสถั่วเหลือง ข้าวโพด เมล็ดฝ้าย เรพสีด กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก เนื้อสัตว์ ปลา บริวเวอร์ยีสต์ รวมทั้งไข่แดง นม สมอง ตับ ไตและกล้ามเนื้อ  เลซิตินยังพบขายอยู่ในรูปผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอีกด้วย เลซิตินที่ทำจากถั่วเหลืองนั้นนับเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอีกด้วย เลซิตินที่ทำจากถั่วเหลืองนั้นนับเป็นผลิตภัณฑ์ที่พบได้ทั่วไปในท้องตลาดมากที่สุด

ส่วนประกอบ
          ฟอสฟาติดิลโคลีน (Phosphatidylcholine) เป็นสารสำคัญที่พบในเลซิติน ซึ่งสารนี้จะให้วิตามินบีชนิดหนึ่ง เรียกว่า โคลีน สารโคลีนเป็นสารต้นตอในการสังเคราะห์สารสื่อรประสาท อะเซททิลโคลีน (Acetylcholine) ส่วนประกอบอื่น ๆ ของเลซิติน ได้แก่ ฟอสฟาติดิลอิโนซิทอล ฟอสฟาติดิลเอททาโนลามีน กรดไลโนเลอิก ฯลฯ  

อาการเมื่อขาด
          เมื่อกล่าวถึงเลซิตินนั่นหมายถึงสารฟอสฟาติดิลโคลีนซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักของเลซิติน แม้จะยังไม่เคยมีรายงานถึงการขาดเลซิติน แต่งานศึกษาบางชิ้นพบว่า ถ้าร่างกายมีระดับของโคลีนที่ต่ำจะก่อให้เกิดความดันโลหิตสูงชนิดถาวรและมีปัญหาเกี่ยวกับไตด้วย

ประโยชน์
  1. ช่วยป้องกันและสลายโคเลสเตอรอล หรือไขมันที่อุดตันในหลอดเลือด จึงนิยมในกันมากในผู้ที่มีปัญหาไขมันอุดตันในหลอดเลือด 
  2. Phosphaticylcholine ซึ่งให้สารโคลีน เป็นสารตั้งต้นของสารสื่อประเภท อะเซททิลโคลีน จะช่วยให้ความจำและความสามารถในการเรียนรู้ดีขึ้น
  3. ช่วยให้การทำงานของตับมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  4. ลดการอุดตันของถุงน้ำดี (Gall Stones)
  5. ให้สารอิโนซิทอล (Inositol) ซึ่งเป็นส่วนที่ช่วยบำรุงเซลล์ประสาท ทำให้การทำงานของระบบประสาทดีขึ้น
  6. การใช้เพื่อป้องกัน และรักษาโรคความจำเสื่อม (Alzheimer's disease) ยังอยู่ในระหว่างการศึกษา

ขนาดรับประทาน
          ขนาดรับประทานที่แนะนำเพื่อบำรุงสมองคือ 1,200 -2,400 มิลลิกรัม ถ้ารับประทานเพื่อลดระดับคอเลสเตอรอสในกระแสเลือดต้องได้รับวันละ2,400 -3,600 มิลลิกรัม และตามรายงานนั้นจะต้องเพิ่มขนาดรับประทานเป็นวันละ 10 กรัมทีเดียวเพื่อเพิ่มปริมาณของเลซิตินในน้ำดีและรักษาอาการนิ่ว

ผลข้างเคียง
          จากประสบการณ์ของหลายๆท่านที่รับประทานเลซิตินปริมาณหลายกรัมต่อวันพบว่า มีปัญหาบ้างเกี่ยวกับความอึดอัดในช่องท้อง หรือคลื่นไส้ และปัญหาที่พบในกรณีบริโภคโคลีนมากจนเกินไปคือ การมีกลิ่นตัวคล้ายกลิ่นคาวปลาได้

ขอบคุณข้อมูลจาก
www.alternateinfo.com
www.bangkokhealth.com/


LINK:
บทความน่ารู้ของเลซิติน

ผลิตภัณฑ์ผึ้ง

 
ผึ้งเป็นแมลงสังคมที่มีคุณประโยชน์มาก ในด้านทางการเกษตรต้องอาศัยผึ้งเป็นตัวช่วยในการผสมเกสรพืชพรรณไม้ให้ได้ผลผลิตเพิ่มมากขึ้นการนำผึ้งมาเลี้ยงเป็นอุตสาหกรรมได้ผลิตภัณฑ์จากผึ้งได้แก่   น้ำผึ้ง  เกสรผึ้ง  โปรโปลิส  โรยัล  เยลลี  ไขผึ้ง  และพิษผึ้ง   ซึ่งมีคุณค่ามาก   และสามารถนำไปแปรูปได้หลากหลายเพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิต

ผลิตภัณฑ์จากรังผึ้ง  แยกเป็น  2  กลุ่ม

     1.  ผลิตภัณฑ์ซึ่งผึ้งนำเข้ารังจากวัตถุดิบภายนอก
               -  น้ำผึ้ง  (honey)
               -  เกสรผึ้ง  (bee  pollen)
               -  โปรโปลิส  (propolis)

     2.  ผลิตภัณฑ์ซึ่งผึ้งสร้างขึ้นภายในตัวผึ้ง
               -  โรยัล  เยลลี  (royal  jelly)
               -  ไขผึ้ง  (beeswax)
               -  พิษผึ้ง  (bee  venom)


1. ผลิตภัณฑ์ซึ่งผึ้งนำเข้ารังจากวัตถุดิบภายนอก  

น้ำผึ้ง  (Honey) 

น้ำผึ้ง  คือ  ของเหลวรสหวาน  ซึ่งผึ้งงานเก็บรวบรวมน้ำหวานจากดอกไม้  (nectar)  หรือจากส่วนใดส่วนหนึ่งของต้นไม้  และ/หรือน้ำหวาน  (ho-ney  dew)  จากแมลงจำพวกเพลี้ยที่เก็บสะสมไว้นำมามาผ่านกระบวนการทางเคมีและกายภาพของผึ้งแปรรูปเป็นน้ำผึ้งแล้วเก็บสะสมไว้เพื่อเป็นอาหารภายในรวงรังผึ้ง  น้ำผึ้งจะมีสี  กลิ่น  รส  และลักษณะทางกายภาพแตกต่างกันไปตามชนิดของพืชที่ผึ้งไปเก็บน้ำหวานมาทำเป็นน้ำผึ้ง

ลักษณะของน้ำผึ้งที่ดี
  •  เป็นของเหลวข้น
  •  เป็นเนื้อเดียวกันปราศจากสิ่งแปลกปลอม
  •  มีสีธรรมชาติต้งแต่สีเหลืองอ่อนจนถึงสีน้ำตาล
  •  มีกลิ่นและรสตามธรรมชาติปราศจากกลิ่น  รส  ที่น่ารังเกียจอื่นใด
  •  ต้องไม่มีกลิ่นบูดเปรี้ยวหรือมีฟอง
ส่วนประกอบที่สำคัญของน้ำผึ้ง

น้ำผึ้ง   มีสารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรท   น้ำตาลที่แปรสภาพ    คือ   น้ำตาลกลูโคสกับฟรุคโตสที่ให้พลังงานสูง   มีส่วนประกอบของโปรตีน ไขมัน  วิตามิน  เกลือแร่  และสารอื่น ๆ  ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
  • คุณประโยชน์ของน้ำผึ้ง
  • คุณค่าทางอาหารใช้เป็นอาหารเสริม  เพิ่มพลังงานบำรุงร่างกายให้แข็งแรง
  • คุณค่าทางยารักษาโรค  ใช้ผสมในการทำยารักษาโรคได้หลายชนิด  เช่น  ยาแก้ไอ  ยาแก้หลอดลมอักเสบ  เป็นต้น
เกสรผึ้ง  (bee  pollen)

เกสรผึ้ง  คือ  ละอองเกสรที่ผึ้งเก็บรวบรวมจากดอกไม้นานาชนิด  โดยปั้นเป็นก้อนกลมติดไว้ที่ขาคู่หลัง  แล้วนำกลับมาสะสมภายในรัง  เพื่อเป็นอาหารประเภทโปรตีน สำหรับเลี้ยงประชากรภายในรังผึ้ง  ผู้เลี้ยงผึ้งเก็บเกสรที่ผึ้งขนกลับรังนำมาแปรรูป  นิยมเรียกกันว่า  "เกสรผึ้ง"  ใช้เป็นอาหารเสริมที่มีประโยชน์ต่อมนุษย์ส่วนประกอบของเกสรผึ้ง เกสรผึ้งประกอบด้วยอินทรีย์สารธรรมชาติ  ได้แก่  วิตามินหลายชนิด   คือ  วิตามินดี  วิตามินอี  วิตามินบี1, บี2, บี3,  และ  บี6  โปรตีน  กรดอะมิโน  ไขมัน  คาร์โบไฮเดรท  แร่ธาตุต่าง ๆ  และสารหลายชนิดทีเป็นประโยชน์และมีคุณค่าต่อร่างกาย

คุณประโยชน์ของเกสรผึ้ง
  • ใช้เป็นอาหารเสริมสุขภาพ  บำรุงร่างกายให้แข็งแรงช่วยให้ผิวพรรณผ่องใส
  • นำมาแปรรูปได้หลายรูปแบบ  เช่น  ในรูปเม็ดหรือแคปซูล  รับประทานสด  หรือนำมาทำแห้งเก็บไว้ใช้ได้นาน

โปรโปลิส  (propolis)

           โปรโปลิส   คือ  สารเหนียวคล้ายยางไม้มีสีน้ำตาลแก่จนเกือบดำ  ซึ่งผึ้งงานเก็บรวบรวมจากตาหรือเปลือกของต้นไม้  ผึ้งใช้โปรโปลิสอุดหน้าทางเข้ารังผึ้งลดขนาดรูเปิดรังให้มีขนาดพอดีเพื่อสะดวกในการดูแลป้องกันรังผึ้งจากศัตรูของผึ้งและใช้ในกิจกรรมภายในรังผึ้ง เช่น  อุดรอยแตกภายในรัง เคลือบรวงรังให้แข็งแรง  คลุมเคลือบไข่บาง ๆ   เคลือบเซลล์ตัวอ่อนผึ้ง   เพื่อให้ปลอดจากเชื้อโรค   ฉายทาเคลือบมันในรังผึ้งยึดติดคอนผึ้งให้แน่น  ไม่คลอดแคลน  พยึงส่วนต่าง ๆ  ในรังผึ้ง

ส่วนประกอบของโปรโปลิส

โปรโปลิส  ประกอบด้วยไขผึ้ง  สารเหนียว  น้ำมัน   และเกสร   มีส่วนประกอบทางเคมีหลายชนิด  เช่น   กรดวิตามิน   แร่ธาตุ   และสารที่เป็นประโยชน์หลายชนิด  โดยเฉพาะ ฟลาโวนอยด์  (flavonoids)  มีการค้นพบว่า  สารชนิดนี้มีคุณสมบัติเป็นสารปฏิชีวนะ (antibiotic)  ต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย นอกจากนี้ผึ้งยังใช้โปรโปลิสในการป้องกันรักษาโรคของผึ้ง  เช่น โรคโนซีม่า  และโรคชอล์คบรูด   เป็นต้น

คุณประโยชน์ของโปรโปลิส
  • ใช้ในทางการแพทย์นำมาสกัดสารที่ต่อต้านเชื้อราและเชื้อแบคทีเรีย  เป็นส่วนประกอบในการทำยารักษาโรคมนุษย์และสัตว์  ใช้รักษาโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส  ใช้ผสมเป็นยารักษาโรคทางหู  คอ  จมูก  รักษาโรคผิวหนัง
  • ใช้บรรเทาพิษที่เกิดจากผึ้งต่อย  โดยขูดสารออกจากคอนผึ้งมาละลายในแอลกอฮอล์   หรือน้ำมันมะกอก  เก็บไว้ใช้ทาเวลาถูกผึ้งต่อยจะบรรเทาอาการเจ็บปวดบวมได้
  • ใช้เป็นส่วนผสมในการทำเครื่องสำอาง

2. ผลิตภัณฑ์ซึ่งผึ้งสร้างขึ้นภายในตัวผึ้ง

โรยัล  เยลลี  (royal  jelly)

โรยัล  เยลล์  คือ  ของเหลวสีขาวลักษณะคล้ายครีมหรือนมข้นหวาน  ที่ผึ้งงานวัยอ่อน  (อายุระหว่าง  5 - 15  วัน) ลิตจากต่อมภายในส่วนหัว (hypo-pharyngeal  gland)  มีรสเปรี้ยวเผ็ด  และหวานเล็กน้อย  มีฤทธ์เป็นกรด ผึ้งงานใช้โรยัล  เยลลี  เป็นอาหารเลี้ยงตัวอ่อนผึ้งโดยเฉพาะตัวอ่อนที่จะเจริญเป็นผึ้งแม่รัง (ผึ้งนางพญา)  จะได้รับโรยัล  เยลลี  ปริมาณมากตลอดอายุขัย   ทำให้ผึ้งแม่รังเติบโตอย่างรวดเร็ว  มีการพัฒนาทางสัณฐานวิทยาและสรีระแตกต่างจากผึ้งงานและผึ้งตัวผู้

ส่วนประกอบของ โรยัล  เยลลี

 โรยัล เยลลี  มีองค์ประกอบทางเคมีของสารต่าง ๆ โดยเฉลี่ย  ดังนี้  น้ำ  66.05%  โปรตีน  12.35%  ไขมัน  5.46%  แร่ธาตุ  0.84%  โดยน้ำหนักที่เหลือเป็นส่วนประกอบอื่น ๆ  เช่นวิตามินหลายชนิดฮอร์โมน  เอนไซม์  และสารไขมันที่เป็นกรด 10  ไฮดรอกซี - 2 - ดีซีโนอิค  (10 - hydroxy - Decen
oic  acid)

คุณประโยชน์ของโรยัล  เยลลี

ผู้บริโภคในเอเชียบางประเทศ   เชื้อกันว่าโรยัล  เยลลี   มีคุณสมบัติด้านบำรุงกำลัง   ช่วยเสริมความงาม   จึงนิยมรับประทานเป็นอาหารเสริมเพื่อบำรุงสุขภาพให้แข็งแรง

รังผึ้ง  1  รัง  ที่มีผึ้งงานมากกว่า  60,000  ตัว  สามารถผลิตโรยัล  เยลี   ได้เพียงวันละ 1.5 - 3.3  กรัม   ซึ่งปริมาณน้อยมาก  ในปัจจุบันจึงมีการผลิตเป็นการค้า

ไขผึ้ง  (beeswax)

ไขผึ้ง  หรือที่นิยมเรียกกันว่า ขี้ผึ้ง   เป็นสารที่ประกอบด้วยสารเคมีหลายชนิด  ผลิตจากต่อมไข (wax  gland)  ซึ่งมีอยู่  4  คู่  ซ่อนอยู่ภายในปล้องท้องของผึ้งงาน  ผลิตไขผึ้งออกมาในรูปเกล็ดบาง ๆ  สีขาวเหมือนสีน้ำนม  ซึ่งผึ้งงานใช้ในการสร้าง  ซ่อมแซมและปิดฝาหลอดรวง ไขผึ้งบริสุทธิ์  มีกลิ่นคล้ายน้ำผึ้งเป็นของแข็ง  ลักษณะอ่อนนิ่ม  เป็นมัน  เมื่อหลอมเหลวจะกลับมีคุณสมบัติดังเดิมเมื่อเย็นตัว เมื่อเกิดการเผาไหม้ให้ควันน้อยปราศจากมลพิษ  ไขผึ้งอาจมีสารอื่น ๆ  เช่น  เกสร  โปรโปลิส  และน้ำผึ้งเจือปนด้วย ทำให้สีและความหนาแน่นแตกต่างกันไป

คุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมีของไขผึ้ง
  • จุดหลอมเหลว  60 - 65  องศาเซลเซียส
  • สารที่ระเหยได้ทั้งหมดไม่เกิน  0.5  เปอร์เซ็นต์
  • ค่าของกรด  5 - 24
  • ค่าสะปอนิฟิเคชั่น 80 - 105
  • ค่าไอโอดีนไม่เกิน  10
  • ค่าเอสเทอร์  70 - 95
  • สารที่ไม่ละลายในเบนซินไม่เกิน  0.2
คุณประโยชน์ของไขผึ้ง
  • ทำแผ่นฐานรวงรังเทียมใช้ในการเลี้ยงผึ้ง
  • ทำเทียนจากไขผึ้งบริสุทธิ์  นิยมใช้ในทางศาสนา
  • ให้ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง
  • ใช้ในทางการแพทย์  และเภสัชกรรม

พิษผึ้ง  (bee  venom)

พิษผึ้ง  คือ  สารประกอบโปรตีนที่ผึ้งปล่อยออกมาจากต่อมสร้างพิษผ่านออกทางเหล็กในของผึ้งงาน  เมื่อเกิดขึ้นมาในระยะแรกนั้นยังสร้างพิษไม่ได้  แต่หลังจากอายุในช่วง  10 - 14  วัน  ปริมาณพิษผึ้งจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว  และทำหน้าที่ในการป้องกันจากศัตรูองค์ประกอบทางเคมีของพิษผึ้งมีคุณค่าทางการแพทย์  เช่น  ฮีสตามีน (histamine)  เซอโรโทนิน  (serotonin)  โดพามีน  (dopamine)  ฯลฯ   และยังมีกรดอะมิโนและอนไซม์เป็นองค์ประกอบ เล็กน้อยในต่างประเทศมีผู้ใช้พิษผึ้งในทางการแพทย์  เช่น รักษาโรครูมาติซัม  เป็นต้น


จัดทำโดย:
กลุ่มงานผึ้งและแมลงอุตสาหกรรม
กองกีฏและสัตววิทยา

โปรพอลิส

Propolis คือ สารเหนียวคล้ายยางไม้มีสีน้ำตาลแก่จนเกือบดำ ซึ่งผึ้งงานเก็บรวบรวมจากตาหรือเปลือกของต้นไม้ ผึ้งใช้โปรพอลิสอุดหน้าทางเข้ารังผึ้งลดขนาดรูเปิดรังให้มีขนาดพอดีเพื่อสะดวกในการดูแลป้องกันรังผึ้งจากศัตรูของผึ้งและใช้ในกิจกรรมภายในรังผึ้ง เช่น อุดรอยแตกภายในรังเคลือบรวงรังให้แข็งแรง เป็นต้น มนุษย์นำมาใช้ในทางการแพทย์นำมาสกัดสารที่ต่อต้านเชื้อราและเชื้อแบคทีเรีย เป็นส่วนประกอบในการทำยารักษาโรคมนุษย์และสัตว์ ใช้รักษาโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส ใช้ผสมเป็นยารักษาโรคทางหู คอ จมูก รักษาโรคผิวหนัง เป็นต้น ส่วนผสมและสารสำคัญในโปรพอลิส

ด้วยสรรพคุณที่น่ามหัศจรรย์ของโปรพอลิสทำให้มีการวิเคราะห์หาส่วนผสมและสารสำคัญในโปรพอลิส ซึ่งผลจากการวิเคราะห์ปรากฎว่า โปรพอลิส ประกอบด้วย
  • ส่วนผสมของยางไม้และขี้ผึ้ง ประมาณร้อยละ 50-55 
  • ขี้ผึ้งเหลือง ร้อยละ 30 
  • น้ำมันหอม ร้อยละ 10-15 และ
  • ละอองเกสร ร้อยละ 5        
จากส่วนผสมดังกล่าว เมื่อพิจารณาในด้านสารประกอบทางเคมี จะพบสารสำคัญที่ทำให้โปรพอลิสมีคุณสมบัติเป็นสารปฏิชีวนะที่ดีที่สุดตามธรรมชาติ คือ สารประกอบฟลาโวนอยด์ (Flavonoid) ซึ่งเป็นสารประกอบจากพืชที่เป็นที่รู้จักว่ามีคุณสมบัติในการต่อต้านการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่น (Antioxidant) ต่อต้านเชื้อแบคมีเรีย, เชื้อไวรัส, เชื้อรา และมีคุณสมบัติยับยั้งการอักเสบ       นอกจากนี้ยังพบสารอาหารอื่น ๆ อีกกว่า 22 ชนิด อันได้แก่ กรดอมิโน, คาร์โบไฮเดรต, วิตามินต่าง ๆ, เกลือแร่ เอนไซม์ และสารต้นต่อฮาร์โมนจากธรรมชาติ ฯลฯ
         
สรรพคุณของโปรพอลิสทางการแพทย์

โปรพอลิสให้ผลทางการแพทย์ใน 2 ลักษณะ คือ กระตุ้นระบบภูมิต้านทานในร่างกาย ซึ่งเป็นระบบอันเป็นกลไกธรรมชาติในร่างกายมนุษย์ ลักษณะที่สองคือออกฤทธิ์ฆ่าหรือทำให้เชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นอันตราย อาทิ เชื้อแบคทีเรีย, เชื้อรา ตลอดจนเชื้อไวรัสต่าง ๆ อ่อนกำลังหรือไม่สามารถทำอันตรายมนุษย์ได้
  • เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน สารประกอบฟลาโวนอยด์ในโปรพอลิสมีผลโดยตรงต่อการกระตุ้นเซลส์เม็ดเลือดขาวที่เรียกว่า ฟาโกไซด์ (Phagocyte) ให้มีความสามารถและประสิทธิภาพในการกำจัดเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมต่างๆ ได้ดีขึ้น รวมทั้งป้องกันการสึกหรอเสื่อมโทรมและชำรุดเสียหายของเซลส์ ตลอดจนสามารถพัฒนาการดูดซึมอาหารที่มีประโยชน์บางชนิดได้ดีขึ้น จึงเป็นผลดีสำหรับแผลที่อยู่ระหว่างติดเชื้อ ทำให้มีการติดเชื้อลดลง รวมทั้งยังเป็นการป้องกันก่อนการติดเชื้ออีกด้วย
  • มีฤทธิ์กำจัดการติดเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา โปรพอลิสไม่เพียงช่วยป้องกันการติดเชื้อเท่านั้น แต่ยังมีฤทธิ์ฆ่าหรือทำให้เชื้อโรคที่ผ่านเข้าสู่ร่างกายไม่สามารถทำงานได้ ได้มีการทดลองพบว่าโปรพอลิสมีประสิทธิภาพต่อการหยุดยั้งการเจริญเติบโตหรือการทวีปริมาณของเชื้อวัณโรค และป้องกันไม่ให้มันแพร่พันธุ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีฤทธิ์ต่อต้านและทำลายแบคทีเรียได้หลายชนิด รวมทั้งชนิดที่ทำให้เกิดอาการเจ็บคอ (สเตร็ปโตค็อคคัส) พรอพอลิสมีประสิทธิภาพเป็นยาปฏิชีวนะเหนือกว่าเตทราไซคลีน (Tetracyclin) เพนนิซิลิน (Penicilin) และสเตร็ปโตมัยซิน (Streptomycin) ยาปฏิชีวนะทั้งสามชนิดนี้เป็นผลิตผลจากจุลินทรีย์ ในขณะที่ฟลาโวนอยด์ในโปรพอลิสเป็นผลิตผลจากต้นไม้   ซึ่งร่ายกายมนุษย์มีการตอบสนองต่อการบำบัดด้วยโปรพอลิสได้ดีกว่ายาปฏิชีวนะ ซึ่งมักก่อให้เกิดผลข้างเคียงไม่มากก็น้อย
  • เสริมฤทธิ์ยาปฏิชีวนะ นอกจากมีฤทธิ์เป็นยาปฏิชีวนะโดยตัวมันเองแล้ว โปรพอลิสยังช่วยเสริมประสิทธิภาพยาปฏิชีวนะอื่น ๆ ให้มีประสิทธิภาพ 10-100 เท่าของประสิทธิภาพเดิม นอกจากนี้ยังช่วยยืดอายุประสิทธิภาพของยาปฏิชีวนะชนิดที่เป็นขี้ผึ้ง หรือน้ำมันสมานแผลได้เป็นอย่างดี
  • เป็นสารต่อต้านการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่น  สารประกอบฟลาโวนอยด์ในโปรพอลิสมีคุณค่าสูงในการบำรุงรักษาหลอดโลหิตฝอยให้อยู่ในสภาพทีดี นอกจากนี้ยังช่วยกระตุ้นเสริมประสิทธิภาพการทำงานของวิตามินซี ด้วยการป้องกันไม่ให้เกิดปฏิกิริยาออกไซด์ เสริมประสิทธิภาพการทำงานในหลอดโลหิต ปฏิกิริยาออกซิเดชั่นเป็นสาเหตุให้ร่างกายเสื่อมโทรม แก่เร็ว เพราะกลุ่มอณุมูลอิสระในเซลส์จะถูกยึดไว้ ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ฟลาโวนอยด์ยังมีขีดความสามารถห่อหุ้มโลหะที่มีน้ำหนักอย่างตะกั่ว ปรอท และแคดเมี่ยม เพื่อป้องกันไม่ให้โลหะเหล่านี้ทำอันตรายแก่ร่างกายได้ รวมทั้งขับสารพิษที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย อันเกิดจากการผลิตของเชื้อจุลินทรีย์บางชนิดด้วย
  • ออกฤทธิ์ยับยั้งการผลิตพรอสตาแกลนดินส์ เมื่อร่างกายมีการติดเชื้อหรือมีบาดแผล ร่ายกายจะขับพรอสตาแกลนดินส์ (Prostagrandins) ออกจากต่อม ทำให้เกิดความเจ็บปวดบาดแผล แผลอักเสบ และเป็นไข้ตัวร้อน สารประกอบฟลาโวนอยด์ในโปรพอลิสมีฤทธิ์สกัดการผลิตพรอสตาแกลนดิสก์ในร่างกาย จึงช่วยบรรเทาอาการปวดในลักษณะคล้ายแอสไพริน แต่เป็นสารจากธรรมชาติ ไม่ใช่สารชีวเคมีสังเคราะห์ จึงไม่มีผลข้างเคียงใด ๆ
  • ออกฤทธิ์ยับยั้งการหลั่งสารฮิสตามิน หากร่างกายได้รับสิ่งแปลกปลอมเข้ามา อันเป็นสาเหตุของโรคภูมิแพ้ ฮิสตามิน (Histamine) จะถูกขับออกจาก มาสต์เซลส์ (Mastcells) ทำให้เกิดอาการแพ้ ปวดบวม เป็นผื่นแดง หรือคันตามผิวหนัง อาการดังกล่าวจะลดลงถ้ามีสารบางอย่างมาสกัดกั้นการขับฮิสตามิน (แอนติฮิสตามิน : Anti-Histamine) ซึ่งพบว่าสารประกอบฟลาโวนอยด์ในพรอพอลิสมีฤทธิ์ยังยั้งการขับสารฮิสตามินของมาสต์เซลส์ได้ดี
ประโยชน์ของโปรพอลิส
  • บรรเทาอาการปวด ลดการอักเสบของแผล
  • บรรเทาอาการบวม เป็นผื่นแดง และคันตามผิวหนังของโรคภูมิแพ้
  • บำบัดอาการเจ็บคอ และการอักเสบในลำคอ รวมทั้งอาการผิดปกติอื่น ๆ ในช่องปาก ช่องโพรงจมูกและช่องหู
  • บำบัดอาการปวดกล้ามเนื้อ และอาการปวดตามข้อกระดูก รวมถึงอาการปวดเมื่อยตามเนื้อตัวอื่น ๆ
  • บำบัดรักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก โดยบรรเทาอาการปวดแสบปวดร้อน ลดการอักเสบ ป้องกันการติดเชื้อ และช่วยฟื้นฟูสมรรถภาพของผิวเนื้อส่วนที่ได้รับความร้อน
  • บำบัดอาการช่องท้องและลำไส้เป็นแผล
  • บำบัดอาการโรคผิวหนังได้หลายชนิด รวมทั้งสิว อาการผื่นคันตามเนื้อตัว โรคหัด โรคเริม หูด    
โปรพอลิสมีประโยชน์ด้านไหนบ้าง?
1.ช่วยยับยั้งเซลล์มะเร็ง

พบว่าสารสกัดอีธานอลในโปรพอลิส เปลี่ยนโครงสร้างเซลล์มะเร็งในตับและมดลูก ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งรังไข่หนูแฮมเตอร์ ช่วยยับยั้งเนื้องอก ช่วยยับยั้งมะเร็งทรวงอก ช่วยยับยั้งมะเร็งลำไส้ใหญ่ ช่วยยับยั้งมะเร็งที่ไต ช่วยยับยั้งมะเร็งที่กระเพาะอาหาร ช่วยยับยั้งมะเร็งที่ปอด

2.ช่วยต้านอนุมูลอิสระ

สารฟลาโวนอยด์ที่มีอยู่มากในโปรพอลิส เป็นสารต้านอนุมูลอิสระธรรมชาติที่มีประสิทธิภาพ มีฤทธิ์ยับยั้งอนุมูลอิสระป้องกันวิตามินซีไม่ให้ถูกทำลาย ป้องกันเซลล์ไม่ให้ถูกทำลายก่อนเวลาอันควร ป้องกันความเสียหายของเซลล์ตับ

3.ช่วยรักษาบาดแผลและช่วยซ่อมแซมเนื้อเยื่อ

สารอาร์จีนีน (กรดอะมิโน) ในโปรพอลิส ช่วยกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ ช่วยกระบวนการเมทาบอลิซึม การสร้างคลอลาเจน การรักษาแผลไฟไหม้

โปรพอลิสสนอกจากจะช่วยรักษาบาดแผล ยังช่วยลดอาการติดเชื้อ เชื้อแบคทีเรียกว่า 50 % ถูกทำลายหมดภายใน 4 วัน และไม่ทำให้เชื้อดื้อยา เหมือนยาปฏิชีวนะสังเคราะห์ พบว่าเมื่อใช้เป็นประจำ สามารถรักษาบาดแผล แผลไฟไหม้ แผลพุพองได้ผลถึง 80 %

การทดลองกับคนไข้อีกกลุ่มหนึ่งจำนวน 229 รายมีบาดแผลจากของมีคม แผลไฟไหม้ แผลติดเชื้อ และแผลพุพอง พบว่าสามารถรักษาบาดแผล และแผลไฟไหม้ได้ภายใน 11 วัน แผลติดเชื้อได้ภายใน 17.5 วัน และแผลพุพองได้ภายใน 38 วัน

4.ลดการติดเชื้อบริเวณหู

คนไข้ 126 รายมีอาการหูอักเสบเรื้อรังและเยื่อแก้วหูทะลุหลังจากได้รับการรักษาด้วยโปรพอลิสได้ผลเป็นที่น่าพอใจ

5. ลดการติดเชื้อบริเวณผิวหนัง

โปรพอลิส มีสารฟลาโวนอยด์ และสารคาเฟอิค ที่ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของยีสต์และเชื้อราที่ทำให้เกิดโรคบริเวณผิวหนังเช่น กลาก เชื้อราที่เท้า

6. ลดการอักเสบ

การศึกษาในหนูพบว่า สารฟลาโวนอยด์และสารคาเฟอิคที่สกัดจากโปรพอลิส ช่วยลดการอักเสบ คล้ายกับผลของอินโดเมธาซินซึ่งเป็นยาที่นิยมให้ลดอาการอักเสบ

การทดลองฉีดสารละลายโปรพอลิสกับคนไข้ 22 รายที่มีอาการข้อต่อสะโพกอักเสบพบว่าได้ผลเป็นที่น่าพอใจ การทดลองกับคนไข้อีกกลุ่มจำนวน 90 ราย ที่มีอาการช่องคลอดและคอมดลูกอักเสบ พบว่าโปรพอลิสช่วยให้คนไข้กว่า 50 % มีพัฒนาการที่ดีขึ้นเช่นกัน

7. สรรพคุณด้านยาชา

สารไพโนแซมบริน สารไพโนสโตบิน กรดคาเฟอิค และเอสเตอร์ซึ่งเป็นสารประกอบในโปรพอลิสมีคุณสมบัติด้านยาชา เมื่อศึกษาลึกลงไปพบว่าออกฤทธิ์มากกว่าโคเคน 3 เท่า จึงอธิบายได้ว่าทำไมมนุษย์จึงใช้ โปรพอลิสรักษาอาการเจ็บคอและแผลในช่องปากมานานหลายศตวรรษ ไขผึ้งจาก โปรพอลิสที่ใช้ในวงการทันตกรรมได้รับสิทธิบัตรในทวีปยุโรป

8. เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน

นักวิจัยชาวญี่ปุ่นสกัดสารจากโปรพอลิสเพื่อแสดงให้เห็นคุณสมบัติช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย การศึกษาร่วมกันระหว่างประเทศอเมริกา และประเทศโปรแลนด์พบว่าโปรพอลิสมีสารแอนตี้บอดี้มากกว่าที่ผลิตจากม้ามของหนู 3 เท่า ค้นพบเพิ่มเติมว่าโปรพอลิสสามารถช่วยยับยั้งเชื้อเอชไอวี-1 ที่เป็นสาเหตุของโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง

9. ช่วยหัวใจและหลอดเลือด

สารสกัดที่เข้มข้นจากโปรพอลิส ช่วยลดความดันโลหิต ให้ผลในการระงับและรักษาระดับกลูโคสในน้ำเหลือง สารดีโฮโดรฟลาโวนอยด์ในโปรพอลิสช่วยให้เส้นเลือดฝอยแข็งแรง ช่วยลดไขมัน ช่วยป้องกันตับจากแอลกอฮอล์ เตตระคลอไรด์

10. ช่วยเรื่องช่องปาก

การทดลองในหนู พบว่าโปรพอลิสช่วยให้อาการฟันผุลดน้อยลงอย่างน่าพอใจ ช่วยลดการติดเชื้อของเหงือก ช่วยลดคราบหินปูน ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโต ของเชื้อแบคทีเรียในช่องปากผสมโปรพอลิสกับน้ำอัตราส่วน 1 : 5 ทำเป็นน้ำยาบ้วนปาก ช่วยรักษาอาการเหงือกอักเสบ และเยื่อหุ้มฟันอักเสบ สามารถใช้อุดคลองรากฟันเนื่องจากมีคุณสมบัติสร้างกระดูกและเป็นยาชา

11. การติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ

การทดลองกับคนงานเหมืองเหล็กที่เป็นโรคหลอดลมอักเสบจำนวน 260 ราย เป็นเวลา 24 วัน พบว่าการใข้สารสกัดอีธานอลละลายน้ำเกลือร่วมกับการสูดดมสารดังกล่าว ช่วยให้คนไข้มีอาการดีขึ้นอย่างหน้าพอใจ

โปรพอลิสยังช่วยรักษาอาการคออักเสบ อาการหลอดลมอักเสบเรื้อรัง อาการโพรงจมูกอักเสบ อาการคอหอย และกล่องเสียงอักเสบ อาการเยื่อเมือกจมูกอักเสบ

12. ช่วยลดการติดเชื้อจากไวรัส

การทดลองใช้โปรพอลิสในผู้ป่วยไข้หวัด พบว่าไข้หวัดจะหายขาดภายใน 3 วัน เปรียบเทียบกับผู้ป่วยที่ไม่ได้ใช้โปรพอลิส ไข้หวัดจะหายขาดภายใน 5 วัน

13. ช่วยเรื่องกระเพาะและลำไส้

สารฟลาโวนอยด์ในโปรพอลิสช่วยยับยั้งการสร้างเซลล์มะเร็งในกระเพาะของหนู การทดลองกับคนไข้ 138 รายที่ป่วยเป็นโรคกระเพาะและลำไส้ ด้วยสารสกัดจากโปรพอลิสเข้มข้น 10 % ในเด็ก และเข้มข้น 30 % ในผู้ใหญ่ พบว่า 52 % ของคนไข้หายขาด แพทย์ในประเทศเดนมาร์กใช้ โปรพอลิสรักษาอาการลำไส้ใหญ่อักเสบ พบว่าคนไข้มีพัฒนาการดีขึ้น

14. ช่วยการทำงานของ NK cell

การศึกษาพบว่าโปรพอลิส ช่วยกระตุ้นการทำงานของ NK cell ซึ่งเป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวประเภทหนึ่ง DR. M. GORNHAM ผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิคุ้มกันวิทยา ทำการทดลองเปรียบเทียบ NK cell ในหนูพบว่าหนูที่ได้รับโปรพอลิสมีความสามารถฆ่าเซลล์มะเร็งได้ดีกว่าหนูปกติถึง 2 เท่า

เมื่อนำมาทดสอบในคน พบว่า NK cell จะทำงานได้มากกว่าปกติ 4 เท่า ยิ่งใช้โปรพอลิส ความเข้มข้นมาก ยิ่งฆ่าเซลล์มะเร็งได้มาก สถาบันวิจัยในญี่ปุ่นเป็นผู้นำการศึกษาในเรื่องดังกล่าวมีผลงานวิจัยเผยแพร่ต่อสาธารณชนมากมาย

NK cell (Natural Killer cell) เป็นหนึ่งในระบบภูมิคุ้มกันที่สำคัญที่สุดของร่างกาย พบได้ในสัตว์ทุกชนิดรวมถึงมนุษย์ NK cell จะใช้กระสุน (Granules) ในการจัดการกับเซลล์แปลกปลอม รวมไปถึงเซลล์มะเร็ง แต่หากเซลล์มะเร็งแข็งแรงกว่า มันจะย้อนกลับไปทำลาย NK cell แทน

15. ช่วยลดภาวะดื้อยา

เชื้อโรคดื้อยาเนื่องมาจากการใช้ยาซึ่งเป็นสารปฏิชีวนะสังเคราะห์เป็นประจำ เชื้อโรคจะปรับตัวและสร้างเชื้อโรคที่ต่อต้าน เพื่อป้องกันการต่อสู้กับการทำลายล้าง โปรพอลิสได้ได้ทำลายเชื้อโรคแต่จะควบคุมเชื้อโรคไว้ไม่ให้ทำงาน

16. ช่วยกำจัดสารพิษออกจากเลือด

บางคนมีเลือดแดงเข้ม บางคนมีเลือดแดงใน กลุ่มที่มีเลือดแดงเข้มเสี่ยงต่อการเป็นโรคไฮเปลิเดเมีย (ภาวะมีไขมันและกรดแลคติกมาก) สารฟลาโวนอยด์จะช่วยกระตุ้นการแตกตัวของไขมัน เซลล์เม็ดเลือดแดงจะรวมตัวกับออกซิเจนได้มากจึงทำให้เลือดใสไหลเวียนในร่างกายได้ดี สำหรับผู้ที่มีอาการปวดก่อนมีประจำเดือน หรือมีประจำเดือนมาผิดปกติ รับประทานโปรพอลิสประมาณ 2 เดือน อาการดังกล่าวจะดีขึ้น

Tuesday 19 April 2011

แนวทางการใช้ครีมป้องกันแดด

การเลือกใช้ครีมป้องกันแดด (Sun screen)



Clinical Practice Guideline for Sunscreen
นายแพทย์นภดล นพคุณ
แพทย์หญิงณัฏฐา รัชตะนาวิน
นายแพทย์ประวิตร อัศวานนท์
แพทย์หญิงรัศนี อัครพันธุ์
แพทย์หญิงชนิษฎา ตู้จินดา
แพทย์หญิงรตยา เดิมหลิ่ม

ความนำ

แสงแดดที่ผ่านลงมายังพื้นผิวโลกประกอบ ด้วยแสงหลายชนิดซึ่งมีคุณสมบัติแตกต่างกัน
แบ่งตามความยาวคลื่นได้เป็น Infrared (>760 nm), Visible light (400-760 nm), UVA1 (340-400 nm), UVA2 (320-340 nm),UVB (290-320 nm) ดังรูปที่1(1) (ในภาคผนวก) ส่วนแสง UVC นั้นถูก ozone กรองไว้ จึงไม่สามารถผ่านมายังพื้นผิวโลกได้ แต่ปัจจุบันบางพื้นที่มี ozone ลดลง ทำให้แสง UV อาจผ่านลงมาสู่พี้นผิวโลกได้มากขึ้นแสงแดดมีประโยชน์ต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก รวมทั้งมนุษย์มากมาย เช่น เป็นแหล่งการสร้างพลังงาน ช่วยในการมองเห็น และสร้างวิตามินดี แต่การที่มนุษย์ได้รับแสงปริมาณมากเกินไป พบว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงให้เกิดผิวไหม้แดง ผิวคล้ำ โรคฝ้า กระแดด ผิวหนังชราจากแสงแดด มะเร็งผิวหนัง รวมทั้งทำให้โรคผิวหนังบางชนิดมีอาการเลวลง แสงทั้งชนิด UVA และUVB ก่อให้เกิดโรคได้มากน้อยแตกต่างกัน ดังตารางที่1(2)(ในภาคผนวก)การป้องกันแสงแดดทำได้หลายวิธี เช่น อาศัยร่มเงาอาคาร เสื้อผ้า หมวก เป็นต้น ยากันแดดเป็นหนึ่งทางเลือกและพบมีการใช้เพิ่มมากขึ้น แต่หากเลือกชนิดและนำไปใช้ไม่ถูกต้อง อาจทำให้ได้ผลการป้องกันแสงUV ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ

นิยาม
  • แสง UVA หมายถึง แสงที่มีความยาวคลื่นในช่วง 320-400 nm แบ่งเป็น UVA1 (340-400 nm) และ
  • UVA2 (320-340 nm)
  • แสง UVB หมายถึง แสงที่มีความยาวคลื่นในช่วง 290-320 nm
  • Sunburn protection factor(SPF) หมายถึง ตัวเลขบอกประสิทธิภาพ ในการป้องกันผิวไหม้แดงจาก
  • แสงแดดชนิดUVB (ดูวิธีคำนวณในภาคผนวก) แบ่ง SPF ไว้ 4 ระดับ ดังแสดงตารางที่ 2
  • UVA protection factor (UVA-PF/PA) หมายถึง ตัวเลขบอกประสิทธิภาพในการป้องกันผิวคล้ำหรือแดงจากแสง UVA (วิธีคำนวณดูในภาคผนวก)
  • Water resistant และ very water resistant หมายถึง ความสามารถในการกันน้ำ ยากันแดดโดยทั่วไปไม่มีคุณสมบัตินี้ จะมีเฉพาะในยากันแดดที่ผ่านการทดสอบ(ดูรายละเอียดในภาคผนวก) แล้วว่ากันน้ำได้ ซึ่งจะมีระบุอยู่ในฉลากยากันแดดนั้นๆ
  • Photostability หมายถึง ความสามารถในการส่งผ่านพลังงานที่ดูดซับจากรังสี UV เปลี่ยนไปเป็นพลังงานความร้อนโดยไม่เปลี่ยนแปลงโครงสร้างสำคัญของยากันแดดเอง

เกณฑ์การพิจารณาใช้ยากันแดด (ดังตารางที่ 3 ใน ภาคผนวก)(2)

1. เพื่อการรักษาผู้ป่วยโรคผิวหนัง
1.1 โรคแพ้แสงแดด เช่นโรคลูปัส
1.2 โรคมะเร็งผิวหนัง

2. ป้องกันความเสื่อมของผิวหนัง
2.1 ผิวหนังไหม้แดง
2.2 ฝ้า
2.3 กระแดด
2.4 ผิวหนังชราจากแสงแดด

3. เพื่อป้องกันแสงแดดในเด็ก การใช้ยากันแดดเป็นวิธีเสริมรวมทั้งต้องเลือกชนิดที่ไม่ระคายเคืองและไม่
ดูดซึมผ่านผิวหนังควรใช้วิธีเลื่ยงการสัมผัสแสงแดดและการปกปิด เช่น หมวก เสื้อผ้า ร่มเงาเป็นหลัก
หลักการใช้ยากันแดดยากันแดดที่มีประสิทธิภาพสูงมักประกอบด้วยสารเคมีหลายชนิด เนื่องจากสารเคมีแต่ละชนิดไม่สามารถดูดจับแสงได้ทุกความยาวคลื่นอย่างมีประสิทธิภาพ ยากันแดดแบ่งตามกลไกการออกฤทธิ์ได้เป็น

1. Organic sunscreen (Chemical sunscreen)
ออกฤทธ์โดยจับกับ carbonyl group ในตำแหน่ง ortho หรือ para และดูดซับรังสี UV
แล้วเปลี่ยนไปเป็นพลังงานความร้อน ควรทาก่อนออกสัมผัสแดดประมาณ 15 นาที เดิมยากันแดดเน้นการป้องกันรังสี UVB แต่ปัจจุบันพบว่า UVA ก่อให้เกิดปัญหาได้เช่นเดียวกัน(ดังตารางที่1)(2) ยากันแดดรุ่นใหม่จึงมีคุณสมบัติป้องกันUVA ร่วมด้วย ปัจจุบันยังไม่มีสารเคมีตัวใดที่ป้องกันได้ทั้ง UVA และ UVB ดังนั้นยากันแดดในปัจจุบันจึงต้องใช้สารเคมี 3-4 ประเภทผสมกัน สารเคมีที่นำมาเป็นส่วนประกอบในการผลิตยากันแดดแต่ละชนิดมีคุณสมบัติในการป้องกัน UVA และUVB ได้แตกต่างกัน ดังแสดงในตารางที่ 4(ในภาคผนวก)(2)

2. Inorganic sunscreen (Physical sunscreen)
มีคุณสมบัติทึบแสง ออกฤทธิ์โดยการสะท้อนรังสี UV ไม่เกิดปฎิกิริยาทางเคมีกับผิวหนัง
มีขนาดparticleใหญ่ ดูดซึมได้น้อยมาก สามารถป้องกันได้ทั้ง visible light รังสี UVB และUVA หลังทาแล้วทำให้รู้สึกเหนียวเหนอะหนะ และยามีสีขาวกว่าสีผิวปกติทำให้เมื่อทาแล้วดูไม่เป็นธรรมชาติ แต่มีข้อดีคือ ไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้(3) สามารถใช้ปลอดภัยในเด็ก แต่อย่างไรก็ดีไม่ควรใช้ในเด็กที่อายุต่ำกว่า 6 เดือน สารเคมีในกลุ่มนี้ได้แก่ titanium dioxide(TiO2) และ Zinc oxide (ZnO) เป็นต้น

ปัจจุบันมีการพัฒนาสารกลุ่มนี้ให้ที่มี particle ขนาดเล็กลง (micronized form) และพบ
ว่าการป้องกันแสงเปลี่ยนแปลงตามขนาด particle โดย particle ขนาดเล็ก สามารถออกฤทธิ์เป็นการดูดซับรังสี UV ได้คล้ายกับorganic sunscreen จึงป้องกันรังสี UVB ได้ดีและทึบแสงน้อยลง หลังทาดูเป็นธรรมชาติมากขึ้น(4) แต่คุณสมบัติในการป้องกัน visible light จะลดลงหรือหมดไป เช่น microfine zinc oxide และmicrofine titanium dioxide

3. Tanning sunscreen
เป็นสารเคมีที่ทำให้สีผิวคล้ำขึ้น ชนิดที่ใช้กันแพร่หลายขณะนี้คือ สาร dihydroxyacetone
(DHA)โดยมีส่วนประกอบเป็น 3-carbon ketoscreen สามารถจับกับ amine group ของโปรตีนใน stratum corneum เกิดเป็นสีน้ำตาลอมส้ม มีผลให้รังสี UV ผ่านผิวหนังได้ลดลง ประสิทธิภาพในการป้องกันแสงแดด UV ได้เทียบเท่ากับ SPF 5-13 ขึ้นกับความเข้มข้นของ DHA(5) มักใช้ในผู้ที่ต้องการให้สีผิวเข้มขึ้น และผู้ป่วยโรคด่างขาว เพื่อให้ผลในการปกปิดสีผิวไม่สม่ำเสมอร่วมด้วย โดยแนะนำให้ทาก่อนนอน จะมีสีผิวคล้ำขึ้นประมาณ 6-10 ชั่วโมงและคงอยู่ 3-7วันหลังการทา tanning sunscreen ที่มีวางขายในท้องตลาดมีปริมาณยา DHA ในความเข้มข้นต่างๆกัน และให้ผลสีผิวคล้ำขึ้นแตกต่างกัน มีทั้งในรูป lotion และ
sprayความคงทนต่อแสงของยากันแดด (Photostability) Photostability คือ ความสามารถในการส่งผ่านพลังงานที่ดูดซับจากรังสี UV สู่สิ่งแวดล้อมโดยไม่เปลี่ยนแปลงโครงสร้างสำคัญของยากันแดดเอง ยากันแดดที่ไม่คงทนต่อแสง UV คือมีการสลายไปมากกว่าร้อยละ 25 หลังถูกแสง UV ทำให้ประสิทธิภาพการป้องกันแสงแดดได้น้อยลง ในการผลิดยากันแดดจึงต้องคำนึงถึงส่วนประกอบที่จะทำให้ยากันแดดมีความคงทนต่อแสงแดดร่วมด้วย (ดูรายละเอียดในภาคผนวก)

การใช้ยากันแดดที่ถูกต้อง

1. การใช้ยากันแดด
เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพกันแดดตามที่ทดสอบในห้องทดลอง ต้องใช้ปริมาณยาถึง 2 มิลลิกรัม/ตารางเซนติเมตร ซึ่งประมาณเท่ากับ 1 ช้อนชา หรือสองข้อนิ้วมือสำหรับทาหน้าและคอ แต่บุคคลทั่วไปมักใช้ยากันแดดน้อยกว่าที่กำหนด และไม่สม่ำเสมอ ดังนั้นเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพตามที่กำหนด และทั่วถึง จึงแนะนำให้แบ่งทา 2รอบ โดยใช้ยาแต่ละครั้งประมาณหนึ่งข้อนิ้วมือ (16,17)

2. ทายากันแดดก่อนสัมผัสแดด 15 นาที
เพื่อให้ยากันแดดยึดติดกับผิวหนัง โดยเฉพาะยากันแดดชนิด organic sunscreen และควรทาซ้ำทุก 2 ชั่วโมงเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพต่อเนื่อง

3. หากต้องมีกิจกรรมกลางแดดต่อเนื่องหรือเล่นกีฬาทางน้ำกลางแดด ควรเลือกยากันแดดชนิดกันน้ำ และควรทายากันแดดซ้ำทุก 2 ชั่วโมง

4. ต้องทายากันแดดเป็นประจำสม่ำเสมอ อาจป้องกันความเสื่อมของผิวหนังจากแสงแดดได้
ผลข้างเคียงจากยากันแดด
1. Allergic contact dermatitis (18)
2. Irritant contact dermatitis (18)
3. Photoallergic contact dermatitis(19, 20)
4. Acne and Milia (21)
5. Vitamin D deficiency

โดยสรุปการหลีกเลี่ยงแสงแดดสามารถ ลดปัญหาที่เกิดจากแสงแดดได้ดีที่สุด โดยใช้การ
ป้องกันหลายวิธีร่วมกัน เช่น การกำบังแสงแดดร่วมกับการใช้ยากันแดด นอกจากนี้การใช้อย่างถูกวิธีและเลือกให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคลก็จะได้ประสิทธิภาพการป้องกันสูงสุด

แนวทางการใช้ยากันแดด

กิจกรรมกลางแดด

- SPF > 15
- PA ++ - +++
- SPF/UVA-PF<3
- Water resistant
- ทาซ้ำ ทุก 2 ชั่วโมง

Visible light sensitive
Physical photoprotection เช่น
  • อยู่ในร่มเงา
  • ใส่หมวกปีกกว้าง
  • กางร่ม
  • สวมเสื้อผ้า
  • photosensitivity   
UVA sensitive   UVB sensitive
Physical photoprotection ร่วมกับยากันแดด

- SPF>30
- PA+++
- SPF/UVA-PF <3
- Water resistant

Non-photosensitivity
ทำงานในร่ม

- SPF <15
- PA + - +++
- SPF/UVA-PF<3

Saturday 16 April 2011

DHA ในการบำรุงสมองของเด็ก



" มารู้จัก DHA ในการบำรุงสมองของเด็ก และช่วยให้มี IQ และ EQ สูง อีกทั้ง DHAจะช่วยให้เด็กสมาธิสั้น (IDD: Intensive Deficit Disorder) และเด็กซุกซนผิดปกติ (IDHD: Intensive Deficit Hyperactivity Disorder) มีอาการดีขึ้นได้อย่างไร "

              ผศ.พญ. กุสุมา ชูศิลป์ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น อธิบายความหมายของ DHA (Docosahexaenoic acid) เป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัว ชนิดสายโซ่ยาว (Long-chain Polyunsaturated Fatty acid) โดย DHA เป็นกรดไขมันสายพันธุ์โอเมก้า 3 ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานของเซลล์สมอง และจอตา ช่วยในการเพิ่มพัฒนาการของสมองและสายตาของทารก และเด็ก

              ทั้งนี้สมองของทารก และเด็กจะประกอบไปด้วยไขมัน ร้อยละ 20 และ ร้อยละ 60 ของกรดไขมันเป็น DHA โดย DHA กระจายอยู่ทั่วไปในเซลล์ประสาทของสมองและจอตา

              ในระยะเริ่มต้น 4-6 เดือนแรก น้ำย่อยไขมันของทารกยังไม่เพียงพอในการสังเคราะห์กรดไขมันโอเมก้า 3 จึงไม่สามารถเปลี่ยนสารตั้งต้นให้เป็น DHA ได้เพียงพอ ดังนั้นทารกจึงต้องได้รับ DHA จากน้ำนมแม่ ขณะเดียวกันทารกต้องรับสารนี้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์จากอาหารที่แม่รับประทานเข้าไป ฉะนั้นในช่วงที่ตั้งครรภ์ แม่จึงจำเป็นต้องรับประทานอาหารที่มีโอเมก้า 3 ซึ่งโดยปกติแหล่งโอเมก้า 3 ตามธรรมชาติ จะได้จากการรับประทานปลาในปริมาณที่มากเพียงพอ

              ผศ.พญ.กุสุมา กล่าวอธิบายเพิ่มเติมว่า สารอาหาร DHA ที่ได้จากน้ำนมแม่นั้น ธรรมชาติจะมีการปรับปริมาณให้เหมาะสม ในแต่ละช่วงวันเวลาอย่างเหมาะสมเพื่อให้เข้าไปปรับสมดุลย์ ระบบภายในร่างกายของลูกได้อย่างทันท่วงที ทำให้เซลล์สมอง และระบบการทำงานต่างๆ ของลูกมีการพัฒนาได้อย่างสมบูรณ์เต็มที่ และที่สำคัญน้ำนมแม่มี DHA แต่แม่ต้องได้รับ DHA เสริมในปริมาณที่เหมาะสมต่อวันด้วย

              คำกล่าวที่ว่า " กินปลาเถิดพี่ จะดีที่สมอง กินปลาเถิดน้อง สมองจะดี " ซึ่งเป็นคำพูดประจำโดยคุณครูโรงเรียนอนุบาล เพื่อเชิญชวนเด็กเล็กๆ ให้นิยมรับประทานปลานั้น จริงหรือไม่ ซึ่งได้มีการนำประเด็นดังคำกล่าวไปทำการศึกษาวิจัยกันมาก โดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่นได้มีผลการวิจัยที่แสดงอย่างชัดเจนว่า สาร DHA ในน้ำมันปลามีส่วนสำคัญในการพัฒนาสมองโดยเฉพาะด้านความจำ และการเรียนรู้

              จึงเป็นที่สรุปว่า คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ (Pregnancy), แม่ที่ให้นมบุตร (Lactation) และเด็กควรได้รับ DHA เสริมอย่างที่จะเลี่ยงไม่ได้ ในปริมาณที่เหมาะสม ดังนี้

              แม่ที่ตั้งครรภ์ (Pregnancy), แม่ที่ให้นมบุตร (Lactation) ตามคำแนะนำของ ISSFAL (International Society for the Study of Fatty acids and Lipids) ประเทศสหรัฐอเมริกา ให้แม่ที่ตั้งครรภ์หรือแม่ที่กำลังให้นมบุตรอยู่ ควรได้รับ DHA เสริมวันละ 300 mg นอกจากนี้การได้รับ DHA อย่างเพียงพอเป็นประจำในเด็ก นอกจาก DHA จะส่งเสริมการพัฒนาสมองแล้วการได้รับ DHA เสริมอย่างสม่ำเสมอ ยังส่งผลให้เด็กมีภูมิต้านทานมากขึ้น ทำให้ลดการเกิดการเจ็บป่วย มีสุขภาพที่แข็งแรง ซึ่งลดปัญหาการขาดเรียนโรงเรียนได้อย่างเห็นผล

              ผศ.ดร.อริศร์ เทียนประเสริฐ อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร กล่าวถึงผลงานวิจัย " ประโยชน์ของการรับประทาน DHA เสริมว่า DHA พบมากในปลาทะเล และจากผลงานวิจัยในต่างประเทศจำนวนมาก ที่แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของ DHA ในการเพิ่มพัฒนาการทางสมอง โดยการเสริม DHA ลงในนม และให้เด็กดื่มตลอดภาคการศึกษา พบว่า DHA ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกัน ทำให้เด็กลดระยะเวลาในการป่วย และขาดเรียนอย่างเห็นได้ชัด "

              ทั้งนี้ จากงานวิจัยดังกล่าว ผลการวิจัยแสดงว่า เมื่อมีการเสริม DHA ในเด็กชั้นประถมศึกษาในปริมาณ 100 mg ทุกวันตลอดภาคการศึกษา เด็กจะมีระยะเวลาในการป่วย และขาดเรียนลดลง 10% และในกลุ่มที่ได้รับ DHA เพิ่มขึ้นในประมาณ 1,000 mg จะมีระยะเวลาการขาดเรียนลดลง 30% เปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับ DHA เสริม

              ในการประชุมโภชนาการเด็กแห่งเอเซีย ณ กรุงปักกิ่ง ได้มีการเปิดเผยผลงานวิจัย ซึ่งสนับสนุนผลงานวิจัยที่ผ่านมาว่า " เด็กต้องได้รับการบริโภคกรดไขมันไม่อิ่มตัว DHA ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ถึงวัยทารก และปฐมวัย โดย DHA ซึ่งเป็นไขมันที่เป็นโครงสร้างที่สำคัญในสมอง และประสาทจอตา ซึ่งจำเป็นสำหรับการเจริญเติบโต และการสร้างภูมิคุ้มกันในเด็ก "

               ดร.เพิร์ทโฮลด์ โคเลตซีโก จากโรงพยาบาลเด็ก และ ดร.วอน ฮาวเนอร์ จากมหาวิทยาลัยมิวนิค ได้นำเสนอผลการวิจัยใหม่ในหัวข้อโภชนาการไขมัน ในปริมาณที่เพียงพอ ในช่วงอายุ 5 เดือนก่อนคลอด ถึง 1 เดือนหลังคลอด ผลการวิจัยแสดงว่า สตรีมีครรภ์ หรือสตรีที่ให้นมบุตร ควรบริโภคกรดไขมัน DHA ในปริมาณอย่างน้อย 200 mg อีกทั้งคณะผู้เชี่ยวชาญ พบว่า สตรีที่บริโภคกรดไขมัน DHA ในปริมาณที่มากกว่าจะมีสุขภาพครรภ์ที่ดีกว่าสตรีมีครรภ์ ที่ไม่ได้รับการบริโภคกรดไขมัน DHA เสริม อีกทั้งมีผลในการช่วยเพิ่มน้ำหนักเด็กที่คลอด และลดอัตราการคลอดก่อนกำหนด นอกจากนี้ ยังมีส่วนช่วยในการพัฒนาการของเด็กในหลายด้าน เช่น การพัฒนาการของสมองและสายตา เป็นต้น

              ขณะเดียวกัน ดร.อเล็กซานเดอร์ ลาพิลลอนเน มหาวิทยาลัยปารีส เอส์การัตส์ นำเสนอผลงานวิจัย ความสัมพันธ์ระหว่าง การมองเห็นของทารกกับการบริโภคกรดไขมัน DHA พบว่า DHA มีความสัมพันธ์ทำให้พัฒนาการมองเห็น และสมองดีขึ้นอย่างชัดเจน

              ดร.อลันไรอัน จากมาร์เก็ต ไบโอไซน์ส (Market Bioscience) นำเสนอผลของการบริโภค DHA ในเด็กอายุ 4 ขวบ ที่มีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ดี ผลการวิจัย พบว่า หากมีระดับปริมาณ DHA ในเลือดในปริมาณมากจะส่งผลให้เด็กสามารถ ทำแบบทดสอบด้านความรับรู้ได้ดีเพิ่มมากขึ้นตามปริมาณ DHA ในเลือด ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ในเด็กจำเป็นที่ต้องได้รับการบริโภค DHA เสริม

              ISSFAL สำนักงาน USA และ University of Maryland USA กล่าวว่า เด็กที่มีปัญหาสมาธิสั้น (IDD: Intensive Deficit Disorder) และเด็กสมาธิสั้นและมีอาการซุกซนผิดปกติ (IDHD: Intensive Deficit Hyperactivity Disorder) เหล่านี้ มีสาเหตุหลักอย่างหนึ่งมาจากการที่สมองขาด DHA ซึ่งแนวทางในการรักษาคือ การให้ DHA เสริมในปริมาณที่สูง (High dose) หมายความว่า ควรได้รับ DHA เสริมในปริมาณวันละ 300-600 mg ซึ่งผลการทดสอบพบว่า เด็กในกลุ่มอาการเหล่านี้ มีอาการลดลงอย่างเห็นได้อย่างชัดเจน และมีสมาธิมากขึ้น

              อีกทั้งผลงานวิจัยที่แสดงถึงการรับประทาน DHA เสริม แล้วเด็กจะมีพัฒนาการทางสมอง หรือ IQ ที่สูงขึ้น เช่น ผลงานวิจัยที่จัดทำโดย University of Maryland USA ผลการทดลองสรุปได้ว่า DHA (Docosahexaenoic acid) เป็นกรดไขมันชนิดหนึ่งที่ร่างกายสร้างเองไม่ได้ แต่เป็นกรดไขมันจำเป็นที่ร่างกายต้องการ ซึ่งแหล่งที่มาจะได้จากทางอาหารที่รับประทานได้อย่างเดียว โดยแหล่งที่พบมากจะพบในปลาทะเลน้ำลึก ซึ่งเป็นแหล่งที่สามารถสกัด DHA หรือที่เรียกว่า Omega 3 (สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมจากรูปข้างล่าง) ซึ่งจะเป็นสารตั้งต้น (Precursor) ในการสร้างเนื้อเยื่อสมอง และจอตา ดังนั้นสตรีมีครรภ์ควรได้รับ DHA เสริมในปริมาณที่เพียงพออย่างสม่ำเสมอ หากมีปริมาณ DHA อยู่ในน้ำนมที่ได้รับจากการรับประทานปลาหรือจากธรรมชาติไม่เพียงพอ ซึ่งจะมีส่วนในการส่งผลไปถึงเด็กในครรภ์

คำถามที่พบบ่อยที่สุด

              1. ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร DHA จะระบุว่า " เด็กและสตรีมีครรภ์ไม่ควรรับประทาน " จะให้เด็ก หรือสตรีมีครรภ์รับประทานได้หรือเปล่า ???

              ความเป็นจริงแล้ว เด็กและสตรีมีครรภ์สามารถรับประทานได้อย่างปลอดภัย การที่มีคำเตือนนั้นเป็นเพียงคำเตือนมาตรฐานของการขึ้นทะเบียนผลิตเสริมอาหารเท่านั้น กล่าวคือ ถ้าเราขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์เป็นผลิตภัณฑ์อาหารเสริม จะต้องมีการติดหรือระบุคำเตือนนี้ ไว้เป็นมาตรฐาน เช่น ผลิตภัณฑ์ Calcium / Vitamin D ถ้ามีการขึ้นทะเบียนยา จะต้องระบุคำเตือนที่ว่า " ยาอาจสะสมในร่างกาย ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ " แต่ถ้าขึ้นทะเบียนเป็นอาหารเสริม จะต้องมีการระบุคำเตือนที่ว่า " เด็กและสตรีมีครรภ์ไม่ควรรับประทาน " ทั้งที่เป็นผลิตภัณฑ์ชนิดเดียวกัน ซึ่งอาจสังเกตจากการที่แพทย์ให้สตรีมีครรภ์ รับประทานแคลเซียมเสริมตั้งแต่ทราบว่าตั้งครรภ์จนกระทั่งคลอด

              การที่เราจะพิจารณาว่า คำเตือนที่ว่า " เด็กและสตรีมีครรภ์ " ใช้กับสตรีมีครรภ์ได้หรือไม่ อาจจะมีการพิจารณาจากส่วนประกอบ ของผลิตภัณฑ์ ดังนี้ จากปริมาณ DHA 150 mg นั้น เท่ากับการรับประทานปลาวันละ ประมาณ 1 kg (7.8 gm) ซึ่งไม่เคยปรากฏว่าการรับประทานปลาในปริมาณมาก เป็นพิเศษจะให้โทษต่อร่างกาย ยกเว้นในกรณีของผู้ที่มีอาการแพ้ปลาทะเล ในทางตรงกันข้ามในความเป็นจริงเราไม่สามารถที่จะรับประทานปลา ในปริมาณมากในแต่ละวัน จึงสามารถสรุปได้ว่า การรับประทาน DHA 150 mg นั้น หรือการรับประทานปลาวันละ ประมาณ 7.8 gm เป็นสิ่งที่จำเป็นมาก ซึ่งผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มาจาก สารสกัดจากธรรมชาตินั้นสามารถรับประทานได้ตลอดไป

              การพิจารณาปริมาณวิตามินต่างๆ ที่อยู่ในผลิตภัณฑ์ว่า เด็กสามารถรับประทานอย่างต่อเนื่องได้ไหม ฉะนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เราต้องมาเรียนรู้ถึงความจำเป็นของร่างกายในการที่จะได้รับวิตามินต่างๆ ในปริมาณที่เหมาะสม เราจึงต้องเรียนรู้ ค่า RDI (Recommended Dietary Intake) หรือ ค่าปริมาณวิตามินที่ร่างกายควรได้รับต่อวันจำแนกตามอายุดังกล่าวตามตารางดังนี้ (RDI เป็นค่ามาตรฐานที่ถูกกำหนดโดย FDA ทุกประเทศ)

เช่นเดียวกับ DHA ในรูปแบบ minicapsule สามารถรับประทานได้ ตั้งแต่เด็กอายุ 1 ขวบขึ้นไป จนถึง อายุ 6 ขวบ ในขนาดรับประทานวันละ 1-2 แคปซูล ก่อนนอน (ขนาดรับประทานนี้ เด็กอายุ 1-3 ขวบ จะได้รับวิตามินต่างๆ เพียงครึ่งเดียว หรือพอดีกับที่ร่างกายต้องการต่อวัน และจำเป็นที่จะต้องได้รับวิตามินเหล่านี้เพิ่มเติมจากอาหาร โดยการรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่

              จากตารางข้างบนจะเห็นได้ว่า DHA ในรูปแบบ Lactation Pregnancy และ Adult (อายุ 6 ขวบขึ้นไป) จะมีส่วนประกอบไปด้วยวิตามินต่างๆ เพียงครึ่งหนึ่งของปริมาณที่ร่างกายต้องการต่อวัน (ค่า RDI) หากรับประทานวันละ 2 เม็ด ก็จะได้รับ DHA ถึง 300 mg และจะได้รับวิตามินต่างๆ ในปริมาณที่เท่ากับร่างกายต้องการต่อวัน (ตารางประกอบ)

              และผลิตภัณฑ์ DHA ในรูปแบบ minicapsule สำหรับเด็กเล็กที่สามารถรับประทานยาเม็ดแคปซูลได้ ก็จะมีส่วนประกอบของ DHA 150 mg ต่อเม็ดเช่นกัน แต่ปริมาณวิตามินต่างๆ ต่อเม็ดมีเพียงครึ่งหนึ่งของค่าปริมาณความต้องการวิตามินที่ร่างการต้องการต่อวัน (RDI) สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 3 ขวบ (ดูตารางประกอบ)

              จึงสรุปได้ว่าผลิตภัณฑ์ DHA ในรูปแบบ Lactagreg ® และในรูปแบบ minicapsule สามารถรับประทานได้ตลอดชีวิตแทนอาหารได้อย่างปลอดภัย แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ปริมาณวิตามินต่างๆ ก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ซึ่งยังต้องได้รับเพิ่มจากสารอาหารทั่วไปอีกโดยการรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ปริมาณวิตามินต่างๆ ที่มีอยู่เป็นเพียงความต้องการใช้บนพื้นฐาน เพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายขาดวิตามินต่างๆ จากการที่เราไม่สามารถรับประทานอาหารได้ครบ 5 หมู่

แหล่งที่มาข้อมูลนี้ คลิกที่นี้

Sunday 10 April 2011

ควรรัปประทานวิตามินอย่างไร จึงไม่เกิดโทษ

ปัญหาที่หลาย ๆ คนเกิดคำถามขึ้นในใจว่ากินวิตามินไปแล้วได้ประโยชน์อะไรบ้าง ทำไมใคร ๆ เขาจึงหันมากินกัน แล้วกินอย่างไรจึงจะดี เอาเป็นว่าวิตามินนั้นเป็นของจำเป็น หากได้จากอาหารไม่พอก็ต้องหามากินเสริม แต่ถ้าบริโภคมากเกินไปจะเป็นอันตรายไหม?

Vitamin A
วิตามินเอ กินมากไปจะทำอันตรายกับตับ ผมร่วง ภาพที่มองเห็นเลอะเลือน และมีอาการปวดศีรษะ

Vitamin B
วิตามินบี ที่กินเกินการจะทำให้เกิดอาการชาที่ปาก ลิ้น และมือ หรือเดินไม่สะดวก

Vitamin C
วิตามินซี เคยเชื่อกันว่าถ้ากินมากไปจะเป็นสาเหตุของนิ่วในไต เดี๋ยวนี้ก็ทราบแล้วว่าไม่ใช่ เพียงแต่ทำให้เกิดอาการปวดท้อง และท้องเสียอย่างแรงเท่านั้น

Vitamin D
วิตามินดี ที่กินเกินพอดีจะมีผลต่อแคลเซียมในร่างกาย การทำงานของกล้ามเนื้อ เยื่อบุหัวใจ การแอบแดดจะไม่ทำให้วิตามินดีมีมากเกินต้องการ

ธาตุเหล็ก
ธาตุเหล็ก กินนาน และมากเกินไป เช่น ผู้ที่ต้องการจะเพิ่มเม็ดโลหิตในเลือด โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้สูงอายุและสตรีหมดประจำเดือน ทำให้เกิดการสกัดกั้นการแทรกซึมของธาตุสังกะสี ซึ่งเป็นธาตุที่ทำให้แผลประสานเร็ว และภูมิป้องกันอื่น ๆ

ซุปสกัด
ซุปสกัดบางชนิดราคาแพงลิบลิ่ว หากฟังโฆษณาจะดูมีประโยชน์มาก แต่ในความเป็นจริงแล้ว ซุปสกัด มีประโยชน์ต่ำกว่าราคา เพราะส่วนใหญ่กินเพื่อ "จิตวิทยา" มากกว่า

วิตามิน  อาจช่วยในการลดไขมันในเลือด ถ้าปฏิบัติตามคำสั่งแพทย์ แต่ถ้าหมอไม่สั่ง กินเองมากไปจะเป็นอันตรายกับตับ

ของอย่างนี้ถ้า "เชื่อ" เสียอย่างและมีสตางค์ซื้อกินก็ไม่มีอะไรเดือดร้อน ความจริงเมืองไทยเรานั้นแสนจะอุดมสมบูรณ์เลือกกินได้สารพัดทั้งยังเป็น ธรรมชาติได้เคี้ยว ได้กลืน ได้ย่อย จะดีและมีความสุขกว่ากินอาหารเป็นเม็ดคุณว่าไหม

ที่มา : sanook.com

นาโนโซม ( Nanosome ) คือ

Nanosomeป็นอีกขั้นหนึ่งของพัฒนาการและการค้นคว้าวิจัยในวงการแพทย์ชั้นสูง

Nanosome ในปัจจุบันถือว่าเป็นตัวนำพาโมเลกุลของผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่มีความซับซ้อนมาก ทำให้ซึมซับเข้าบำรุงผิวได้อย่างรวดเร็ว ไม่ตกค้างบริเวณภายนอก มีประสิทธิภาพ 100% และไม่เป็นบ่อเกิดของสิว ซึ่งจะอยู่ในตลาดเครื่อสำอางระดับชั้นนำ โดยเพิ่งจะนำมใช้อย่างแพร่หลายเมื่อไม่นานมานี้  มีราคาค่อนข้างสูงและพบได้เฉพาะในเครื่องสำอางจากสถาบันวิจัยผิวพรรณชั้นนำเท่านั้น เช่น ฝรั่งเศล สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย ฯ

ผลพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ได้แสดงถึงประสิทธิภาพของการลดริ้วรอย และการป้องกันการเกิดริ้วรอยขึ้นใหม่อย่างนุ่มนวลและปลอดภัย ผลการทดสอลและการทดลองใช้มากกว่า 13,000 ครั้งทั่วโลก สามารถลดริ้วรอยได้ถึง 30% ภายใน 14 วัน และหลังจากที่ผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องสำอางได้ทำการทดสอล ต่างก็ลงความเห็นว่ามีประสิทธิภาพดีกว่าการฉีดโบท๊อกซ์ รวมทั้งการฉีดคอลลาเจนทุกชนิด

ข้อมูลที่ 2

ทฤษฎีและความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับนาโนโซม

nanosome  คือ อนุภาคขนาด นาโนเมตร หรือถุงกลมๆขนาดนาโนเมตรของไขมัน ในสารละลายน้ำอนุภาคนาโน
สามารถซึมผ่านชั้นผิวหนังได้อย่างดี ยิ่งสารไขมันที่อยู่ในรูปของอนุภาคหรือถุงอนุภาคเล็กขนาดนาโนที่เกิดจากโมเลกุล
ของไขมัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งไขมันประเภทฟอสโฟลิพิดส์ (phospholipids) ที่โมเลกุลสามารถจัดเรียงตัว เป็นชั้นสลับกับ
ชั้นของน้ำในสารละลายน้ำ ฟอสโฟลิพิดส์เป็นสารไขมันประเภทมีขั้วที่จะสามารถจับกับน้ำและเกิดเป็นนาโนโซมได้

ข้อดีของนาโนโซม
  1. Nanosome ไม่เป็นพิษ
  2. Nanosome ช่วยเพิ่มความคงตัวของสารที่ถูกเก็บกัก
  3. Nanosome ช่วยลดความเป็นพิษของสารที่ถูกเก็บกัก
  4. Nanosome ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการออกฤทธิ์ของสารที่ถูกเก็บกักไว้
  5. Nanosome สามารถเก็บกักสารต่างๆได้หลายชนิด
  6. Nanosome ช่วยทำให้ตัวยาออกฤทธิ์ได้นานเมื่อเทียบกับการใช้ยาอิสระ
 ข้อดีของการนำ Nanosome ใช้ในทางผิวหนัง/เครื่องสำอาง
  1. Nanosome สามารถช่วยซึมผ่านสารที่เก็บกักอยู่ภายในเข้าสู่ผิวหนังชั้นเดอร์มิส
  2. Nanosome ช่วยทดแทนไขมันบนผิวหนังได้
  3. Nanosome สามารถใช้เก็บกักสารเคมีทางเครื่องสำอางได้หลายชนิด
  4. Nanosome ช่วยใช้ผิวมีความอ่อนนุ่ม
  5. Nanosome ช่วยลดความเป็นพิษหรืออาการระคายเคืองต่างๆของสารเคมีบางประเภท
  6. Nanosome ช่วยให้สารออกฤทธิ์นานขึ้น
การนำ Nanosome มาใช้ทางผิวหนัง
  1. ยาชา
  2. ยาฆ่าเชื้อ
  3. เอนไซม์
  4. สเตียรอยด์
  5. ยารักษากล้ามเนื้ออักเสบ
  6. สารที่ต้องการออกฤทธิ์บริเวณรากผม
  7. วิตามินต่างๆ
             ในกรณีของการดูดซึม Nanosome ทั้งอนุภาคผ่านผิวหนัง Nanosome จะต้องมีโครงสร้างที่ยืดหยุ่นเป็นพิเศษ นาโนโซมกลุ่มนี้มีชื่อเรียกว่า ทรานสเฟอร์โซม  ผนังของทรานสเฟอร์โซมเตรียมขึ้นจากฟอสโฟลิพิดส์เช่นเดียวกับนาโนโซมทั่วไป แต่มีสารที่ทำให้ผนังมีความยืดหยุ่นสูงขึ้นร่วมอยู่ด้วย เช่นสารลดแรงตึงผิวหรือโซเดียมคลอเรต ซึ่งทำให้ได้อนุภาคที่ยืดหยุ่นได้จึงสามารถพาสารที่ขนาดใหญ่กว่า 500 ดาลตัน เช่นโพลิเพปไทด์ผ่านเซลล์ผิวหนังได้  Nanosome ทั่วไปจะไม่สามารถพาสารที่มีโมเลกุลใหญ่กว่าช่องว่างระหว่างเซลล์ซี่งมีขนาดเล็กกว่า 50 นาโนเมตรได้ กลไกการซึมผ่านเข้าสู่ชั้นผิวหนังของทรานสเฟอร์โซมเกิดจาก osmotic gradient ของความแตกต่างระหว่างปริมาณน้ำใต้ผิวหนังและปริมาณผิวหน้า

ไลโปโซม ( Liposome ) คือ

ไลโปโซม  (Liposomes) 
คือ อนุภาคขนาดเล็กมาก ที่มีลักษณะเป็นถุงกลมๆ ของสารไขมันซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นไขมันประเภท phospholipids ในสารละลายน้ำ

โมเลกุลของสารไขมันประเภท phospholipids สามารถจัดเรียงตัวเป็นชั้นสลับกับชั้นโมเลกุลของน้ำในสารละลายน้ำได้ เพราะโครงสร้างโมเลกุลประกอบด้วยทั้งส่วนมีขั้วและส่วนไม่มีขั้ว เมื่ออยู่ในน้ำจะจัดเรียงตัวโดยนำส่วนที่มีขั้วหรือมีประจุหันออกหาโมเลกุลน้ำ ในขณะเดียวกันจะเอาส่วนที่ไม่มีขั้วหันเข้าหาส่วนที่ไม่มีขั้วของโมเลกุลพวกเดียวกัน โดยจะอยู่ในลักษณะของการเรียงตัวเป็นแถวของโมเลกุลไขมันซ้อนกันเป็นสองชั้นหรือ lipid bilayer หากไลโปโซมมี lipid bilayer เพียงชั้นเดียว จะจัดเป็นไลโปโซมประเภท unilamellar หากไลโปโซมมี lipid bilayer มากกว่าหนึ่งชั้น(โดยมีชั้นของสารละลายน้ำกั้นอยู่ระหว่างผนังสองชั้น) จะจัดเป็นไลโปโซมประเภท multilamellar ซึ่งมีเส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ยประมาณ 0.1 micron(1000Å ซึ่งสามารถนำมาเตรียมเป็นไลโปโซมประเภท unilamellar ซึ่งมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ยน้อยกว่า 0.1 micron ได้

เนื่องจากไลโปโซมมีส่วนประกอบและคุณสมบัติคล้ายคลึงกับcell membrane ของสิ่งมีชีวิต ดังนั้นจึงมีการพัฒนาไลโปโซมมาใช้เป็นตัวพาสารต่างๆเช่นยา เครื่องสำอาง เข้าสู่ร่างกาย และยังพบว่าสามารถควบคุมการกระจายตัวและการออกฤทธิ์ของสารที่ถูกกักไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย

สาเหตุของไลโปโซมในการนำมาใช้เป็นตัวพาสารต่างๆเข้าสู่ร่างกายมีดังนี้
  1. ไลโปโซมไม่เป็นพิษ เนื่องจากเตรียมได้จากไขมันซึ่งไม่เป็นพิษและเป็นส่วนประกอบของ cell membrane ในสิ่งมีชีวิตซึ่งสามารถถูกทำลายได้ในร่างกาย ดังนั้นจึงไม่เป็นอันตรายและไม่ทำให้เกิดอาการแพ้เมื่อเข้าสู่ร่างกาย แต่มีการศึกษาพบว่าถ้าใช้ไขมันที่ไม่บริสุทธิ์หรือใช้สารที่อาจทำให้เกิดอาการแพ้ในคน ก็อาจทำให้เกิดอาการแพ้ขึ้นได้
  2. ไลโปโซมช่วยเพิ่มความคงตัวของสารที่ถูกกักเก็บ ป้องกันการสลายตัวของสารเคมีจากการถูกทำลายโดยสิ่งแวดล้อมภายนอก เช่นแสงUV, เอนไซม์ 
  3. ไลโปโซมช่วยลดความเป็นพิษของสารที่ถูกเก็บกัก จากการเลือกส่วนประกอบไขมันที่เหมาะสมและลดขนาดของไลโปโซมทำให้สามารถควบคุมการการะจายตัวและการออกฤทธิ์ของไลโปโซมที่เตรียมได้
  4. สามารถให้ไลโปโซมเข้าสู่ร่างกายได้หลายทาง เช่น การฉีดเข้าทางเส้นเลือดดำ ฉีดเข้ากล้าม ฉีดเข้าช่องท้อง การให้ทางปาก การสูดดมเข้าทางจมูกและปอด การใช้ทาทางผิวหนัง เป็นต้น
  5. ไลโปโซมสามารถเก็บกักสารต่าง ๆ ได้หลายชนิด 
  6. สามารถดัดแปลงโครงสร้างของไลโปโซมได้ง่าย
  7. ไลโปโซมมีคุณสมบัติเป็น adjuvant ในการนำมาใช้เตรียมวัคซีน
อ้างอิง รศ.ดร.อรัญญา มโนสร้อย. เทคโนโลยีไลโปโซม.ภาควิชาเทคโนโลยีเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.2538


ข้อมูลที่ 2

ไลโปโซม (Liposomes) คือ
อนุภาคขนาดเล็กของสารไขมันเรียงซ้อนกันสองชั้นสลับกับชั้นของน้ำ ซึ่งคุณสมบัติทางเคมีและกายภาพจะเป็นตัวช่วยเพิ่มความคงตัวของสารที่ถูกกักเก็บและเป็นตัวที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการนำพาสารที่ถูกกักเก็บสู่ชั้นผิวที่ลึกขึ้น เป็นต้น

บทบาทและข้อดีของไลโปโซมในด้าน cosmetic

เครื่องสำอางในปัจจุบันจะเกี่ยวข้องกับการป้องกันผิวหนังชั้นนอก (ชั้นหนังกำพร้า) ซึ่งเป็นชั้นผิวหนังที่ทำหน้าที่เป็นตัวป้องกัน ผิวหนังจากสภาวะต่าง ๆ ภายนอก นอกจากนี้ยังเป็นตัวพาสารสำคัญออกฤทธิ์ที่จะไม่เป็นพิษและสามารถนำสารสู่ชั้นคิวเตเนียส เทคโนโลยีไลโปโซมเป็นศาสตร์หนึ่งที่ได้มีการนำมาใช้ทางเครื่องสำอางเพื่อพัฒนาเครื่องสำอางต่าง ๆ ให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพดีขั้น ทั้งนี้เนื่องจากไลโปโซม มีข้อดีหลายประการ ที่จะสามารถนำมาใช้ทางเครื่องสำอางคือ
  1. ไลโปโซมช่วยการซึมผ่านของสารที่เก็บกักอยู่ภายในเข้าสู่ขั้นเคอร์มีสได้จากการศึกษา ของบริษัทลอรีอัล โดยใช้เทคนิคการวาวแสง พบว่าไลโปโซมที่เก็บกักสาร Sodium (14C) Pyrrolidone carboseylate สามารถซึมผ่านผิวและช่วยให้ผิวมีความชุ่มชื้น ทั้งนี้เนื่องจากสารประกอบดังกล่าวเป็นสารให้ความชุ่มชื้นและสามารถดึงน้ำเข้าผิวได้เมื่อเก็บกักในไลโปโซม แล้วยังพบว่าเปปไทด์ในไลโปโซมสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของไฟโปรบลัสท์ (Fibroblast) ของผิวหนังได้เป็นสองเท่ามากกว่าเปปไทด์ที่มิได้เก็บกักในไลโปโซมและสามารถทำให้แผลหายเร็วขึ้นเป็น 4 เท่า ซึ่งแสดงให้เห็นว่าไลโปโซมสามารถช่วยในการซึมผ่านผิวหนังของเปปไทด์ได้มากขึ้น 
  2. ไลโปโซมช่วยทดแทนไขมันบนผิวหนัง พบว่าไลโปโซมที่ประกอบด้วยฟอสโฟลิปิดและไกลโครฟิวโกลิปิดจะเป็นไลโปโซมที่คงตัวและมีอัตราส่วนของไขมันที่คล้ายคลึงกับไขมันในผนังบุของเซลล์บุผิว (epidernalcell) จากการศึกษาคุณสมบัติทางกายภาพเคมีและรูปร่างของไลโปโซมที่มีส่วนประกอบไขมันดังกล่าวนี้ได้พบว่าไลโปโซมในรูปแบบโอลิโกลาเมลา (Oligolamellar) ซึ่งมีจำนวนผนังสองชั้น (double layer)มากกว่าหนึ่งชั้น แต่มีผนังชั้นน้อยกว่าประเภทมัลทิลาเมลา จะสามารถทดแทนไขมันดังกล่าวที่ผลทำให้การระเหยของน้ำออกจากผิวหนัง ลดลง ซึ่งจะทำให้ความยืดหยุ่นของผิวหนังกลับสภาพคงเดิมและไม่ถูกทำลาย การที่ไลโปโซมสามารถช่วยฟื้นฟูผนัง ของเซลล์ที่ถูกทำลายไปนั้น เกิดจากการที่ไลโปโซมสามารถทดแทน เคอราติน (Keratin) ซึ่งเป็น โปรตีนที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของผิวหนัง
  3. ไลโปโซมสามารถเก็บกักสารเคมีทางเครื่องสำอางได้มากมาย เช่น เครื่องสำอางประเภทลบรอยย่นเครื่องสำอางกลุ่มการปรับสีผิว และการปรับสภาพผิว วิตามินต่าง ๆ เครื่องสำอางที่ใช้กับผมและหนังศรีษะ โดยสารที่ถูกกักเก็บจะสามารถทนต่อการถูกชำระล้างออกจากผิวและสามารถใช้ไลโปโซมดังกล่าวนี้เป็นตัวพาสารให้ความชุ่มชื้นเข้าผิวที่แห้งได้
  4. ไลโปโซมช่วยให้ผิวมีความอ่อนนุ่ม โดยไลโปโซมช่วยให้ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางทาง่ายไม่มีความฝืดเนื่องจากการที่ไลโปโซมมีส่วนผสมของไขมัน ดังนั้นผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของไลโปโซม จะให้ความรู้สึกนุ่มละมุนในขณะที่ทาบนผิวหนัง และมีความลื่นทาง่ายขึ้น
  5.  ไลโปโซมจะช่วยลดการระคายเคืองต่าง ๆ จากการแพ้สารเคมีได้ ทั้งนี้เนื่องจากการกักเก็บสารเคมีต่าง ๆ ในไลโปโซมจะช่วยป้องกันมิให้สารเคมีเหล่านั้นสัมผัสกับผิวโดยตรงเป็นการช่วยลดโอกาสในการแพ้และระคายเคืองต่อผิวหนัง

ข้อมูลที่ 3














ไลโปโซมมีลักษณะได้หลายแบบ เช่น เป็นรูปทรงกลม ทรงรี ทรงลูกบาศก์ เป็นแผ่นพับไป-มา หรือรูปทรงหลายมิติ อาจจะประกอบด้วย bilayer ชั้นเดียว หรือหลายๆชั้น ขึ้นอยู่กับลักษณะของโมเลกุลไขมันฟอสเฟต อัตราส่วนของน้ำต่อไขมัน สารตัวเติม หรือวิธีการผลิตไลโปโซม นอกจากนี้ ไขมันฟอสเฟตที่จะนำมาผลิตไลโปโซมยังมีมากมายหลายร้อยชนิด ทั้งมีประจุเป็นบวก ประจุลบ และไม่มีประจุ อาจจะมีส่วนหางสายเดียว สองหรือสามสาย และมีความสั้น-ยาวต่างๆ ดังนั้นเราจึงสามารถที่จะสร้างไลโปโซมชนิดต่างๆ ให้เหมาะสมตามการใช้งาน

ประโยชน์และการใช้งานไลโปโซม

ด้วยลักษณะและคุณสมบัติที่คล้ายเยื่อหุ้มเซลล์ตามธรรมชาตินี้เอง ไลโปโซมจึงสามารถนำส่งสารต่างๆ เข้าสู่เซลล์ได้ดี เนื่องจากโมเลกุลของไขมันฟอสเฟตใน bilayer (ของทั้งไลโปโซมและเยื่อหุ้มเซลล์) เคลื่อนที่กลับไป-มา (flip-flop) ในระหว่างชั้นได้เอง ทำให้เกิดการแลกแลกเปลี่ยน รวมตัว และพยายามจัดโครงสร้างใหม่ของโมเลกุลของไขมันฟอสเฟต และผลที่เกิดก็คือการหลั่งสารที่บรรจุไว้ในไลโปโซม การประยุกต์ใช้ไลโปโซมจำนวนมากจึงเกี่ยวข้องกับระบบนำส่ง (Delivery System) ของยา หรือสารสำคัญเข้าสู่ร่างกาย

  • นำส่งสารเข้าสู่ผิวหนัง (Transdermal Delivery)
การใช้ไลโปโซมสูตรที่เหมาะสมบางอย่าง สามารถเพิ่มการนำส่งสารเข้าสู่ผิวหนัง ชั้นผิวหนังแท้ (Dermis)ได้ดี แม้ว่าจะยังไม่เข้าใจกลไกการทำงานที่แท้จริงของมัน จึงได้มีการใช้ไลโปโซมในสูตรเครื่องสำอางและยาผิวหนังอย่างแพร่หลาย Bilayer หลายๆชั้นของไลโปโซมสามารถปกป้องสารสำคัญที่เสียสภาพได้ง่ายในอากาศหรือใน น้ำ
  • นำส่งสารสู่เซลล์
เนื่องจากขนาดที่เล็กระดับนาโนของไลโปโซม ทำให้มันเข้าสู่เซลล์เม็ดเลือดขาวได้เร็วตามกลไกระบบภูมิคุ้มกันปกติของ ร่างกาย ดังนั้นการใช้ไลโปโซมจึงเหมาะสมในการรักษาโรคที่ต้องการนำส่งยาเข้าสู่เซลล์ เม็ดเลือดขาว ดังตัวอย่างการรักษาการติดเชื้อ Leishmania ของเซลล์ Macrophage โดยการบรรจุยา Amphotericin B ลงระหว่างชั้น bilayer ของไลโปโซม

การดัดแปลงพื้นผิวไลโปโซมเพื่อการใช้งานนำส่งสารเข้าสู่เซลล์แบบต่างๆ

(A) ไลโปโซมทั่วไป ที่มีเฉพาะชั้นของไขมันฟอสเฟต
(B) Stealth liposomes มีการดัดแปลงพื้นผิวด้วยพอลิเมอร์ PEG เพื่อเพิ่มอายุในการหมุนเวียนในร่างกาย ไม่ให้ถูกกำจัดอย่างรวดเร็วโดยระบบภูมิคุ้มกัน และสามารถผ่านผนังเซลล์หลอดเลือดฝอยในก้อนเนื้องอกได้ดีขึ้น
(C) Targeting liposomes มีการติดโมเลกุลของแอนติบอดี้ เพื่อการหาเป้าหมายที่จะนำส่งสารสำคัญภายในร่างกาย
(D) การเพิ่มโมเลกุล หรือ พอลิเมอร์ที่มีประจุบวก เพื่อนำสารพันธุกรรมแบบไม่ใช้ virus

• การทดสอบปฏิกริยาของยากับเยื่อหุ้มเซลล์ (Drug Testing)
องค์ประกอบผนังของของไลโปโซมสามารถเปลี่ยนแปลงให้มีความคล้ายกับเยื่อหุ้ม เซลล์ของคนหรือสัตว์หรือจุลินทรีย์ได้ ดังนั้นจึงมีการใช้ไลโปโซมในการทดสอบปฏิกิริยาของยา หรือการนำส่งยาเข้าสู่เซลล์จำลอง เช่น เซลล์ผิวหนัง กระเพาะอาหาร สมอง ถุงน้ำดี ฯลฯ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนายาจำนวนมาก

• การปรับปรุงภาพถ่ายทางการแพทย์ (Image Enhancing)
มีการใช้ไลโปโซมเพื่อให้ภาพถ่ายอวัยวะต่างๆทางการแพทย์มีความชัดเจนขึ้น โดยการติดโมเลกุลที่จะส่งสัญญาณให้เกิดภาพบนผิวของไลโปโซมขนาดเล็ก และเมื่อส่งไลโปโซมเหล่านั้นไปยังอวัยวะที่ต้องการถ่ายภาพ จะทำให้เกิดความคมชัดมากขึ้น ตัวอย่างเช่น ภาพถ่ายโดยใช้การสะท้อนของคลื่นเสียง (Ultrasound), MRI (Magnetic Rasonance Imaging) ไลโปโซมเหล่านี้ยังสามารถที่จะนำส่งยาเฉพาะที่ได้อีกด้วย

ข้อจำกัดของการใช้ ไลโปโซม
ไลโปโซมจะมีความคงตัวค่อนข้างต่ำจึงเก็บรักษายาก และเปลี่ยนแปลงรูปร่างได้ง่ายเมื่อสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนไป เนื่องจากไขมันฟอสเฟตแต่ละชนิดมีค่าอุณหภูมิในการเปลี่ยนสถานะคล้ายแก้ว (Glass Transition Temperature, Tg) ที่ไม่เท่ากัน และลักษณะที่เคลื่อนที่ไปมาตลอดเวลาของไขมันฟอสเฟต อาจจะทำให้สารชนิดละลายน้ำได้ที่บรรจุอยู่ภายในรั่วไหลออกมาเองได้ นอกจากนั้นยังบรรจุยาได้ในปริมาณน้อย จึงมักใช้นำส่งสารมูลค่าสูง รวมทั้งเทคนิคการทำให้ปลอดเชื้อที่ต้องไม่ใช้ความร้อน ทำให้ผลิตภัณฑ์ไลโปโซมมีราคาแพง

ไลโปโซม มีอันตรายหรือไม่?
ยังไม่พบรายงานถึงอันตรายต่อสุขภาพที่เป็นผลมาจากไลโปโซมเอง เนื่องจากไขมันฟอสเฟตเป็นสารที่มีอยู่ทั่วไปในร่างกาย ไขมันฟอสเฟตที่มีจำหน่ายเป็นการค้าเพื่อนำมาผลิตไลโปโซมส่วนใหญ่เป็นสารสกัด จากไข่และน้ำมันพืช ไลโปโซมโดยทั่วไปมีอายุค่อนข้างสั้น และจะถุกกำจัดไปอย่างรวดเร็วโดยระบบภูมิคุ้มกัน สำหรับไลโปโซมที่มีการดัดแปลงให้มีอายุในการหมุนเวียนยาวขึ้นก็จะถุกกำจัด ได้ที่ตับและม้ามโดยกลไกปกติของร่างกาย อีกทั้งขนาดของการใช้ไลโปโซมจะน้อยมาก ทำให้ไม่มีปัญหาการสะสมไขมันจนอยู่ในระดับอันตรายได้

ในปัจจุบันผลิตภัณฑ์ยาบรรจุไลโปโซมจำนวนมากที่มีการผลิตในระดับการค้า เช่น Amphotericin B, Doxorubicin, Daunorubicin รวมทั้งในเครื่องสำอางชนิดต่างๆ เป็นต้น และสามารถดัดแปลงเพื่อใช้ประโยชน์ในงานด้านอาหาร ยา เครื่องสำอางและการวิจัยทางการแพทย์อย่างมากมาย แม้ว่าจะมีข้อจำกัดบางประการ แต่เมื่อใช้ควบคู่ไปกับเทคโนโลยีทางวัสดุพอลิเมอร์ โดยการดัดแปลงคุณสมบัติของพื้นผิวก็จะทำให้การออกแบบระบบการใช้ไลโปโซมเป็น ไปอย่างมีประสิทธิภาพได้ งานวิจัยการใช้งานไลโปโซมของคณะวิศวกรรมศาสตร์กำลังอยู่ในระหว่างดำเนินการ ที่ห้องวิจัยวิศวกรรมชีวเคมี

 ที่มา : Nanocellular lab





 Link:

คลิปวีดีโอ : ไลโปโซม คืออะไร
http://www.nstda.or.th/vdo-nstda/sci-day-techno/4384-liposomes

Saturday 9 April 2011

รกแกะ ( Placenta ) คืออะไร



รกแกะ เป็นโปรตีนเข้มข้นที่สกัดจากรกแกะ เป็นผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่ก้าวหน้าด้วยกรรมวิธีที่ละเอียดอ่อนเพื่อสุขลักษณะ ของขั้นตอนการผลิตและรักษาคุณค่าของโปรตีน โปรตีนเป็นองค์ประกอบสำคัญในการสร้างเซลล์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการเจริญเติบ โต และซ่อมแซมฟื้นฟูสภาพเซลล์ที่อ่อนล้า ทั้งนี้โปรตีนเข้มข้นสกัดจากรกแกะที่นำมาใช้ในการผลิตจะต้องเป็นโปรตีน บริสุทธิ์ 100%
โปรตีนสกัดจากรกแกะมีคุณสมบัติเด่น ที่เหมาะสมสำหรับการใช้บำรุงผิวพรรณ ได้แก่ความสอดคล้องทางด้านชีวภาพกับเซลล์ร่างกายคนโดยทั่วไป ประกอบกับคุณลักษณะที่สามารถรวมตัวเข้าเป็นเนื้อเดียวกับน้ำ ส่งผลให้ซึมซาบเข้าสู่ผิวหนังได้อย่างรวดเร็วและล้ำลึก
หลักธรรมชาติถือว่าโปรตีนจากรกที่ให้สารอาหารเพื่อการสร้างและเลี้ยงเซลล์ ชีวิตใหม่ให้เติบโต มีคุณประโยชน์นานาประการต่อผิวพรรณด้วยคุณสมบัติของสารอาหาร กรดอะมิโน และภูมิต้านทานตามธรรมชาติ นอกจากนี้ เซลล์ชีวิตใหม่ที่เกิดขึ้นนั้นยังปราศจากสารที่ร่างกายต่อต้าน(สารพิษ แบคทีเรีย เซลล์โลหิต) ดังนั้นโปรตีนจากรกจึงกลมกลืนเข้ากับร่างกายคนทั่วไปได้และอ่อนโยนต่อทุก สภาพผิว โปรตีนสกัดจากรกแกะได้ผ่านการค้นคว้า ทดลอง และบันทึกเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางในเรื่องของคุณประโยชน์เด่นล้ำนานาประการที่ เติมเต็มคุณภาพของผิวพรรณ ตั้งแต่กระตุ้นการสร้างและผลัดเซลล์ ให้ความชุ่มชื้นและนุ่มนวล ดูแลลึกถึงส่วนของผิวที่ขาดน้ำเพื่อฟื้นฟูสภาพผิวให้คงความยืดหยุ่นตาม ธรรมชาติ ทำให้ผิวพรรณกระชับและเรียบเนียนสดใสอ่อนวัย
ผลิตภัณฑ์รกแกะ สามารถซึมซาบลึกถึงรูขุมขนได้รวดเร็วและดีเยี่ยม จึงช่วยเพิ่มความนุ่มนวล สดใสสู่ผิวรวมทั้งยังช่วยแก้ไขข้อบกพร่องและริ้วรอยหยาบกร้าน ทั้งยังช่วยกระตุ้นให้เกิดการผลัดเซลล์ผิวใหม่
ที่สำคัญยังเหมาะสำหรับผู้ที่มีผิวแห้ง แพ้ง่าย หรือ Sensitive Skin ผิวคุณจึงดูอ่อนกว่าวัย นุ่มนวลพร้อมช่วยคืนความแข็งแรง และผ่องใสสู่ผิว
ประโยชน์ของรกแกะ
  1. กระตุ้นให้เกิดการผลัดเซลล์ผิวใหม่ บำรุงเซลล์ผิวหน้าให้เปล่งปลั่ง ลดรอยเหี่ยวย่น ทำให้ผิวดูอ่อนกว่าวัย
  2. ปกป้องสภาพผิวไม่ให้แห้งกร้าน สร้างความกระชับให้กับผิวหน้าดูเต่งตึงขึ้น
  3. เสริมสร้างความอ่อนนุ่มละมุนให้กับผิว สัมผัสความอ่อนนุ่มหลังการใช้แค่ 2-3 นาที
  4. ลดรอยด่างดำ ฝ้าและกระบนใบหน้า รวมทั้งปรับเซลล์สีผิวให้เรียบเนียนดูสม่ำเสมอ
  5. เพิ่มความยืดหยุ่นให้กับสภาพผิว ช่วยลดอาการบวมบริเวณใต้ดวงตา
  6. กระตุ้นการสมานเซลล์ผิวอันเกิดจากแผลต่างๆ รวมทั้งแผลเป็นได้อีกด้วย
  7. เพิ่มความสดใสให้กับผิวที่แห้งกร้านจากแสงแดด และ UV
  8. สร้างความเชื่อมั่นให้กับผิวหน้าอีกครั้ง และปลอดภัยจากสารเคมีที่เป็นพิษ เพราะรกแกะสกัดบริสุทธิ์จากธรรมชาตินุ่มละมุนด้วยโมเลกุลของน้ำ เพื่อช่วยดูดซึมและกระชับผิวให้แข็งแรง
  9. ลดริ้วรอยหมองคล้ำก่อนวัย
  10. ฟื้นฟูสภาพผิวให้บริสุทธิ์ สดใส
  11. เสริมสร้าง ดูแล และลบเลือนจุดด่างดำบนใบหน้า

Friday 8 April 2011

Collagen คอลลาเจน คือ

คอลลาเจน

คอลลาเจนจากธรรมชาติ มีสรรพคุณในการช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย ที่เสื่อมลงไปตามกาลเวลา ให้กลับมาแข็งแรงและสดใสอีกครั้ง คงความหนุ่มสาวไว้ในคุณเสมอ ช่วยชะลอความเสื่อมของร่างกายและผิวพรรณ กระชับผิวพรรณให้เต่งตึง ลดรอยเหี่ยวย่นตามร่างกาย เสริมสร้างกระบวนการผลิตคอลลาเจนในร่างกายอย่างเป็นธรรมชาติ ปลอดภัยต่อร่างกาย ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกายตามส่วนต่างๆ ให้กลับมาแข็งแรง เต่งตึง สดใส อีกครั้ง

คอลลาเจน คือ โปรตีนชนิดหนึ่งที่อยู่ใต้ชั้นหนังแท้ โปรตีนแห่งความงามที่ว่านี้ มีชื่อเรียกว่า คอลลาเจนโปรตีน เป็นโปรตีนสำคัญของผิวหนัง เพราะเป็นส่วนสปริงของผิวหนัง ในการสร้างความตึงให้กับผิวหนังชั้นหนังแท้ หากอยากลองสัมผัสความตึงของคอลลาเจนโปรตีน ลองจับแก้มเด็กตัวเล็ก ๆ ดู จะสัมผัสได้ทันที ถึงความใส ตึง ที่ผิวแก้ม หรือ ดูเด็กวัยรุ่นที่กำลังแตกเนื้อหนุ่มสาว จะเห็นว่าผิวพรรณตึงเปรี๊ยะทีเดียว ปัจจุบันนี้จะมีการพูดถึง คอลลาเจน กันอย่างกว้างขวางในวงการเครื่องสำอาง และ ความงาม เป็นภาษากรีก

คอลลาเจน เป็นภาษากรีก แปลว่า กาว ทำหน้าที่เป็นกาวเชื่อมเซลล์แต่ล่ะเซลล์เข้าด้วยกัน คอลลาเจนโปรตีนมีปริมาณมากถึง 1 ใน 3 ของโปรตีนในร่างกาย คอลลาเจนใต้ผิวหนังของเรา จะอยู่ในผิวหนังชั้นหนังแท้ คอลลาเจนทำหน้าที่เสริมความเรียบตึงของผิวหนัง ทำให้ผิวแข็งแรง และเรียบเนียน และอยู่คู่กับโปรตีนที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งคือ “อิลาสติน” ในขณะที่คอลลาเจนมีหน้าที่เสมือนโครงสร้างของผิว และทำให้ผิวเต่งตึง อิลาสตินจะมีหน้าที่สร้างความยืดหยุ่นให้กับผิว และทำให้ผิวไม่มีริ้วรอย

น่าเสียดายที่ภายหลังอายุ 20 ปี คอลลาเจนโปรตีนจะเสื่อมสภาพลง ทำให้ชั้นผิวหนังมีการยุบตัวลง ต้นเหตุของความเหี่ยวย่น ริ้วรอย และความชราของผิวพรรณ ริ้วรอยแรกจะเป็นรอยตีนกา เพราะผิวหนังรอบดวงตา มีความบอบบางมาก อีกทั้งกล้ามเนื้อรอบดวงตาก็เป็นกล้ามเนื้อวงกลม ไม่มีอะไรยึด ผิวรอบดวงตาก็เลยจะเหี่ยวง่ายกว่าที่อื่น การรับประทานคอลลาเจนโปรตีน จะช่วยชะลอความเหี่ยวตรงนี้ และลดริ้วรอยที่เกิดขึ้นแล้วได้ คอลลาเจนมีคุณสมบัติ ทำให้กล้ามเนื้อกระชับไม่หย่อนยาน ผิวหนังไม่เหี่ยวย่น อีกทั้งยังบำรุงเล็บ และเส้นผมให้มีสุขภาพดีอีกด้วย

การเสริมสร้างคอลลาเจนด้วยการรับประทาน

มีการนำสารสกัดโปรตีนจากปลาทะเลบางประเภท ซึ่งมีโครงสร้างโมเลกุลคล้ายกับโครงสร้างของคอลลาเจนของผิวคน โดยวิธีการ (Enzymatic Hydrolysis) ,มาทำเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร แล้วพบว่าภายหลังการรับประทานไประยะหนึ่ง จะสามารถช่วยเสริมสร้างคอลลาเจน และช่วยให้ริ้วรอยต่าง ๆ จางหาย การนำสารสกัดโปรตีนคอลลาเจน เข้าสู่ร่างกายเพื่อผลในการบำรุงผิว และลดริ้วรอยนั้น ปกติทำได้ 2 วิธีคือ โดยการรับประทานในรูปแบบผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร หรือ โดนการฉีดเข้าใต้ผิวหนังชั้นหนังแท้ วิธีการรับประทานจึงเป็นวิธีการที่สะดวกกว่า ผลที่ได้รับจากการบริโภคคอลลาเจนอย่างต่อเนื่อง จะช่วยในการสร้างเนื้อเยื่อคอลลาเจนใต้ผิวหนัง ลดริ้วรอยเหี่ยวย่นของผิวหนังอย่างได้ผล และทำให้ผิวมีความชุ่มชื้น นุ่มเนียนขึ้น

คอลลาเจนโปรตีน เป็นโปรตีนที่มีโครงสร้างโมเลกุลใหญ่มาก ดังนั้นคอลลาเจนไม่สามารถซึมผ่านผิวหนังได้ด้วยการทา ส่วนครีมต่าง ๆ ที่มีขายตามท้องตลาด ที่มีส่วนผสมของคอลลาเจน ก็จะเป็นการผลักคอลลาเจนให้อยู่ได้แค่ชั้นหนังกำพร้า แต่เนื่องจากคอลลาเจนมีคุณสมบัติอุ้มน้ำได้ประมาณ 30 เท่าของน้ำหนักตัวมัน ทำให้ผิวหนังกำพร้าชุ่มชื้นขึ้น แต่ไม่สามรถแก้ไขปัญหาริ้วรอยได้อย่างแท้จริง เพราะการเสริมสร้างคอลลาเจน จะต้องเข้าสู่ด้วยการฉีดเข้าใต้ผิวหนัง และการรับประทานเท่านั้น

การใช้คอลลาเจน

ระยะเวลาเห็นผล 30 – 60 วัน
ริ้วรอยตื้นขึ้น 50%
ผิวที่หย่อนยานกระชับขึ้น 60%
ผิวชุ่มชื้นมากขึ้น 45%
ผม และ เล็บ แข็งแรง และ หนาขึ้น


ข้อมูลที่ 2

 จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

คอลลาเจน คือ โปรตีนซึ่ง เป็นส่วนประกอบหลักๆของชั้นผิวหนัง ทำหน้าที่เป็นตัวประสานเนื้อเยื่อของผิวหนังเข้าด้วยกัน โดยโปรตีนชนิดนี้มีส่วนประกอบถึง 25% ถึง 35% ของจำนวนหน่วยโปรตีนทั้งหมดในร่างกาย โดยมีมากที่สุดที่ผิวหนัง และ ประมาณ 1% ถึง 2% ที่ปะปนอยู่ในเซลล์กล้ามเนื้อ การผลิตเจลลาตินในอาหารได้จากกรรมวิธี การย่อยหน่วยคอลลาเจนที่เรียกว่า Hydrolysis

หน้าที่ของคอลลาเจน

คอลลาเจน คือ โปรตีนชนิดหนึ่งที่เป็นสายยาว ซึ่งทำหน้าที่แตกต่างจากสารโปรตีนโดยทั่วๆไปเช่นแดียวกับเอนไซม์ สายเส้นใยของคอลลาเจนถูกเรียกว่า คอลลาเจน ไฟเบอร์ (Collagen Fiber) ซึ่งจะมีลักษณะเป็นสายเกลียวที่มีหน่วยโมเลกุลเกี่ยวพันกันมากมาย โดยปกติทั่วไปผิวหนังที่มีคอลลาเจนเป็นโครงสร้างอยู่มากจึงมีแรงสปริงตัวและ ยืดหยุ่นได้ดีตามไปด้วย คอลลาเจนนั้นไม่ได้มีอยู่ที่ผิวหนังส่วนนอกเท่านั้น อวัยวะภายในร่างกายเอง ก็มีคอลลาเจนเป็นส่วนประกอบอยู่มาก ได้แก่ ผังผืด (Fascia), กระดูกอ่อน (cartilage), เส้นเอ็น (ligaments), ข้อต่อ (tendons),กระดูก (bone) สารคอลลาเจนที่เป็นส่วนประกอบหลักของชั้นผิวมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า เคราติน Keratin

เคราติน Keratin, เคราตินมีหน้าที่สร้างความแข็งแรงและความยืดหยุ่น เมื่อสารเคราตินในชั้นผิวลดลง จึงเกิดริ้วรอยแห่งวัยขึ้นบนชั้นผิว, นอกจากนี้ เคราตินมีหน้าที่สร้างความยืดหยุ่นให้ผนังหลอดเลือด มีส่วนช่วยในการสร้างเนื้อเยื่อใหม่ รวมทั้งยังเป็นส่วนประกอบของเยื่อกระจกตาและเลนส์ตาด้วย

Hydrolyzed Collagen เองยังถูกใช้งานในแง่ของการลดน้ำหนักได้ด้วย เนื่องจากเป็นส่วนประกอบของโปรตีนจึงมีข้อดีในการช่วยเผาผลาญพลังงานลดไขมัน ส่วนเกิน

บทบาทคอลลาเจนในวงการอุตสาหกรรม

เมื่อ นำคอลลาเจนมาผ่านกระบวนการ Hydrolyzed สารคอลลาเจนจะแตกตัวออกเป็นสารเชิงซ้อนของคอลลาเจนเปปไทด์แบบ Polyproline II (PPII) หรือลักษณะของเจลาตินที่นำมาเป็นส่วนผสมของอาหารนั่นเอง นอกจากการใช้เป้นอาหารแล้ว คอลลาเจนยังใช้เป็นส่วนประกอบของยา เครื่องสำอางค์ และฟีล์มถ่ายภาพเมื่อพิจารณาในแง่ของอุตสาหกรรมอาหารแล้ว สารคอลลาเจนไม่ได้ประกอบด้วยกรดอะมิโนที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่มีการประชาสัมพันธ์เชิงการค้าว่าผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมคอลลาเจนต่างแสดง คุณสมบัติของสินค้าว่าสามารถยับยั้งการเกิดริ้วรอยแห่งวัยและมีผลดีต่อ สุขภาพ ซึ่งยังไม่มีผลการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่ออกมาสนับสนุนการโฆษณาในลักษณะนี้

คำ ว่าคอลลาเจน (Collagen) มีรากศัท์มาจากภาษากรีกจากคำว่า “Kolla” ที่แปลว่า กาว โดยเมื่อก่อนได้มีการทำกาวโดยการนำหนังและเอ็นม้ามาเคี่ยวจนกลายเป็นกาว ตามหลักฐานที่พบมีการใช้งานกาวลักษณะนี้มากว่า 8000 ปีแล้ว โดยใช้เป็นส่วนประกอบในการผลิตเชือกและตระกร้าสานเพื่อให้มีความแข็งแรง และมีการใช้งานภายในครัวเรือนทั่วไป กาวชนิดนี้เมื่อแห้งแล้วสามารถทำให้อ่อนนิ่มได้อีกโดยการให้ความร้อน เพราะกาวจากสิ่งมีชีวิตเป็น Thermoplastic ชนิดหนึ่งจึงมีการใช้งานได้หลากหลายโดยเฉพาะการผลิกเครื่องดนตรีเช่น ไวโอลีน กีตาร์ แม้กระทั่งเมื่อมนุษย์สามารถผลิตพลาสติกสังเคราะห์ได้แล้ว แต่ก็ยังมีการใช้งานกาวเจลาตินอยู่ทั่วไป

บทบาทคอลลาเจนในวงการแพทย์

คอลลาเจนมีการใช้งานอย่างกว้างขวางในวงการศัลยกรรมความงาม ศัลยกรรมกระดูก การจัดฟัน และวงการศัลยกรรมทั่วไป เป็นส่วนประกอบของผิวหนังสังเคราะห์ที่ใช้ในผู้ป่วยที่สูญเสียผิวหนังเนื่อง จากอุบัติเหตุไฟไหม้ ซึ่งใช้คอลลาเจนสังเคระห์จากผิวหนังของลูกวัว (Bovine), หรือจากหมู (Equine, Porcine) บางครั้งจะใช้ผิวหนังจากผู้บริจาค หรือใส้ซิลิโคนสังเคราะห์แทน
คอลลาเจนได้มีการจำหน่ายในลักษณะของ ผลิตภัณฑ์ที่เป็นส่วนช่วยเคลื่อนไหว เนื่องจากคอลลาเจนเมื่อรับประทานเข้าไปจะย่อยสลายเป็นโปรตีนและกรดอะมิโนใน ที่สุด จึงช่วยในการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอโดนวิธีรับประทานได้น้อยมาก ดังนั้น วงการแพทย์ในปัจจุบันจึงมีการใช้คอลลาเจนในแง่ของศัลยกรรมความงามมากที่สุด

วิธีที่จะเพิ่ม คอลลาเจนนั้น ทำได้หลายวิธี
  1. การฉีดคอลลาเจนโดยตรง จากแพทย์
  2. รับประทานอาหารที่ต่อต้านสารอนุมูลอิสระ ได้แก่ เบต้าแคโรทีน วิตามินซี, วิตามินอี

    ข้อมูลที่ 3

    Collagen cream

    คุณสมบัติของคอลลาเจนโดยทั่วไป คือ

    * สามารถทำให้ริ้วรอยและรอยแผลหลุมตื้นขึ้นได้ 60%
    * ผิวมีความยืดหยุ่นและ แน่นกระชับขึ้น 70%
    * ผิวเรียบเนียนขึ้นถึง 50%
    * เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวถึง 80%

    คอลลาเจน เป็นโปรตีนหลักของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน เป็นส่วนประกอบ 80%ของผิวหนัง มีอยู่ในเซลล์ทุก ๆ เซลล์ทั้งภายในและภายนอก

    ซึ่งคอลลาเจ่นทำหน้าที่เพิ่มความยืดหยุ่นให้แก่เซลล์ และเป็นสารประกอบหลักของ กระดูกอ่อน เส้นเอ็น เยื่อบุต่าง ๆ กระดูก ฟันและผิวหนัง

    โดยหน้าที่หลักของคอลลาเจน คือ

    ทำให้ผิวหนังแข็งแรง มีความยืดหยุ่นดี
    เพิ่มความยืดหยุ่นให้กับเส้นเลือดซึ่งหล่อเลี้ยงตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะผิว ทำให้ผิวสวยใส
    เป็นส่วนประกอบและเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบที่เป็นผลึกในดวงตา เช่น เลนต์ตา จะช่วยทำให้ดวงตาดูสดใสขึ้น ช่วยเสริมสร้างให้เล็บแข็งแรง และสุขภาพเล็บดีขึ้น ไม่ฉีกขาดง่าย

    ประโยชน์ของคอลลาเจ่นที่มีต่อผิวพรรณและการรูปแบบการใช้

    1. การใช้คอลลาเจน แบบทา ข้อดีคือ สามารถสัมผัสโดยตรงกับผิวในส่วนที่ทา แต่สำหรับคอลลาเจนที่มีโมเลกุลใหญ่ จะซึมสู่ผิวได้ยาก ทำให้ปริมาณที่ซึมสู่ผิวมีปริมาณจำกัด

    * หากเป็นคอลลาเจ่นแบบทาที่สกัดจากเทคโนโลยีนาโน ซึ่งมีโมเลกุลเล็ก ทำให้สามารถซึบซาบเข้าสู่ผิวได้อย่างมีประสิทธิภาพกว่าค่ะ

    2. การใช้คอลลลาเจน แบบฉีด เพื่อเติมบางส่วนของผิวให้เต็ม เป็นวิธีที่ตรงและเร็ว แต่จะทำให้เจ็บและมีราคาแพง วิธีนี้สารที่เข้าไปจะอยู่ชั่วคราว ซึ่งร่างกายจะค่อย ๆ ดูดซึมไปใช้


    3. การใช้คอลลาเจนในรูปแบบอาหารเสริม รับประทานเพื่อเป็นวัตถุดิบให้ร่างกายนำไปสังเคราะห์สำหรับใช้ในส่วนที่ขาดไป ซึ่งคอลลาเจนที่สร้างใหม่จะเข้าไปปรับปรุงผิวให้มีสุขภาพดีขึ้น และยังปรับปรุงในทุก ๆ ส่วนรวมถึงเล็บ กระดูก เส้นเอ็น และข้อต่าง ๆ

    ทำไมร่างกายถึงต้องการคอลลาเจนเสริม?

    เพราะเมื่อมีอายุมากขึ้น ร่างกายจะผลิตคอลลาเจนได้น้อยลง ไม่เพียงพอ ต่อความต้องการเหมือนวัยสาว ทำให้ร่างกายค่อย ๆ สูญเสียคอลลาเจนที่สะสมอยู่ นักวิจัยพบว่า แสงแดด อายุ ความเครียด และมลพิษ มีผลทำให้คอลลาเจนอ่อนแอและสลายตัวได้ง่าย การสูญเสียคอลลาเจนเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดริ้วรอย และฝ้า ซึ่งทำให้ดูแก่กว่าวัย

    ข้อมูลที่ 4

              Q : คอลลาเจนคืออะไร?

              A : คอลลาเจน หรือ Collagen ที่มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก (มีความหมายว่า กาว คนในยุคนั้นนำเอาผิวหนังสัตว์ไปเคี่ยวเพื่อให้ได้กาวเหนียว ๆ มาใช้งาน) จริง ๆ แล้วคอลลาเจนคือ โปรตีนธรรมชาติในร่างกาย ในคอลลาเจนมีสารสำคัญ 2 ชนิด คือ Proteoglycan และ Glycosaminoglycans  ซึ่งเป็นโปรตีนที่เป็นโครงสร้างหลักของผิว เส้นผม เล็บ กระดูก ข้อต่อ ตลอดจนผนังหลอดเลือด บางคนเรียกมันว่า กาวแห่งชีวิต เพราะคอลลาเจนทำหน้าที่เชื่อมเซลล์ในร่างกายเข้าด้วยกัน ปกป้องอวัยวะภายในร่างกายและเชื่อมอวัยวะต่าง ๆ ให้อยู่ด้วยกัน ในผิวหนังชั้นหนังแท้ (Dermis) จะประกอบด้วยคอลลาเจนจนถึง 75%

              Q : คอลลาเจนเกี่ยวอะไรกับผิวสวย?

              A : ภายในผิวหนังชั้นหนังแท้ (Dermis) ที่ประกอบด้วยคอลลาเจนถึง 75% ความอุดมสมบูรณ์ของคอลลาเจนจึงมีส่วนสำคัญในการทำให้ผิวหนังชุ่มชื้น นุ่มนวล มีความยืดหยุ่นดีทำให้ผิวเต่งตึงกระชับ ซึ่งเป็นคุณลักษณะของผิวเยาว์วัย ที่ไม่เหี่ยวย่น ไม่มีริ้วรอยและตีนกาเป็นผิวที่เราทุกคนเป็นเจ้าของในช่วงวัยเด็กและวัยสาวก่อนอายุจะย่าง 30 ทั้งนี้เพราะภายในชั้นผิวของเรามีความอุดมสมบูรณ์ของคอลลาเจนสูง

              Q : จริงหรือที่ว่าเมื่อ อายุย่าง 30 คอลลาเจน จะลดลงปีละ 15%?

              A : ในช่วงวัยเด็ก  และวัยสาวรุ่น ร่างกายจะสังเคราะห์คอลลาเจนอย่างเต็มที่สมบูรณ์ จนเมื่ออายุย่างเข้า 30 อัตราการสังเคราะห์คอลลาเจนจะเริ่มลดลงปีละ 1.5% ในทุก ๆ ปี เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และยังโชคร้ายที่จะเกิดขึ้นชัดเจนในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย เขาถึงบอกว่า ผู้หญิงแก่ง่ายกว่าผู้ชาย อัตราการลดลงอย่างต่อเนื่องของคอลลาเจนในผิวชั้นหนังแท้จะมีผลให้ผิวพรรณค่อย ๆ สูญเสียความชุ่มชื่น นุ่มเนียน และความยืดหยุ่น ผิวที่เคยสวย เต่งตึง นุ่มนวล ค่อย ๆ แห้งกร้าน ผิวจะยุบตัวลงทุกปีทุกปี ทำให้เกิดริ้วรอยเหยี่ยวย่นและตีนกา และกว่าคุณจะอายุ 45 ปี ระดับคอลลาเจนในชั้นผิวได้ลดลงไปแล้วกว่า 30%

              Q : มีวิธีหยุดการลดลงของคอลลาเจนไหม?
              A : อัตราการสังเคราะห์คอลลาเจนที่ลดลงปีละ 1.5% ทุกปี ตั้งแต่เราอายุย่างเข้า 30 นั้นเป็นเรื่องของธรรมชาติที่ต้องเกิดขึ้นกับทุกคน โดยที่เราไม่สามารถหยุดยั้งได้ แต่เราสามารถช่วยชะลอความเสื่อมของ ผิวพรรณ และรักษาผิวไว้ให้ดูดีให้นานที่สุดได้ โดยการวิจัยด้านโภชนาการได้ค้นพบว่า  การรับประทานคอลลาเจนที่สกัดจากปลาทะเลน้ำลึก เป็นอาหารเสริมประจำอย่างต่อเนื่อง สามารถช่วยเสริมเติมคอลลาเจนที่พร่องลงตามวัยที่เพิ่มขึ้นคืนกลับให้กับร่างกาย สามารถช่วยป้องกัน และชะลอริ้วรอยเหยี่ยวย่น รอยตีนกา ความแห้ง กระด้าง ช่วยรักษาผิวพรรณให้มีความชุ่มชื้น นุ่มนวลเรียบเนียน คงความยืดหยุ่นของผิวไว้ ถ้าให้ดียิ่งขึ้นควรรับประทานวิตามินอีด้วย เพื่อช่วยเพิ่ม (Dermis) ซึ่งการทาที่ผิวหน้า  และผิวตัวจะซึมเข้าสู่ผิวได้แค่เพียงชั้นหนังกำพร้าเท่านั้น

              Q : ถ้าทาคอลลาเจนที่ผิวจะได้ผลไหม?

              A : ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่า คอลลาเจนเป็นโปรตีนที่มีโครงสร้างใหญ่มาก ไม่สามารถซึมผ่านเข้าไปในผิวชั้นหนังแท้ (Dermis) ได้ ดังนั้นการใช้ครีมที่มีส่วนผสมของคอลลาเจนทาที่ผิว คอลลาเจนจะซึมผ่านเข้าไปได้แค่ผิวชั้นหนังกำพร้าที่อยู่ชั้นนอกสุด อาจทำให้ผิวหนังกำพร้าชุ่มชื้นขึ้น แต่ไม่สามารถแก้ปัญหาริ้วรอยที่เกิดจากการลดลงของคอลลาเจนในผิวชั้นหนังแท้ (Dermis) ได้ วิธีเพิ่มคอลลาเจนคืนกลับให้ผิวที่ได้ผลคือ การฉีดเข้าใต้ผิวหนังและการรับประทานเท่านั้น แต่การรับประทานจะเป็นวิธีที่ง่ายและสะดวกกว่า และนำคอลลาเจนเข้าไปเสริมสร้างผิวพรรณทั้งใบหน้าและทั่วทั้งร่าง อีกทั้งเข้าไปเสริมสร้างเส้นผมให้เงางาม เล็บมือ เล็บเท้าไม่เปราะ หักง่าย เพราะคอลลาเจนเป็นโปรตีนสำคัญที่เป็นโครงสร้างของผมและเล็บที่งอกใหม่ออกมาทุกวัน ในขณะที่การฉีดจะเสริมคอลลาเจนได้เฉพาะที่เท่านั้น