Thursday 31 March 2011

ไฟเบอร์ในอาหาร

เส้นใยอาหาร (Fiber) คืออะไร
ไฟเบอร์ หรือ เส้นใยอาหาร ส่วนใหญ่เราจะได้จากส่วนโครงสร้างของพืช มีอีกชื่อหนึ่งว่าเซลลูโลส ไฟเบอร์ แบ่งได้ 2 ชนิดคือ ไฟเบอร์ ชนิดที่ละลายน้ำได้ เวลาละลายน้ำจะเห็นเป็นลักษณะเมือกๆ พบมากในผลไม้ ถั่ว ข้าวโอ๊ต เป็นต้น อีกชนิดคือ ไฟเบอร์ ชนิดที่ไม่ละลายน้ำ จะพบมากใน ข้าวซ้อมมือ รำข้าว ผักต่างๆ

มีการรายงานว่าปกติเฉลี่ยแล้วพวกเรารับประทาน ไฟเบอร์ เพียง 10 กรัมต่อวันเท่านั้น ซึ่งหากว่าเราสามารถรับประทาน 25-40 กรัมต่อวันจะสามารถช่วยลดความเสี่ยงของการเกิด โรคหัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง มะเร็งลำไส้ใหญ่ และความผิดปกติของระบบทางเดินอาหารได้งั้นเรามาลองดูว่าอาหารแต่ละชนิดมีปริมาณ ไฟเบอร์ อยู่เท่าไร

ไฟเบอร์ในอาหารทั่วไป
นมและผลิตภัณฑ์จากนม    มี ไฟเบอร์ อยู่    0 กรัม
เนื้อสัตว์ มี ไฟเบอร์ อยู่    0 กรัม
ถั่วอบ (1/2 ถ้วย) มี ไฟเบอร์ อยู่    11 กรัม
ข้าวโพดคั่ว (1ถ้วย) มี ไฟเบอร์ อยู่    0.4 กรัม

ไฟเบอร์ในผัก
บร็อคคอรี่ (1/2ถ้วย)    มี ไฟเบอร์ อยู่    3.2 กรัม
แครรอตต้ม (1/2ถ้วย)    มี ไฟเบอร์ อยู่    2.3 กรัม
แครรอตสด (1ถ้วย)    มี ไฟเบอร์ อยู่    2.3 กรัม
เห็ดสด (1/2ถ้วย)    มี ไฟเบอร์ อยู่    0.7 กรัม
ผักขม (1/2ถ้วย)    มี ไฟเบอร์ อยู่    5.7 กรัม
มะเขือเทศสด (1ถ้วย)    มี ไฟเบอร์ อยู่    2.0 กรัม

ไฟเบอร์ในผลไม้
แอปเปิ้ล(1ผล)    มี ไฟเบอร์ อยู่    3.3 กรัม
กล้วย (1 ลูก)    มี ไฟเบอร์ อยู่    3.2 กรัม
แคนตาลูป (1/4 ลูก)    มี ไฟเบอร์ อยู่    1.6 กรัม
องุ่น (1/2 ถ้วย)    มี ไฟเบอร์ อยู่    0.6 กรัม
ส้ม (1 ผล)    มี ไฟเบอร์ อยู่    2.4 กรัม
สับประรด (1/2 ถ้วย)    มี ไฟเบอร์ อยู่    0.9 กรัม
สตอเบอรี่ (1/2 ถ้วย)    มี ไฟเบอร์ อยู่    1.7 กรัม

Tuesday 29 March 2011

เบต้าแคโรทีน ( Beta-carotene ) คือ


เบต้าแคโรทีน สารสีส้มเพื่อสุขภาพ
พญ.สุภาณี ศุกระฤกษ์

 

สุขภาพร่างกายของผู้คนในปัจจุบัน กำลังย่ำแย่ลงทุกขณะ ถึงเวลาที่ทุกคน ควรจะหันมาดูแลเอาใจใส่มากยิ่งขึ้น สิ่งหนึ่งที่มีส่วนสำคัญในการดูแลรักษาสุขภาพ คือ การรับประทานอาหารที่ให้ประโยชน์ แก่ร่างกายอย่างสมดุล เป็นประจำสม่ำเสมอ ปัจจุบันมีการค้นพบอีกหนึ่งคุณค่าของสารอาหารธรรมชาติ ที่ให้ประโยชน์แก่ร่างกาย เป็นอย่างยิ่ง นั่นก็คือ "เบต้าแคโรทีน" (Beta Carotene)

แหล่งของเบต้าแคโรทีน จะพบได้ในผัก และผลไม้ที่มีสีส้ม เหลือง หรือ แดง เพราะเบต้าแคโรทีน คือ ตัวการทำให้พืชผัก และผลไม้มีสีสรรดังกล่าว เช่น แครอท ฟักทอง หน่อไม้ฝรั่ง ข้าวโพดอ่อน แตงโม แคนตาลูป มะละกอสุก และผักที่มีสีเขียว เช่น บรอคโคลี มะระ ผักบุ้ง ต้นหอม ผักคะน้า ผักตำลึง เป็นต้น (เหตุที่มีสีเขียวเพราะสีของเบต้าแคโรทีนถูกสีเขียวของคลอโรฟิลล์บดบัง)

เมื่อเบต้าแคโรทีนเข้าสู่ร่างกาย จะถูกเปลี่ยนให้เป็น วิตามินเอ โดยเอมไซม์ในลำไส้ ในปริมาณที่ร่างกายต้องการ ซึ่งปกติเบต้าแคโรทีน 6 หน่วย จะสามารถเปลี่ยน ให้เป็นวิตามินเอได้ 1 หน่วย เบต้าแคโรทีนนั้น มีประโยชน์ต่อร่างกาย และผิวพรรณ อย่างมาก คือ ช่วยให้มองเห็นในที่มืดได้ดี ช่วยป้องกันผิวที่อาจเกิดจากอันตรายของ รังสีอัลตราไวโอเลต ที่มากับแสงแดดได้ จึงทำให้ผิวพรรณมีสุขภาพดี ไม่มีริ้วรอยแก่ก่อนวัย แลดูสดใสอยู่เสมอ นอกจากนี้ยังช่วยรักษาสภาพปกติของ เซลล์เยื่อบุตาขาว กระจกตา ช่องปาก ทางเดินอาหาร ทางเดินหายใจ รวมถึงทางเดินปัสสาวะให้เป็นปกติ และยังช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกัน ของร่างกายทำงานได้ดีอีกด้วย

นอกจากประโยชน์มากมายที่กล่าวมาแล้ว เบต้าแคโรทีนยังเป็นสารแอนตี้ออกซิแดนท์ (Antioxidant) ซึ่งคอยกำจัดอนุมูลอิสระ (Free Radicals) ก่อนที่มันจะไปทำปฏิกิริยา ทำลายส่วนประกอบต่าง ๆ จนทำให้เซลล์นั้นมีการเจริญเติบโตที่ผิดปกติ เป็นต้นเหตุให้เกิดโรคมะเร็งบางชนิด เช่น มะเร็งในช่องปาก กล่องเสียง ตับ หรือกระเพาะอาหาร โรคเส้นเลือด หัวใจอุดตัน และโรคต้อกระจกในผู้สูงอายุ เป็นต้น

ความจริงแล้ว ในแต่ละวันเรามักได้รับเบต้าแคโรทีนจากอาหารเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เพราะเบต้าแคโรทีนจะถูกทำลายได้โดยง่าย จากความร้อนในการประกอบอาหารอีก ทั้งร่างกายของคนเราจะสามารถดูดซึมเบต้าแคโรทีนไว้ได้เพียงร้อยละ 25-27 เท่านั้น จึงไม่เพียงพอที่จะสามารถป้องกันการเกิดของโรคมะเร็งได้ ดังนั้นสถาบันต่าง ๆ จึงได้ทำการแนะนำปริมาณเบต้าแคโรทีน ที่เราควรจะได้รับในแต่ละวันไว้ดังนี้



สถาบันแนะนำให้รับประทานเบต้าแคโรทีน/วัน
IU (หน่วยสากล)mg. (มิลลิกรัม)
สำนักงานอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา2,8865.2
สถาบันมะเร็งของสหรัฐอเมริกา3,3306
สำนักงานอาหารและยาแห่งประเทศไทย2,6644.8
Professor Antheny Dep Lock ชาวอังกฤษ8,32515



ดังนั้นในแต่ละวัน เราจึงควรรับประทานอาหารที่มีสารเบต้าแคโรทีนให้เพียงพอ ควบคู่ไปกับการรับประทานอาหารที่มีวิตามินเอ วิตามินซี และวิตามินอี อย่างสม่ำเสมอ เพื่อผลในการป้องกันการแก่ก่อนวัย โรคมะเร็ง และต่อต้านโรคภัยต่าง ๆ ที่อาจจะมาเยี่ยมเยือน ทั้งยังทำให้ร่างกายมีสุขภาพแข็งแรง และสดใสอยู่เสมออีกด้วย


พญ.สุภาณี ศุกระฤกษ์
อายุรแพทย์และแพทย์ผิวหนัง


ข้อมูลที่ 2



เบต้าแคโรทีน


เบต้าแคโรทีน (Betacarotene) คือสารที่ให้สีส้ม เหลือง หรือแดง ในพืชผักผลไม้ เช่น แครอท ฟักทอง มะเขือเทศ มะม่วงสุก แตงโม แคนตาลูป มะละกอและผักที่มีสีเขียวเข้ม เช่น บรอคโคลี มะระ ต้นหอม ผักบุ้ง ผักคะน้า ผักตำลึง เป็นต้น
(เหตุที่มีสีเขียวเพราะสีของเบต้าแคโรทีนถูกสีเขียวของคลอโรฟิลล์บดบัง)

  • เบต้าแคโรทีน เป็นสารอาหารประเภทวิตามิน ที่มีคุณสมบัติละลายไขมันเมื่อเรารับประทานอาหารที่มีเบต้าแคโรทีน เข้าไปในร่างกาย

  • เบต้าแคโรทีน จะถูกย่อยในกระเพาะ อาหารโดยน้ำดีที่ได้จากตับ แล้วดูดซึมผ่านผนังลำไส้ ก่อนที่จะถูกดูดซึมเข้าร่างกาย

  • เมื่อเบต้าแคโรทีน เข้าสู่ร่างกายแล้วจะได้รับการเปลี่ยนให้เป็นวิตามิน เอ หรือ ที่เรียกกันว่าโปรวิตามิน เอ ในลำไส้ และตับ 

  • เบต้าแคโรทีน เป็นสารแคโรทีนนอยด์ ตัวหนึ่งที่มีคุณสมบัติเป็นสารตั้งต้นของ วิตามิน เอ เบต้าแคโรทีน ซึ่งมีโครงสร้างเป็น วิตามิน เอ สองตัวหันหางต่อกัน

แม้ร่างกายมนุษย์จะสามารถสร้าง วิตามิน เอ จากเบต้าแคโรทีน ไม่ได้หมายความว่า เบต้าแคโรทีน ทุกตัวจะเปลี่ยนเป็น วิตามิน เอ ได้


แม้เมื่อเปรียบเทียบกับ แคโรทีนนอยด์ตัวอื่น ๆ แล้ว เบต้าแคโรทีนเป็นสารที่เปลี่ยนเป็นวิตามิน เอ ได้ดีที่สุด


คุณสมบัติที่สำคัญของเบต้าแคโรทีน คือ เป็นสารแอนตี้ออกซิแดนท์ (Anti-oxidant) สามารถจับตัวอนุมูลอิสระ (Free Radicals) ก่อนที่อนุมูลอิสระจะไปทำปฏิกิริยา ทำลายส่วนประกอบต่าง ๆ ของเซลล์ จนทำให้เซลล์นั้นถูกทำลายลง หรือมีการเจริญ เติบโตที่ผิดปกติ


อันเป็นสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งบางชนิด โรคต้อกระจก โรคหัวใจ และหลอดเลือด ซึ่งเป็นเหตุของโรคหัวใจวายและเส้นเลือดในสมองตีบ


ในแต่ละวัน เราสามารถได้รับเบต้าแคโรทีน จากอาหารอย่างเพียงพอ ถ้าเลือกรับประทานอาหารที่มีเบต้าแคโรทีนสูง เช่น แครอทขนาดใหญ่ (100 กรัม) 1 หัว ให้วิตามิน เอ สูงถึง 2 เท่า ของข้อ กำหนดมาตรฐานความต้องการของวิตามิน เอ ในแต่ละวัน


ดังนั้นสถาบันมะเร็งในหลาย ๆ แห่ง จึงได้ออกข้อเสนอแนะว่า ในแต่ละวัน ควรได้รับเบต้าแคโรทีน จากผักและผลไม้ในปริมาณ 5 - 6 มิลลิกรัม


ควบคู่กับการรับประทานอาหารที่มีสารแคโรทีนนอยด์อื่น ๆ วิตามินซี และวิตามินอี อย่างสม่ำเสมอ เพื่อผลในการป้องกันมะเร็งและต่อต้านโรคภัยต่าง ๆ ทั้งยังทำให้ร่างกายมีสุขภาพที่แข็งแรงสดใสอยู่เสมอ


* ข้อมูลจาก คอลัมน์ เรื่องน่ารู้ โดย อ.ศัลยา คงสมบูรณ์เวช (นิตยสาร "รุ้ง")



ข้อมูลที่ 3

เบต้าแคโรทีน ( Beta-carotene ) เป็นสารอาหารชนิดหนึ่งที่ถูกค้นพบว่ามีคุณสมบัติในการทำลายอนุมูลอิสระ ได้อย่างดีเลิศ โดยพบว่าเบต้าแคโรทีน จะทำปฏิกิริยาต้านการเกิดอ๊อกซิเดชั่นระหว่างอนุมูลอิสระกับสารสำคัญในเซลล์ที่มีชีวิต โดยแย่งทำปฏิกิริยากับอนุมูลอิสระเสียก่อน แล้วขับถ่ายออกไปตามระบบขับถ่ายต่างๆ ของร่างกาย เซลล์ของเราก็รอดชีวิตจากขบวนการในการทำลาย โดยอนุมูลอิสระดังกล่าว เราเรียกขบวนการในการแย่งทำปฏิกิริยาของเบต้าแคโรทีน กับอนุมูลอิสระว่า การต้านปฏิกิริยาอ๊อกซิเดชั่น หรือเอนตี้อ๊อกซิแด้น ( Antioxidants ) นั่นเอง

ประโยชน์ของเบต้าแคโรทีน( Usefulness of Beta-carotene )
จากที่หลายท่านได้รู้จักพิษร้ายของสารชนิดหนึ่งที่เราเรียกกันว่า อนุมูลอิสระ (Free Radicals)
ที่มีอยู่อย่างมากมายในร่างกายของเรา และมีทั้งชนิดที่ร่างกายของเราสร้างขึ้นเอง ได้แก่ สารของเสียจากขบวนการสันดาป ( Metabolism ) ต่างๆ ในตับ และอวัยวะต่างๆและชนิดที่ร่างกายได้รับจากภายนอก เช่น ก๊าซอ๊อกซิเจนที่เราหายใจเข้าไป และเหลือเกินความจำเป็น สารจากมลภาวะ โลหะหนัก สีผสมอาหาร และอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งเราก็ทราบกันเป็นอย่างดีอยู่แล้ว สารอนุมูลอิสระเหล่านี้ พบว่านอกจากจะทำให้เกิด ความเสื่อมของอวัยวะต่างๆ ตั้งแต่ ความเหี่ยวย่นของผิวพรรณ ไปจนกระทั่งถึงความเสื่อมของอวัยวะสำคัญภายใน อย่างเช่น ระบบหัวใจและหลอดเลือดแล้ว เรายังพบว่า สารอนุมูลอิสระ เหล่านี้ ยังสามารถส่งผลให้เกิดปฏิกิริยาในการกระตุ้น ให้เซลล์ปกติของเราเจริญเติบโตอย่างผิดปกติได้ หรือที่เราเรียกว่า เซลล์มะเร็งเนื้อร้าย ( Cancers ) นั่นเอง

ข้อมูลที่ 4


ผักผลไม้ที่มีสารเบต้าแคโรทีน สูง

1. มะม่วงน้ำดอกไม้สุก 
2. มะเขือเทศราชินี 
3. มะละกอสุก 
4. กล้วยไข่ 
5. มะม่วงยายกล่ำ 
6. มะปรางหวาน
7. แคนตาลูปเนื้อเหลือง 

8. มะยงชิด 
9. มะม่วงเขียวเสวยสุก 
10. สับปะรดภูเก็ต

 ผลไม้ทั้งหมดนี้มีเนื้อสีเหลืองและสีเหลืองเข้ม

ผลไม้ที่มีสีเขียวและสีเหลือง จะช่วยป้องกันมะเร็งหลอดอาหาร กล่องเสียง และมะเร็งปอดได้ ส่วนเบต้าแคโรทีน ซึ่งเป็นสารที่ร่างกายนำไปใช้สร้างวิตามินเอนั้น จะช่วยป้องกันการเกิดอนุมูลอิสระ สาเหตุของโรคมะเร็ง สารชนิดนี้มีมากในพืชผักสีแดง เหลือง ส้ม หรือเขียวเข้ม เบต้าแคโรทีน มีอยู่มากในผักจำพวกผักใบเขียว และผลไม้ ที่มีสีเหลือง ส้ม หรือแดงส้ม เช่น ผักบุ้ง ตำลึง แครอท ฟักทอง มะลอกอสุก แอ๊ปเปิ้ล ซึ่งผักผลไม้เหล่านี้ยังให้กากใย มีผลดีต่อการกำจัดพิษที่คั่งค้างในร่างกายได้ด้วย

ผู้ที่ควรรับประทานเบต้าแคโรทีน ( Who should take Beta-carotene? ) 


1. ผู้ที่ต้องการดูแลผิวพรรณ ( Healthy skin concious )
เราพบว่าผิวพรรณของเราจะเป็นส่วนของร่างกายที่ดีที่สุด ที่จะทำให้เราทราบว่าอนุมูลอิสระมีผลต่อเราแล้วหรือยัง ? ผิวพรรณที่เริ่มเหี่ยวย่น ไม่ผ่องใส ขาดความชุ่มชื่น หรือไม่มีน้ำมีนวล สิ่งเหล่านี้บอกได้แล้วว่าความเสื่อมได้เริ่มมาเยือนท่านแล้ว และถ้าปล่อยปละละเลยต่อไป ก็จะทำให้ยากต่อการเยียวยารักษา และอาจจะแสดงผลต่อเนื่องกับอวัยวะที่เกี่ยวข้อง คือ เส้นผม และ เล็บ ตามมาด้วยเช่นกันในกลุ่มสตรีที่นิยมรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร พวกกรดไขมันจำเป็น กลุ่มโอเมก้า 3 หรือ โอเมก้า 6 อยู่เป็นประจำ เป็นระยะเวลานานๆ นั้น เราพบว่าอาจส่งผลให้เกิดขบวนการย่อยสลาย กรดไขมันในปริมาณสูง และพบว่าขบวนการดังกล่าว อาจส่งผลต่อเนื่องในเรื่องของกระแก่ จากปฏิกิริยาอ๊อกซิเดชั่นของเซลล์ แต่พบว่าหากรับประทานสารต้านการเกิดปฏิกิริยาอ๊อกซิเดชั่นร่วมกัน ผลต่อเนื่องดังกล่าวก็จะไม่ปรากฏขึ้น นอกจากนี้ เรายังพบว่าเบต้าแคโรทีน ยังส่งผลให้เซลล์ผิวพรรณที่สร้างขึ้นใหม่มีสุขภาพดีขึ้นด้วย

2. ผู้ที่ต้องการลดความเสี่ยงต่อภาวะมะเร็ง ( Cancer concious )
อย่างที่กล่าวข้างต้นแล้วว่า อนุมูลอิสระมีผลเกี่ยวข้องกับมะเร็งเนื้อร้าย ( Cancers ) การลดปริมาณอนุมูลอิสระ ก็จะเป็นการลดความเสี่ยงของมะเร็งนั่นเอง
นอกจากนี้เรายังพบว่า เบต้าแคโรทีน สามารถให้ผลกระตุ้นเซลล์ภูมิต้านทานในร่างกาย ที่ชื่อ ทีเฮลเปอร์เซลล์ ( T-helper Cell ) ให้มีประสิทธิภาพการทำงานต้านสิ่งแปลกปลอมได้ดีขึ้น จึงให้ผลดีกับผู้ที่มีความเสี่ยงต่อมะเร็งดังกล่าว

3. ผู้ที่ต้องการบำรุงสุขภาพของดวงตา ( Healthy Eye Concious )
อย่างที่ทราบแล้วว่า เบต้าแคโรทีน เมื่อโดนย่อยสลายที่ตับแล้ว จะได้วิตามิน เอ ซึ่ง>ร่างกายนำไปใช้สร้างสารโรดอฟซิน ( Rhodopsin ) ในดวงตา ส่วนเรตินา ( Retina ) ทำให้เรามีความสามารถในการมองเห็นในตอนกลางคืนได้ และนอกจากนั้น เบต้าแคโรทีน ยังลดความเสื่อมของเซลล์ของลูกตา 
( Eye ) และลดความเสี่ยงต่อการเป็นต้อกระจก ( Cataracts ) ด้วย 

4. ผู้ที่ต้องการชลอความแก่ ( Anti-aging )
เบต้าแคโรทีน จะให้ผลในการลดความเสื่อมของเซลล์ จากอนุมุลอิสระ ซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดขบวนการแก่ ดังนั้นหากเราลดสาเหตุดังกล่าวเสีย ความแก่ก็จะมาเยี่ยมเยือนเราได้ช้าลง
การรับประทานเบต้าแคโรทีนั้น หากต้องการรับประทานเพื่อบำรุงสุขภาพ ป้องกันความเสื่อม โดยทั่วไปสามารถทานได้ วันละ 4,000-5,000 IUs ( International Unit ) หากต้องการรับประทานเพื่อการรักษาภาวะความเสื่อมที่เป็นอยู่ สามารถทานได้ถึง 10,000-20,000 IUs ต่อวัน โดยให้อยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกรจะเป็นสิ่งที่ดีที่สุด 


สำหรับผลข้างเคียงที่อาจเป็นผลเสียต่อร่างกายจากเบตาแคโรทีน ขณะนี้ยังไม่พบ แม้จากการวิจัยพบว่าวิตามินเออาจเป็นพิษได้ถ้ารับประทานในปริมาณที่สูงกว่า 25,000 หน่วยสากล(IU) ต่อวัน แต่ไม่พบว่าเบต้าแคโรทีนมีความเป็นพิษ เมื่อรับประทานในปริมาณสูง ส่วนการมีปฏิกิริยากับสารอื่นไม่พบรายงานว่ามีปฏิกิริยาของเบต้าแคโรทีนกับยาสมุนไพร รวมทั้งผลิตภัณฑ์เสริมอาหารใดๆ

สุขภาพร่างกายของผู้คนในปัจจุบัน กำลังย่ำแย่ลงทุกขณะ ถึงเวลาที่ทุกคน ควรจะหันมาดูแลเอาใจใส่มากยิ่งขึ้น สิ่งหนึ่งที่มีส่วนสำคัญในการดูแลรักษาสุขภาพ คือ การรับประทานอาหารที่ให้
ประโยชน์ แก่ร่างกายอย่างสมดุล เป็นประจำสม่ำเสมอ ปัจจุบันมีการค้นพบอีกหนึ่งคุณค่าของสารอาหารธรรมชาติ ที่ให้ประโยชน์แก่ร่างกาย เป็นอย่างยิ่ง นั่นก็คือ "เบต้าแคโรทีน" (Beta Carotene) 


ข้อมูลที่ 5

แหล่งของเบต้าแคโรทีน จะพบได้ในผัก และผลไม้ที่มีสีส้ม เหลือง หรือ แดง เพราะเบต้าแคโรทีน คือ ตัวการทำให้พืชผัก และผลไม้มีสีสรรดังกล่าว เช่น แครอท ฟักทอง หน่อไม้ฝรั่ง ข้าวโพดอ่อน แตงโม แคนตาลูป มะละกอสุก และผักที่มีสีเขียว เช่น บรอคโคลี มะระ ผักบุ้ง ต้นหอม ผักคะน้า ผักตำลึง เป็นต้น (เหตุที่มีสีเขียวเพราะสีของเบต้าแคโรทีนถูกสีเขียวของคลอโรฟิลล์บดบัง) เมื่อเบต้าแคโรทีนเข้าสู่ร่างกาย จะถูกเปลี่ยนให้เป็น วิตามินเอ โดยเอมไซม์ในลำไส้ ในปริมาณที่ร่างกายต้องการ ซึ่งปกติเบต้าแคโรทีน 6 หน่วย จะสามารถเปลี่ยน ให้เป็นวิตามินเอได้ 1 หน่วย เบต้าแคโรทีนนั้น มีประโยชน์ต่อร่างกาย และผิวพรรณ อย่างมาก คือ ช่วยให้มองเห็นในที่มืดได้ดี ช่วยป้องกันผิวที่อาจเกิดจากอันตรายของ รังสีอัลตราไวโอเลต ที่มากับแสงแดดได้ จึงทำให้ผิวพรรณมีสุขภาพดี ไม่มีริ้วรอยแก่ก่อนวัย แลดูสดใสอยู่เสมอ นอกจากนี้ยังช่วยรักษาสภาพปกติของ เซลล์เยื่อบุตาขาว กระจกตา ช่องปาก ทางเดินอาหาร ทางเดินหายใจ รวมถึงทางเดินปัสสาวะให้เป็นปกติ และยังช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกัน ของร่างกายทำงานได้ดีอีกด้วย

Saturday 26 March 2011

Spirulina

ข้อมูลที่ 1


สไปรูลิน่า หรือ สาหร่ายเกลียวทอง คือ โปรตีน ที่ประกอบด้วยกรดอะมิโนหลายชนิดในสัดส่วนที่เหมาะสมในสาหร่ายเกลียวทองนั้นมีคุณค่าทางอาหารเหนือกว่าอาหารชนิดอื่น คือมีปริมาณโปรตีนถึงกว่า 65% ของน้ำหนักแห้ง ซึ่ง สูงกว่าปริมาณโปรตีนที่มีในเนื้อสัตว์หรือในไข่ถึง 3/2 เท่า ถือว่า สาหร่ายเกลียวทอง เป็นอาหารพิเศษที่ประกอบด้วยเนื้อโปรตีนแท้ๆ นอกจากนี้ยังประกอบด้วย คลอโรฟิลล์ และ ไฟโคไซยานิน จำนวนมาก มีโปรวิตามิน ซึ่งเป็นสารที่เปลี่ยนเป็นวิตามินเอได้ ซึ่งเป็น คุณสมบัติเฉพาะของสาหร่ายเกลียวทอง จะเห็นว่าสาหร่ายเกลียวทอง มีสีเขียวแกมน้ำเงิน และรวมไปถึงทั้งกรดอะมิโนที่ร่างกายต้องการ เราลองมาดูตารางเปรียบเทียบ สาหร่ายเกลียวทอง (แห้ง) เปรียบเทียบปริมาณ โปรตีน

                                          ปริมาณโปรตีน

สาหร่ายเกลียวทอง            60 - 71%
เนื้อวัว                                 18 - 20%
ไข่                                       10 - 25%
ข้าวสาลี                               6 - 10%
ข้าวเจ้า                                 7%
ถั่วเหลือง                              33 - 35%
ปลาทู ปลาอินทรี                  20%

นอกจากนั้น สาหร่ายเกลียวทอง ยังประกอบไปด้วย กรดอะมิโน ที่จำเป็นต่อร่างกาย ดังที่กล่าวไปแล้วข้างต้น ซึ่งในสาหร่ายเกลียวทอง มี กรดอะมิโน ทั้ง 18 ชนิด ที่ร่างกายต้องการดังนี้คือ
  1. ไอโซลิวซีน จำเป็นสำหรับการเจริญเติบโต และพัฒนาการเรียนรู้ (IQ)
  2. ลิวซีน กระตุ้นการทำงานของสมอง เพิ่มกำลังให้กล้ามเนื้อ ช่วยให้เซลล์ประสาทแข็งแรงขึ้น
  3. ไลซีน ทำให้ระบบเส้นเลือดแดงแข็งแรง ควบคุมการเจริญเติบโตของเซลล์
  4. เมไทโอนีน บำรุงรักษาตับ ต้านความเครียด ทำให้ประสาทผ่อนคลาย
  5. เฟนนิลอะลานีน ใช้สร้างไทรอกซิน กระตุ้นกอัตราการย่อย และสลายอาหารเพื่อเป็นพลังงาน
  6. ทรีโอนีน ทำให้ลำไส้ทำงานดีขึ้นเพิ่มการดูดซึม
  7. แวลี ช่วยกระตุ้นความจำ
  8. อะลานีน ทำให้ผนังเซลล์แข็งแรง
  9. แอสพาร์ติก ช่วยเปลี่ยนแป้งให้เป็นน้ำตาล
  10. อาร์จินีน เป็นส่วนประกอบของน้ำเชื้อเพศชาย และช่วยในการกำจัดสารพิษ
  11. ทริพโตเฟน ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของวิตามินบี จิตใจเยือกเย็นสงบ
  12. กลูตามิก นำกลูโคสเข้าสู่เซลล์สมอง ช่วยลดพิษอัลกอฮอล์ และช่วยทำให้มีสติ
  13. อีสติตีน ช่วยให้การส่งผ่านความรู้สึกของระบบประสาทดีขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องหู
  14. ซีลีน ช่วยในการสร้างเยื่อหุ้มรอบเส้นประสาท เพื่อป้องกันอันตรายในเส้นประสาท
  15. ซีสทีน บำรุงตับอ่อน ช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือด
  16. โปรตีน เป็นสารต้นตอของกลูตามิกแอซิด
  17. กลัยซีน เพิ่มพลังงานและการใช้ออกซิเจนของเซลล์
  18. ไทโรซีน ชะลอความแก่ของเซลล์
ในประเทศสหรัฐอเมริกายังไม่เคยมีการศึกษาทดลองใช้สาหร่ายเกลียวทอง และศึกษาผลของสาหร่ายเกลียวทองที่มีต่อสุขภาพของมนุษย์ ถึงแม้จะเป็นที่ยอมรับมาเป็นเวลานานแล้วว่าสาหร่ายเกลียวทองมีคุณค่าทางโภชนาการอย่างยิ่งก็ตามในทางกลับกัน แพทย์ชาวญี่ปุ่นและเม็กซิกันกลับให้ความสนใจ อย่างลึกซึ้งในการนำสาหร่ายเกลียวทองไปใช้เสริมสร้างสุขภาพที่ดีให้แก่มนุษย์

การศึกษาวิจัยส่วนใหญ่แสดงให้เห็นว่าสาหร่ายเกลียวทองเป็นสิ่งที่ใช้เสริมการรักษาของแพทย์ และให้ผลดีโดยเฉพาะในกลุ่มคนไข้ที่มีภาวะทุพโภชนาการเรื้อรังเป็นสาเหตุของโรค อย่างไรก็ดี มีตัวอย่างบางกรณีที่แสดงถึงความสามารถของสาหร่ายเกลียวทองในการทำให้เกิดการรักษาตนเอง ที่ทำให้เราทราบว่ามีเรื่องที่มนุษย์ยังไม่ล่วงรู้อีกมากมายเกี่ยวกับคุณสมบัติต่างๆ ของสาหร่าย

ขณะนี้องค์การอาหารและยาได้จัดสาหร่ายเกลียวทองเป็นเพียงผักชนิดหนึ่งเป็นอาหารเหมือนเช่นอาหารที่รับประทานทั่วไป ดังนั้นจึงไม่ควรที่จะแอบอ้างสรรพคุณในการรักษาโรค แต่อาหารที่ดีก็เปรียบเสมือนยาวิเศษ สำหรับผู้ป่วยควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์ ควบคู่ไปกับการใช้ยาแผนปัจจุบัน ซึ่งสาหร่ายเกลียวทองจะช่วยเสริมและขยายอำนาจ การรักษาของยานอกจากนี้ยังเหมาะสำหรับผู้ที่มีสุขภาพดีอยู่แล้วเพื่อเป็นปราการในการป้องกันโรค หรือผู้ที่มีสภาพต่างๆ ดังนี้ เช่น
  • เหนื่อยง่าย
  • เป็นหวัดง่าย 
  • วิงเวียนศรีษะอยู่เสมอ
  • รู้สึกเจ็บถึงกระดูกเมื่อกดเนื้อเบาๆ 
  • หญิงมีครรภ์ กินผัก
  • กินผักสีเขียวหรือผักสีเหลืองไม่เพียงพอ 
  • ไม่รับประทานอาหารเช้า
  • กำลังอดอาหารเพื่อลดความอ้วน
  • ไม่ชอบรับประทานอาหารชนิดใดชนิดหนึ่งอย่างรุนแรงจนก่อให้เกิดอาการขาดสารอาหาร
  • มีอาารท้องผูกเป็นประจำ
อาการผิดปกติในร่างกายที่ทำให้เกิดโรคนั้นมีหลายอย่างและกว่า 90% ของอาการผิดปกตินั้นเกิดจากการรับประทานอาหารที่บกพร่องไม่เพียงพอหรือไม่ถูกส่วน

ข้อมูลที่ 2
สาหร่ายเกลียวทอง คือ สาหร่ายหลายเซลล์ สีเขียวแกมน้ำเงิน ที่อุดมด้วยคุณค่าทางสารอาหารครบ 5 หมู่ เพียบพร้อมด้วยวิตามินและเกลือแร่ที่ร่างกายต้องการ ย่อยสลาย และดูดซึมง่าย เซลล์ต่าง ๆ ของร่างกายสามารถนำไปใช้ได้อย่างรวดเร็วและไม่มีผลข้างเคียงเมื่อรับประทานติดต่อกันเป็นเวลานาน

        สาหร่ายเกลียวทอง หรือ สาหร่ายสไปรูลิน่า (spirulina) การค้นคว้าของ นักวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับสาหร่ายเริ่มมากขึ้นเมื่อพบว่า มีสาหร่ายบางชนิดมนุษย์ได้ใช้เป็นอาหารมานานกว่า 500 ปี ใน ค.ศ. 1521 (พ.ศ. 2064) ได้มีการรายงาน ซึ่งพบจากบันทึกของกองทัพคอร์ตเตส (Cortez's Troops) ว่าชาวเม็กซิกัน กินอาหารเป็นพวกสาหร่ายชนิดหนึ่งโดยชาวพื้นเมืองปลูกในทะเลสาบ (Lake Texcoco) เก็บมาตากแห้งแล้วนำมาขายในตลาดเพื่อใช้เป็นอาหาร ในยุคของการตื่นตัวเรื่องสุขภาพ และความระมัดระวังที่จะเลือกอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ ทำให้มีการศึกษาในหลายสถาบันเพื่อให้ได้อาหารที่เป็นอุดมคติของนักโภชนาการ นำมาซึ่งการค้นพบสาหร่าย พืชขนาดจุลินทรีย์ชนิดหนึ่ง ซึ่งเรียกชื่อต่อมาว่า สไปรูลิน่าSpirulina 

สารอาหารในสหร่ายเกลียวทอง
 เป็นที่น่าทึ่งมากว่า สาหร่ายเกลียวทอง ประกอบด้วยสารอาหารหลากหลายทีทรงคุณค่ามากกว่าเนื้อสัตว์ และพืชชนิดอื่น ๆ เปรียบเสมือน โรงงานผลิตอาหารของโลกเลยทีเดียว
  • มีโปรตีนซึ่งสูงกว่า เนื้อ นม ไข่ ถึง 3 เท่า
  • มีกรดอะมิโนครบถ้วน 18 ชนิด และเรียงตัวกันอย่างสมดุล
  • อุดมไปด้วยวิตามิน B1,  B2,  B6,  B12 , C , E และ  H  ซึ่งวิตามิน B12 มีมากกว่าในตับ ถึง 250%
  • มีเบต้าแคโรทีนมากกว่าแครอทถึง 20 เท่า
  • มีธาตุเหล็กมากกว่าอาหารชนิดอื่น ๆ ถึง 12 เท่า
  • มีซีลีเนียม สังกะสี และธาตุอื่น ๆ ที่จำเป็นต่อร่างกายครบถ้วน
  • มีกรดไขมันแกมมาไลโนเลนิก ที่ช่วยลดคลอเลสเตอรอลในเส้นเลือดมากถึง170 เท่าของที่มีในน้ำมันพืช
  • มีคลอโรฟิลล์ในปริมาณที่มากกว่าพืชชนิดใด ๆ และมากกว่า วีตกราส ถึง 2 เท่า
ทำไมต้องรับประทานสหร่ายเกลียวทอง
  • คุณแน่ใจหรือว่าอาหารทุกมื้อที่คุณรับประทานมีคุณค่าครบ 5 หมู่ ?
  • คุณมีเวลาพอที่จะใส่ใจกับอาหารทุกมื้อของคุณหรือไม่ ?
  • อาหารที่คุณรับประทานปราศจากสารพิษและยาฆ่าแมลงแล้วหรือ ?
  • คุณหรือคนที่คุณรักมีอัตราเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็ง เบาหวาน โรคหัวใจ
  • โรคตับ คลอเลสเตอรอลในเลือดสูง กระเพาะอาหาร ฯลฯ หรือไม่ ?
สาหร่ายเกลียวทองสร้างภูมิคุ้มกัน

จากโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง (HIV) มาจนถึงไข้หวัดนกกลายพันธุ์ ทำให้นักวิจัยทั่วโลกหันมาสนใจสาหร่ายเกลียวทองเริ่มจากนักวิจัยรัสเซียยืนยันว่าแม้ เซลล์ตั้งต้น (STEM CELL) ของกระดูกไขสันหลังจะถูกทำลายโดยสารกัมมันตภาพรังสีจนไม่สามารถผลิตเม็ดเลือดขาวได้ ไฟโคไซยานิน  สารสีน้ำเงินในสาหร่ายเกลียวทองสามารถช่วยให้มีการผลิตเม็ดเลือดขาวและเม็ดเลือดแดงได้อีกนักวิจัยของจีนก็ยืนยันอีกว่า น้ำตาลเชิงซ้อน ในสาหร่ายเกลียวทอง สร้างภูมิคุ้มกันได้จริง ผลการวิจัยของอีกหลายสำนักรวม ทั้งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดยืนยันว่า สารสกัดจาก สาหร่ายเกลียวทองสามารถหยุดการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสเอดส์ได้

วิตามินดี

วิตามินดี (CALCIFEROL หรือ ERGOSTEROL) เป็นวิตามินที่ร่างกายต้องการเพื่อการรักษาภาวะสมดุลของระดับแคลเซียมในเลือดและในกระดูก เมื่อร่างกายได้รับแสงแดด ร่างกายสามารถสร้างวิตามินดีได้เมื่อผิวหนังได้รับแสงแดด ในกรณีที่ไม่ถูกแดด จำเป็นจะต้องได้รับวิตามินดีจากอาหารให้มากขึ้น เมื่อได้รับแสงแดดพอ ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเสริมด้วยการรับประทานวิตามินดีในรูปวิตามินรวม หรือรับประทานอาหารที่มีการเสริมด้วยวิตามินดี

วิตามินดีที่เข้าร่างกายจะถูกนำไปเก็บที่ตับเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้จะเก็บที่ผิวหนัง สมอง ตับอ่อน กระดูก และลำไส้ได้ วิตามินดีจะเสียง่ายเมื่อถูกออกซิเดชัน ละลายในตัวทำลายไขมันและไม่ละลายน้ำอาหารที่มีวิตามินดีพบได้ทั้งในพืชผัก ผลไม้ และในเนื้อเยื่อของสัตว์แต่ดูเหมือนจะเป็นวิตามินชนิดเดียวที่มีอยู่น้อยมากในพืชและผัก ที่พบมากได้แก่ น้ำมันตับปลา ไขมัน นม เนย ตับสัตว์ ตับปลาคอด (COD) ปลาทู ไข่แดง ปลาแซลมอน ปลาซาดีน ปลาแมคเคอร์เรก
วิตามินดีช่วยในการดูดซึมแคลเซียมและฟอสฟอรัส มีความสำคัญในการสร้างกระดูกและฟันและการเจริญเติบโตตามปกติของเด็ก,วิตามินดีมีผลต่อการดูดซึมกลับของกรดอะมิโนที่ไต ,ช่วยสังเคราะห์น้ำย่อยใน mucous membrane ,ควบคุมปริมาณของแคลเซียมและฟอสฟอรัสในกระแสโลหิตไม่ให้ต่ำลงจนถึงขีดอัตราย ,เกี่ยวข้องกับการใช้ฟอสฟอรัสในร่างกาย ,ช่วยสังเคราะห์ Mucopolysaccharide ซึ่งเป็นสารที่จำเป็นในการสร้าง คอลลาเจน,เกี่ยวข้องกับการใช้เกลือซิเตรทในร่างกายอาจจำเป็นในการทำงานของระบบประสาท การเต้นของหัวใจ การแข็งตัวของเลือด
ถ้าขาดวิตามินดีทำให้เกิดโรคกระดูกอ่อนในเด็กเรียก Rickets และในผู้ใหญ่เรียกว่า Osteosarcoma มีปัญหาเกี่ยวกับการดูดซึมแคลเซียมเข้าร่างกาย รูปร่างจะไม่สมประกอบ น้ำหนักลด ฟันผุ เติบโตช้า กระดูกสันหลังโก่ง ข้อมือ เข่า และกระดูกข้อเท้าโต ความต้านทานต่อโรคต่าง ๆ ลดน้อยลง เช่นหวัด ปอดบวม วัณโรค กล้ามเนื้ออ่อนกำลังขาดความคล่องแคล่ว ว่องไว ไม่กระฉับกระเฉง ไม่มีความกระปรี้กระเปร่า กล้ามเนื้อกระตุก ถ้าได้รับวิตามินดีมากเกินไป ทำให้ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน เบื่ออาหาร ปัสสาวะมากผิดปกติและบ่อย กล้ามเนื้อไม่มีแรง รู้สึกเหนื่อยอ่อน มีหินปูนเกาะตามอวัยวะหรือเนื้อเยื่อของหัวใจ ผนังเส้นเลือดและปอด แต่อาการเหล่านี้นั้นจะหายภายใน 2 - 3 วันหลังจากหยุดวิตามิน

ข้อมูลทั่วไป
วิตามินดี จัดอยู่ในกลุ่มวิตามินจำพวกละลายไขมัน ร่างกายได้รับวิตามินดีสองทางด้วยกันคือ รับประทานเข้าไปแล้วซึมในร่างกายทางลำไส้ และโดยการที่ผิวหนังได้รับแสงแดดแล้วแสงอุลตราไวโอเลตจากแสงอาทิตย์จะไปกระตุ้นคอเลสเตอรอลชนิดที่อยู่ในผิวหนังให้เปลี่ยนเป็นวิตามินดี โดยตับและไตจะเปลี่ยนให้เป็นวิตามินที่มีฤทธิ์แล้วซึมเข้ากระแสโลหิตเลย ส่วนวิตามินดีที่ได้จากอาหารจะซึมเข้าลำไส้ไปพร้อม ๆ กับอาหารพวกไขมันโดยการช่วยย่อยของน้ำดี วิตามินดีที่เข้าร่างกายแล้วทั้งสองทางจะถูกนำไปเก็บที่ตับเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้จะเก็บที่ผิวหนัง สมอง ตับอ่อน กระดูก และลำไส้ได้
วิตามินดี เป็นวิตามินที่ร่างกายต้องการเพื่อการรักษาภาวะสมดุลของระดับแคลเซียมในเลือดและในกระดูก เมื่อร่างกายได้รับแสงแดด ร่างกายสามารถสร้างวิตามินดีได้เมื่อผิวหนังได้รับแสงแดด ในกรณีที่ไม่ถูกแดด จำเป็นจะต้องได้รับวิตามินดีจากอาหารให้มากขึ้น เมื่อได้รับแสงแดดพอ ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเสริมด้วยการรับประทานวิตามินดีในรูปวิตามินรวม หรือรับประทานอาหารที่มีการเสริมด้วยวิตามินดี
คุณสมบัติ
- วิตามินดีที่บริสุทธิ์จะมีสีขาว เป็นผลึกที่ไม่มีกลิ่น ซึ่งสามารถละลายได้ในไขมันและตัวทำละลายไขมันไม่ละลายในน้ำ จะคงทนต่อความร้อน (140 องศาเซลเซียส) คงทนต่อการออกซิเดชั่น กรดและด่างอ่อน แต่เสียง่ายเมื่อถูกอัลตราไวโอเลต - ส่วนพวกสารแรกเริ่มของวิตามินดีจะเสียง่ายเมื่อถูกออกซิเดชั่น ละลายในตัวทำลายไขมันและไม่ละลายน้ำเช่นเดียวกับวิตามินดี

ชนิดของวิตามินดี
วิตามินดีเป็นกรุ๊ปทางเคมีของสารประกอบพวก สเทอรอล ซึ่งมีคุณสมบัติป้องกันโรคกระดูกอ่อน วิตามินดีจะถูกสร้างโดยฉายแสงอัลตราไวโอเลตบนสารแรกเริ่ม รูปแบบของวิตามินดีมีประมาณ 10 หรือมากกว่า แต่มีเพียง 2 รูป ที่เกี่ยวข้องกับทางโภชนาการ
วิตามินดีสอง (ergocalciferol or calciferor or vitamin D2) สารแรกเริ่มคือ เออร์โกสเทอรอล (ergosterol) พบในยีสต์ เห็ด และพืช เมื่อได้รับแสงอัลตราไวโอเลต ในช่วงความถี่ 230 นาโนเมตร (nm) จะสามารถเปลี่ยนเป็นออร์โกแคลซิเฟอรอล หรือวิตามินดีสองได้
วิตามินดีสาม (cholecalciferol or activeted 7 dehydrocholesterol or vitamin D3) จะพบในเซลล์ของคนและสัตว์ โดยผิวหนังมีสาร 7-ดีไฮโดรคอเลสเทอรอล เมื่อถูกแสงอัลตราไวโอเลต จากแสงแดด หรือจากเครื่องมือ ในช่วงความถี่ 275-300 นาโนเมตร (nm) จะสามารถเปลี่ยนเป็นคอลีแคลซิเฟอรอล (cholecalciferol) หรือวิตามินดีสามได้ การเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นบนผิวหนังในชั้น กรานูโลซัม (granulosum) 7- ดิไฮโดรคอลเลสเทอรอลสามารถสร้างขึ้นได้จากคอเลสเทอรอลที่ผนังลำไส้เล็กแล้วส่งผ่านไปยังผิวหนัง

จำนวนวิตามินดีที่เกิดขึ้นนี้ขึ้นกับสิ่งสำคัญ 2 อย่างคือ
จำนวนแสง U.V. จากแสงแดดตอนเช้า ฤดูอาจได้ไม่ถึง 1 ชม. ฤดูร้อนกลางวัน อาจได้แสงถึง 4 ชม. - แสง U.V. นี้ไม่สามารถผ่านหมอกควัน ฝุ่นละออง กระจก หน้าต่าง ม่านกั้นประตูหน้าต่าง เสื้อผ้าและสีของผิวหนัง ( melanin) จากการศึกษา ปริมาณของ วิตามินดีในเลือดที่ได้จากการสังเคราะห์จะเปลี่ยนไปตามฤดูกาลในฤดูร้อนความเข้มข้น ของ วิตามินดีในเลือดจะสูงกว่าในฤดูหนาว

ประโยชน์ต่อร่างกาย
วิตามินดีช่วยในการดูดซึมแคลเซียมและฟอสฟอรัส มีความสำคัญในการสร้างกระดูกและฟันและการเจริญเติบโตตามปกติของเด็ก
วิตามินดีมีผลต่อการดูดซึมกลับของกรดอะมิโนที่ไต ถ้าขาดวิตามินดี กรดอะมิโนในปัสสาวะจะเพิ่มขึ้น ถ้าวิตามินดีเพียงพออัตราการดูดซึมกลับกรดอะมิโนจะปกติ และในปัสสาวะจะลดปริมาณลง
ช่วยสังเคราะห์น้ำย่อยใน mucous membrane ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้าย แบบ active transport ของแคลเซียมให้ข้ามเซลล์ไปได้ง่าย
ควบคุมปริมาณของแคลเซียมและฟอสฟอรัสในกระแสโลหิตไม่ให้ต่ำลงจนถึงขีดอันตราย เช่น แคลเซียมจะต้องอยู่ในเลือดประมาณ 7 มิลลิกรัม/เดซิลิตร โดยวิตามิน ดีจะกระตุ้นการดูดแคลเซียมในลำไส้เพราะมิฉะนั้นแคลเซียมจะถูกขับออกจากร่างกายไปหมด และวิตามิน ดี จะกระตุ้นการนำเอาฟอสฟอรัสมาใช้ โดยทำหน้าที่กระตุ้นตลอดเวลา
เกี่ยวข้องกับการใช้ฟอสฟอรัสในร่างกาย
ช่วยสังเคราะห์ Mucopolysaccharide ซึ่งเป็นสารที่จำเป็นในการสร้าง คอลลาเจน
เกี่ยวข้องกับการใช้คาร์โบไฮเดรต
เกี่ยวข้องกับการใช้เกลือซิเตรทในร่างกาย
หน้าที่โดยทางอ้อมก็คือ วิตามินดีจำเป็นในการทำงานของระบบประสาท การเต้นของหัวใจ การแข็งตัวของเลือด เพราะหน้าที่เหล่านี้จะสัมพันธ์กับการมีอยู่และการใช้แคลเซียมและฟอสฟอรัส ของร่างกาย

แหล่งที่พบ
พบได้ทั้งในพืชผัก ผลไม้ และในเนื้อเยื่อของสัตว์แต่ดูเหมือนจะเป็นวิตามินชนิดเดียวที่มีอยู่น้อยมากในพืชและผัก ที่พบมากได้แก่ น้ำมันตับปลา ไขมัน นม เนย ตับสัตว์ ตับปลาคอด (COD) ปลาทู ไข่แดง ปลาแซลมอน ปลาซาดีน ปลาแม็คเคอร์เรก
นมเป็นอาหารที่นิยมเสริมวิตามินดี เพราะเป็นอาหารที่มี แคลเซียม ฟอสฟอรัสและไขมัน ที่จะช่วยเพิ่มอัตราการดูดซึมจากลำไส้เล็ก ปริมาวิตามินดีที่เสริม คือ 400 IU ต่อลิตร
ปริมาณของวิตามินดีในอาหารอาจเปลี่ยนแปลงได้มากตามฤดูกาล และภาวะแวดล้อมต่างๆ เช่น การถูกแสงแดดมากหรือน้อย อาหารที่ใช้เลี้ยงสัตว์มีวิตามินดีมากหรือน้อยเพียงใด เป็นต้น

ปริมาณที่แนะนำ
ในการที่บุคคลต่าง ๆ ควรได้รับปริมาณวิตามิน ดี มากน้อยเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับสาเหตุหลายประการ เช่น ไขมันในอาหาร การสร้างน้ำดีจากตับ การดูดซึมของระบบทางเดินอาหาร ความบ่อยครั้งในการถูกแสงแดดและขึ้นอยู่กับปริมาณของสารมีสี และ เคราตินที่มีอยู่ที่ผิวหนัง ถ้าผิวขาวมีสารมีสีน้อย แสงอัลตราไวโอเลตจากดวงอาทิตย์สามารถผ่านเข้าไปในชั้น Granulosum ของผิวหนังได้มาก ทำให้ 7 - dehydrocholesterol ซึ่งมีอยู่มากในชั้นนี้ถูกเปลี่ยนเป็นวิตามิน ดี สามได้มาก ถ้าผิวเหลืองเนื่องจากมีเคราตินมากหรือผิวดำเพราะมีสารมีสีมาก แสงอัลตราไวโอเลตจะผ่านเข้าไปได้น้อยทำให้มีการสังเคราะห์วิตามิน ดีสามที่ผิวหนังน้อย
วิตามิน ดี 2.5 ไมโครกรัม (100 ไอยู) สามารถป้องกันโรคกระดูกอ่อนและช่วยให้มีการดูดซึมของแคลเซียมในลำไส้อย่างเพียงพอสำหรับการสร้างความเจริญเติบโตของกระดูกและฟันในทารก แต่การกินวันละ 10 ไมโครกรัม (400 ไอยู) นั้นช่วยส่งเสริมการดูดซึมให้ดียิ่งขึ้น
ทารก 10 ไมโครกรัม
เด็ก 10 ไมโครกรัม
ผู้ใหญ่ 20 - 29 ปี 7.5 ไมโครกรัม
30 - 60 ปี (หรือมากกว่า) 5 ไมโครกรัม
หญิงมีครรภ์ +5 ไมโครกรัม
หญิงให้นมบุตร +5 ไมโครกรัม

ผลของการได้รับมากไป
พบในรายที่บริโภค 300,000 - 800,000 I.U ต่อวันเป็นระยะเวลานาน วิตามิน ดี ประมาณ 30,000 I.U ต่อวัน หรือมากกว่านี้จะทำให้เป็นอันตราย สำหรับทารกและประมาณ 50,000 I.U ต่อวัน จะเป็นอันตรายสำหรับเด็ก อาการเริ่มต้นด้วยคลื่นไส้อาเจียนท้องเดินปัสสาวะมากกว่าปกติ ทั้งกลางวันและกลางคืน กระหายน้ำจัด น้ำหนักตัวลด มีการสลายแคลเซียมออกมาจากกระดูกและมีการดูดซึมแคลเซียมจากลำไส้เพิ่มขึ้น ทำให้มีแคลเซียมและฟอสฟอรัสในเลือดและในปัสสาวะสูง ซึ่งแคลเซียมและฟอสฟอรัสที่มีในเลือดอาจไปจับอยู่ตามเนื้อเยื่อต่าง ๆ รวมทั้งหลอดเลือดทำให้เป็นอันตรายได้ นอกจากนี้ในรายที่เป็นมากอาจถึงตาย เพราะมีการล้มเหลวของไต ส่วนในรายที่ยังเป็นไม่มากนัก เพียงหยุดให้วิตามิน อาการต่างๆจะหายไป
อาการที่เกิดเนื่องจากร่างกายได้รับวิตามินดีมากเกินไป หรืออาการที่จำเป็นต้องสังเกตขณะที่รับประทานวิตามินดี คือปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน เบื่ออาหาร ปัสสาวะมากผิดปกติและบ่อย กล้ามเนื้อไม่มีแรง รู้สึกเหนื่อยอ่อน มีหินปูนเกาะตามอวัยวะหรือเนื้อเยื่อของหัวใจ ผนังเส้นเลือดและปอด แต่อาการเหล่านี้นั้นจะหายภายใน 2 - 3 วันหลังจากหยุดวิตามิน
เป็นที่น่าสนใจที่เด็กสามารถสร้างวิตามินมากเกินปกติได้ ซึ่งจะพบในเด็กที่ดื่มนมผสม (Fortified Milk) อาการเช่นนี้อาจทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนกับยาอื่น ๆ ได้ อาการอีกอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นถึงแม้ว่าเด็กได้รับวิตามินดี ในขนาดธรรมดา ซึ่งเป็นสิ่งที่ชี้นำให้ทราบว่าเด็กมีแคลเซียมมากในร่างกาย (Hypercalcemia) และวิตามินในร่างกายมากเกินความต้องการแล้ว สำหรับผู้ใหญ่ที่เป็นโรคปวดตามข้อ รูมาตอยด์ อาไทรติส (Rheumatoid arthritis) ถ้ารับประทานวิตามิน ดีเกินขนาดทำให้มีแคลเซียมไปเกาะที่ผนังเส้นโลหิตแดง ซึ่งจะทำให้ไตปฏิบัติหน้าที่ไม่เป็นปกติ และทำให้ความดันโลหิตสูงด้วย
นายแพทย์ Arthur A.Knapp ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับตา ชาวอเมริกา ได้ทำการค้นคว้าเกี่ยวกับวิตามินดี กับตา บอกว่าการที่คนได้รับวิตามิน ดีไม่พอจะทำให้เกิดสายตาสั้น (MYOPIA) และจุดใหญ่แล้วเนื่องจากความไม่สมดุลของแคลเซียม

ข้อมูลอื่นๆ
การดูดซึม วิตามินดีที่บริโภคเข้าไปจะถูกดูดซึมพร้อมกับไขมันผ่านผนังลำไส้เล็กตรงส่วนของลำไส้เล็กตอนกลางและตอนปลาย โดยการช่วยเหลือของน้ำดี เออร์โกสเทอรอลและสารสเทอรอลอื่นๆ จากพืช ถูกดูดซึมได้ไม่ดีจากลำไส้แต่ถ้าเป็น เออร์โกสเทอรอล ที่ได้อาบแสงอัลตราไวโอเลตหรือแสงแดด และเปลี่ยนไปเป็นวิตามินดี ที่ผิวหนังจะดูดซึมได้ดีที่ลำไส้เล็กผ่านเข้าไปในระบบหมุนเวียน เนื่องจากวิตามินดี เป็นอินทรีย์สารที่ละลายได้ดีในไขมันฉะนั้นการดูดซึมจะดีเลวเพียงใดจึงขึ้นอยู่กับ ปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดูดซึมไขมันรวมทั้งต้องมีปริมาณของเกลือน้ำดี อย่างเพียงพอ จึงจะดูดซึมได้ดีด้วย แต่ถ้าหากมีความผิดปกติใดๆ ที่รบกวนการดูดซึมไขมัน เช่น ตับอ่อนอักเสบ ภาวะการดูดซึมผิดปกติ หรือการเป็นโรคสปรู (Sprue) ที่ร่างกายต้องสูญเสียไขมันทางอุจจาระมาก ล้วนเป็นสาเหตุทำให้การดูดซึมวิตามินดีน้อยลง นอกจากนี้สีของผิวหนังจะเป็นปัจจัยหนึ่งในการดูดซึมแสงอัลตราไวโอเลต ถ้าผิวหนังมีสารมีสีมาก แสงจะผ่านไปได้น้อย ทำให้วิตามินดี ถูกสร้างขึ้นน้อย เช่น ในคนผิวดำมีสารมีสีมาก หรือคนผิวเหลืองที่มี เคราติน มาก
หลังจากที่ถูกดูดซึมที่ลำไส้เล็กแล้วหรือสร้างขึ้นบนผิวหนัง วิตามินดี จะถูกส่งเข้าระบบน้ำเหลืองในรูปของ Chylomicron จากนั้นจึงเข้าสู่กระแสเลือดไปยังตับ
วิตามินดี กระจายอยู่ทั่วไปในเนื้อเยื่อต่างๆ เช่น ที่ผิวหนัง สมอง ปอด ม้ามและกระดูก แต่ก่อนเข้าใจว่าตับเป็นแหล่งแรกสำหรับเก็บสะสมวิตามินดี ไว้เป็นเวลานานๆ ปัจจุบันนี้พบว่าแหล่งแรกของการเก็บ วิตามินดี ไม่ใช่ตับแต่เป็น Fat depots ดังนั้นจึงพบวิตามินดีมีอยู่ในเนื้อเยื่อไขมัน
ตับของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมรวมทั้งคนเก็บวิตามินดีไว้จำนวนจำกัดและมีปริมาณน้อยกว่าตับปลา แต่ก็เพียงพอสำหรับการขาดวิตามินในระยะ 1 - 2 เดือนแรก
ทารกที่คลอดใหม่ๆ ยังไม่มีการเก็บสำรองวิตามินนี้ ถ้าได้รับอาหารที่มีวิตามินดีไม่เพียงพอจะทำให้เป็นโรคกระดูกอ่อนได้ง่าย
วิตามินดีถูกขับออกเล็กน้อยทางน้ำดี ส่วนใหญ่ของวิตามินดีที่ขับออกมาจะถูกดูดกลับเข้าไปใหม่ในลำไส้ สำหรับพวกวิตามินดี metabolite จะถูกขับถ่ายส่วนใหญ่ทางน้ำดี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

Ginkgo (แปะก๊วย)



แปะก๊วย (จีน: 银杏 , (ญี่ปุ่น: イチョウ ?)) เป็นพืชสมุนไพรที่มีต้นกำเนิดจากทางตะวันออกของประเทศจีน (แถบภูเขาด้านตะวันตกของนครเซี่ยงไฮ้) ที่มีการแยกต้นเป็นเพศผู้ และเพศเมีย ใบมีลักษณะคล้ายใบพัด แยกออกเป็น 2 กลีบพบว่ามีการนำเข้าไปปลูกในประเทศญี่ปุ่น พร้อมกับการเผยแผ่ศาสนาพุทธนิกายเซน เมื่อประมาณ ช่วงราวค.ศ. 1300 หรือสมัยคามากุระมีลักษณะพิเศษคือจะผลัดใบไม่พร้อมกันทุกต้น แต่เมื่อผลัดใบ ใบจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองแล้วร่วงหล่นทั้งต้นภายในไม่กี่วัน

แปะก๊วยเป็นพืชที่มีชีวิตอยู่เมื่อ 270 ล้านปีก่อน ถือกำเนิดขึ้นในยุคเพอร์เมียน เมื่อประมาณ 290 ล้านปีมาแล้ว และมีชีวิตต่อมาในมหายุคมีโซโซอิก ในสมัยเดียวกับไดโนเสาร์ จึงเป็นอาหารของไดโนเสาร์กินพืช

สำหรับชื่อตามความหมายแปลว่า "ลูกไม้สีเงิน" ซึ่งดั้งเดิม ในภาษาจีนเรียกว่าต้น "หยาเจียว" ซึ่งแปลว่าตีนเป็ดจากลักษณะใบ (นกเป็ดน้ำเป็นสัญลักษณ์ดีหมายถึงความรักของในจีน และในญี่ปุ่น) ต่อมามีการเรียกชื่อผลของมันว่าลูกไม้สีเงิน หรือ ลูกไม้สีขาว เนื่องจากผลจะมีสีเงิน และ สีขาวส่วนภาษาญี่ปุ่นจะเรียกว่า อิโจว มีรากจากคำว่าตีนเป็ด หรือ คินนัน ซึ่งมีรากความหมายคล้ายกับในภาษาจีนคือลูกไม้สีเงิน สำหรับในภาษาอังกฤษก็นิยมเรียกว่า กิงโกะ หรือ ต้นเมเดนแฮร์ หรือ ต้นขนนิ่ม (maidenhair tree) ซึ่งสันนิฐานว่ามาจากรูปทรงของใบที่เหมือนกันใบของเฟิร์นที่มีขนนิ่มชื่อเดียวกัน หรือ เรียกว่า ต้นสี่สิบมงกุฏทอง (หมายถึงว่ามีราคาแพง) ของชาวฝรั่งเศส ส่วนชื่ออื่น ๆ ที่มีผู้เรียกได้แก่ ต้นไม้แห่งความหวัง แพนด้าแห่งอาณาจักรพืช ต้นไม้อิสรภาพ

สารที่สกัดได้จากใบแปะก๊วยมีหลายชนิดที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ (Free radical) ในบริเวณตา ป้องกันการ เกิดโรคเบาหวานขึ้นตาได้ เพิ่มการไหลเวียนของโลหิตไปสู่สมอง ปลายมือปลายเท้า ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการอุดตันของเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง เพราะเมื่อสมองขาดเลือดไปหล่อเลี้ยง ย่อมเสื่อมสมรรถภาพและฝ่อไปในที่สุด ส่งผลต่อการทำงานและประสิทธิภาพของสมอง ทำให้เกิดการหลงลืมในผู้สูงอายุ หรือโรคความจำเสื่อม ที่เรียกว่า อัลไซเมอร์ (Alzheimer disease)

ในปัจจุบันหลายๆ ประเทศได้ให้การยอมรับถึงสรรพคุณของใบแปะก๊วยในการรักษาโรคสมองเสื่อม โดยการนำสารสกัดจากใบแปะก๊วยมารวมกับสารอื่น ๆ ช่วยให้การดูดซับที่ผนังลำไส้เล็กดีขึ้น ทำให้ร่างกายสามารถนำเอาสารสกัดจากใบแปะก๊วยนี้มาใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น นอกจากนี้ยังมีการนำสารสกัดดังกล่าวมาทำเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เพื่อบำรุงสมอง และช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น ใช้รักษาโรคความจำเสื่อมโรคซึมเศร้า อาการหลงๆ ลืมๆ อันเนื่องมาจากเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอในผู้ป่วยสูงอายุ ผลแปะก๊วยที่ใช้เป็นส่วนประกอบในอาหารจีนหลากหลายชนิด มีสรรพคุณช่วยบำรุงสมอง ช่วยให้เลือดลมหมุนเวียนได้สะดวก แต่ท่านทราบหรือไม่ว่าแหล่งใหญ่ของสารที่ทำหน้าที่ช่วยเสริมสุขภาพดังกล่าว กลับพบมากในส่วนของใบมากกว่าผลเสียอีก แปะก๊วย

ใบแปะก๊วยยังเป็นสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยโตเกียวประเทศญี่ปุ่นเป็นตัวแทนของความคงทน ไม่เปลี่ยนแปลง เหมือนต้นแปะก๊วยที่คงทนต่อสภาพแวดล้อม คงความเป็นต้นแปะก๊วยมาแต่ยุคโบราณกาลจนปัจจุบัน และมีความหมายในการปกป้องคุ้มครองภัย จากการที่วัดอันศักด์สิทธิ์ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของชาวญี่ปุ่น มักจะถูกปกป้องจากอัคคีภัยหรือแผ่นดินไหวโดยต้นแปะก๊วย
ส่วนในจีนแปะก๊วยยังใช้แทนตัวขงจื๊อ ผู้เป็นปราชญ์ใต้ต้นแปะก๊วย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี



ข้อมูลที่ 2 
แป๊ะก๊วยน่าจะช่วยเรื่องความจำ

มีรายงานจากวารสารทางการแพทย์ Neurology พบว่าการรับประทานอาหารเสริมสกัดจากแป๊ะก๊วยน่าจะช่วยเรื่องการชลอปัญหาความ จำเสื่อได้ในคนสูงอายุปกติ

อย่างที่เราทราบกันดีว่าอาหารเสริมสกัดจากแป๊ะก๊วยมีการใช้กันอย่างกว้าง ขวาง โดยเชื่อกันว่าผลของมันจะช่วยในเรื่องเกี่ยวกับความจำ หรือคนที่มีปัญหาความจำเสื่อม

คุณหมอ Hiroko H. Dodge จากมหาวิทยาลัย Oregon State University ในเมือง Corvallis ประเทศสหรัฐอเมริกา กล่าวว่าปัญหาหนึ่งที่สำคัญมากที่สุดปัญหาหนึ่งในคนสูงอายุที่จะต้องเผชิญ คือปัญหาเรื่องความจำเสื่อม ซึ่งในปัจจุบันจำนวนคนสูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอันเนื่องมาจากการ พัฒนาการดูแลรักษาโรคสมัยใหม่ ดังนั้นการที่เราจะสามารถมีวิธีที่จะป้องกันหรือชลอการเกิดโรคความจำเสื่อม ได้เป็นสิ่งสำคัญยิ่งทีเดียว

จากการศึกษายาวนานกว่า 3 ปีในอาสาสมัคร 118 คนที่มีอายุเกิน 85 ปี ขึ้นไปที่ยังไม่มีปัญหาเรื่องความจำเสื่อม โดยในการศึกษาในครั้งนี้จะให้ครึ่งหนึ่งของอาสาสมัครเหล่านี้รับประทานอาหาร เสริมที่มีสารสกัดจากแป๊ะก๊วย วันละ 3 ครั้งๆ อีกครึ่งหนึ่งรับประทานยาหลอกแทน

พบว่าในกลุ่มอาสาสมัครทั้งหมดมี 21 คนเริ่มมีปัญหาเกี่ยวกับระบบความจำ ซึ่งในจำนวนนี้ 14 คนอยู่ในกลุ่มที่รับประทานยาหลอก และ 7 คนอยู่ในกลุ่มที่รับประทานอาหารเสริมสกัดจากแป๊ะก๊วย

จากผลงานวิจัยพบว่า คนที่รับประทานแป๊ะก๊วยมีความเสี่ยงที่จะมีปัญหาเกี่ยวกับระบบความจำลดลง 68 เปอร์เซ็นต์

อย่างไรก็ตามการศึกษาดังกล่าวยังมีหลักฐานที่ยังสงสัยกันอยู่ว่ามี 7 คน จากกลุ่มคนที่รับประทานอาหารเสริมสกัดจากแป๊ะก๊วยมีการตรวจพบอาการเส้นเลือด ไปเลี้ยงสมองอุดตันเพิ่มสูงขึ้น โดยไม่ทราบสาเหตุ แต่กลับไม่พบในคนที่ไม่ได้รับประทานอาหารเสริมสกัดจากแป๊ะก๊วย ซึ่งคงต้องรอการศึกษาเพิ่มเติมอีกต่อไปเพื่อยืนยันปัญหาในจุดนี้

SOURCE: Neurology, online February 27, 2008

แคลเซียม ( Calcium ) คืออะไร

แคลเซียมคืออะไร

หากจะให้บอกถึงเกลือแร่สักตัวหนึ่งที่มีประโยชน์มากๆ ต่อร่างกายหนึ่งในนั้นจะต้องมี แคลเซียม เรารู้จัก แคลเซียม มานานในแง่ของการช่วยให้กระดูกแข็งแรง ไม่เพียงเท่านั้นเมื่อไม่นานนี้มีงานวิจัยตัวหนึ่งได้พบว่า แคลเซียม สามารถช่วยต่อต้านได้อย่างดีต่อ ความดันโลหิตสูง อาการหัวใจกำเริบ อาการปวดก่อนมีประจำเดือน และ มะเร็งลำไส้ แต่ก็เป็นที่น่าเสียดายที่คนส่วนใหญ่รับประทาน แคลเซียม น้อยกว่าครึ่งของที่ควรจะได้รับต่อวัน

สำหรับคนที่ไม่สามารถรับประทานอาหารที่มี แคลเซียม สูงได้ ก็สามารถทดแทนง่ายๆ ได้ด้วยอาหารเสริม แคลเซียม ที่มีจำหน่ายอยู่ทั่วไปและราคาไม่แพง โดยมักจะอยู่ในรูปของ แคลเซียมคาร์บอเนต แคลเซียมกลูโคเนต แคลเซียมซิเตรด แคลเซียมซิเตรดมาเลต แคลเซียมแลคเตต และแคลเซียมฟอสเฟต และปริมาณที่ร่างกายจะได้รับ แคลเซียม จากอาหารเสริมเหล่านี้ก็จะขึ้นกับว่าในแต่ละแบบจะให้ แคลเซียม แก่ร่างกายเท่าไร เช่น แคลเซียมคาร์บอเนตจะให้ปริมาณแร่ธาตุ แคลเซียม ประมาณ 40% แคลเซียมกลูโคเนตจะให้ปริมาณแร่ธาตุ แคลเซียม ประมาณ 9% ทั้งนี้ยังขึ้นกับการดูดซึมเข้าสู่ร่างกายด้วย มีการค้นพบว่าแร่ธาตุ แคลเซียม ที่ได้จากแคลเซียมซิเตรดจะถูกดูดซึมได้ดีกว่าที่ได้จากคอร์บอเนต

“แคลเซียม” เป็นธาตุที่พบมากที่สุดในทุกส่วนของร่างกาย โดยในร่างกายคน 50 กิโลกรัม จะมี แคลเซียม อยู่ประมาณ 1 กิโลกรัม ซึ่งเกือบทั้งหมดจะอยู่ในกระดูกและฟัน ดังนั้นในเวลากล่าวถึงแคลเซียม จึงมักจะนึกถึงเฉพาะกระดูกเท่านั้น แต่ที่จริงแล้วยังมี แคลเซียม ส่วนอื่นที่อยู่ในเซลล์ที่ไม่ใช่กระดูกอีกประมาณร้อยละ 1 สำหรับหน้าที่ๆ สำคัญของ แคลเซียม ก็คือ การสร้างกระดูก ซึ่งกระดูกทำหน้าที่เป็นโครงสร้างของร่างกาย รักษารูปร่างและลักษณะของร่างกายให้สวยงาม และยังเป็นที่ยึดเกาะของกล้ามเนื้อเป็นเกราะป้องกันอวัยวะภายในต่างๆ ของร่างกายไม่ให้ได้รับความกระทบกระเทือน อย่างไรก็ตาม แคลเซียม มิใช่เป็นเพียงตัวเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรงเท่านั้น แต่ยังมีหน้าที่สำคัญในการทำงานของเซลล์ต่างๆ ภายในร่างกายอีกด้วย ได้แก่ การช่วยการแข็งตัวของเลือด ทำให้เลือดที่ไหลออกจากบาดแผลเกิดแข็งตัวหยุดไหลได้ นอกจากนี้ แคลเซียม ยังเกี่ยวข้องกับการทำงานของกล้ามเนื้อและเส้นประสาท ช่วยให้การทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจปกติและการส่งสัญญานประสาทที่ถูกต้อง รักษาความสมดุลของกรดด่างในเลือดและความดันโลหิตให้ปกติ

แคลเซียมเข้าสู่ร่างกายอย่างไร

สำหรับการทำงานของ แคลเซียม จะเริ่มจาก เมื่อร่างกายได้รับ แคลเซียม จากอาหาร ก็จะถูกกรดในกระเพาะทำให้ แคลเซียม แตกตัวได้ดีขึ้นและถูกดูดซึมได้ง่ายขึ้นจากบริเวณลำไส้ส่วนต้น โดยอาศัย Calbindin-D ซึ่งปกติแล้วร่างกายจะดูดซึม แคลเซียม ได้ประมาณร้อยละ 20-40 หลังจากนั้น แคลเซียม จะเข้าสู่เลือดผ่านไปตามระบบไหลเวียนโลหิตแล้วไปสู่อวัยวะต่างๆ ส่วนใหญ่จะเข้าสู่กระดูก นอกนั้นเข้าสู่เซลล์ต่างๆ ในร่างกาย ที่เหลือจะถูกขับออกทางปัสสาวะ

โดยปกติทั่วไปแม้กระดูกจะไม่ยืดตัวให้เห็น แต่จะมี แคลเซียม ผ่านเข้าออกจากกระดูกถึงวันละประมาณ 700 mg ซึ่งแม้ว่าเกลือแร่ที่ติดอยู่ในกระดูกดูเหมือนจะติดอยู่อย่างถาวร แต่อันที่จริงแล้ว แคลเซียม ในกระดูกจะถูกดึงออกพร้อมกับขบวนการละลายกระดูก (resorption) และเสริมเข้าไปพร้อมกับการสร้างกระดูกใหม่ (formation) อยู่ตลอดเวลา ทั้งนี้ขึ้นกับภาวะโภชนาการ ปริมาณ แคลเซียม ความสมดุลของฮอร์โมนและวัย

โดยทั่วไปร่างกายจะพยายามอย่างเต็มที่ในการที่จะรักษาระดับ แคลเซียม ในเลือดให้ปกติเสมอเพื่อให้อวัยวะต่างๆ ปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างปกติเปรียบให้ง่ายก็เสมือนว่า ระดับ แคลเซียม ที่ปกติก็คือ จำนวนเงินที่ติดกระเป๋าอยู่สำหรับใช้จ่ายในแต่ละวัน โดย แคลเซียม ส่วนที่ถูกขับออกทางปัสสาวะและ แคลเซียม ที่ใช้เพื่อการซ่อมแซมกระดูกเปรียบเสมือนค่าใช้จ่ายประจำวัน แคลเซียม ในกระดูกเสมือนเงินฝากในธนาคาร แคลเซียม รับจากอาหารเสมือนรายได้ประจำวัน ถ้ารายรับมากกว่ารายจ่าย อาจมีเหลือเก็บในธนาคารซึ่งเปรียบเสมือนเป็นการสะสม แคลเซียม ในกระดูก ถ้ารายได้น้อยกว่ารายจ่ายก็ต้องถอนจากธนาคารเพื่อนำไปใช้จ่ายก็จะทำให้เกิดการขาดดุล ซึ่งถ้าเป็นเช่นนี้อยู่เป็นประจำเงินในธนาคารก็จะร่อยหรอไป นั่นก็เปรียบได้กับการที่ร่างกายได้รับ แคลเซียม ไม่พอเพียงต่อความพยายามรักษาระดับ แคลเซียม ให้ปกติ จึงต้องละลาย แคลเซียม จากกระดูกมาเพิ่มให้กับเลือด ทำให้ แคลเซียม ในกระดูกค่อยๆ ลดลง สุดท้าย แคลเซียม หรือเงินที่ติดกระเป๋าอยู่ก็ลดลงจนไม่พอใช้นั่นเอง ซึ่งจากการศึกษาพบว่าการสะสม แคลเซียม ของร่างกายมนุษย์นั้นเริ่มตั้งแต่ยังเป็นทารกในครรภ์มารดา โดยในแต่ละวัยร่างกายสามารถสะสมปริมาณ แคลเซียม ในระดับที่แตกต่างกัน ดังนี้

เด็กแรกเกิด - 9 ขวบ 
 มีความสามรถในการสะสม แคลเซียม ได้ 100 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว/วัน


เด็กอายุ 10 ขวบ
มีความสามารถในการสะสม แคลเซียม ได้ 100-150 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว/วัน


ช่วงวัยรุ่น 
มีความสามารถในการสะสม แคลเซียม ได้ 200-400 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว/วัน


ชายและหญิงอายุ 18 ปี 
มีความสามารถในการสะสม แคลเซียม ได้ 50-100 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว/วัน

ผู้ใหญ่อายุ 30 ปี 
มีความสามารถในการสะสม แคลเซียม ได้ 0 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว/วัน ซึ่งหมายความว่า

► จากอายุ 30 ปีขี้นไป
ไปแล้ว ร่างกายจะไม่สะสม แคลเซียม อีกต่อไป จึงต้องมีการเติม แคลเซียม ให้ร่างกายเพื่อรักษาระดับ แคลเซียม ในกระดูก

ด้วยคุณสมบัติการทำงานของ แคลเซียม ดังกล่าว นับได้ว่ าแคลเซียม มีประโยชน์ต่อร่างกายของมนุษย์อย่างยิ่ง ซึ่งในแต่ละสภาวะของมนุษย์นั้น แคลเซียม ได้ให้ประโยชน์ในลักษณะต่างๆ กัน ดังนี้


ความต้องการของคนแต่ละวัย

หญิงตั้งครรภ์

สำหรับหญิงมีครรภ์แล้ว แคลเซียม นับได้ว่าเป็นแร่ธาตุที่สำคัญต่อสภาวะการตั้งครรภ์อย่างมาก โดยหญิงตั้งครรภ์จำเป็นต้องได้รับ แคลเซียม มากกว่าคนธรรมดาเป็นพิเศษ เนื่องจากจะต้องถ่ายทอดแร่ธาตุดังกล่าวสู่ลูกเพื่อการพัฒนาโครงสร้างร่างกายของทารกในครรภ์ ดังนั้นหญิงมีครรภ์จึงมีโอกาสเสี่ยงสูงที่จะขาดแคลน แคลเซียม ถ้าไม่สามารถบริโภคอาหารที่ให้ปริมาณ แคลเซียม ได้เพียงพอต่อทั้งแม่และลูกได้ บ่อยครั้งจึงพบว่าหญิงมีครรภ์จะมีอาการกล้ามเนื้อปวดเกร็งในบริเวณต่างๆ ของร่างกาย ที่พบบ่อยคือ บริเวณน่อง โดยจะเกิดขึ้นทั้ง ๆ ที่ไม่ได้ออกกำลังกายหรือเดินมาก อันเป็นผลมากจากการขาด แคลเซียม นั่นเอง จากการศึกษาพบว่าหญิงตั้งครรภ์เป็นตระคริวถึงร้อยละ 26.8 และส่วนใหญ่เริ่มมีอาการตั้งแต่อายุครรภ์ประมาณ 25 สัปดาห์ และอาการดีขึ้นได้อย่างชัดเจนหากได้รับการเสริม แคลเซียม ดังนั้น แคลเซียม จึงเป็นแร่ธาตุที่จำเป็นยิ่งต่อสภาวะการตั้งครรภ์ เพราะนอกจากจะช่วยให้พัฒนาการเติบโตของทารกในครรภ์เป็นปกติแล้ว ยังมีส่วนช่วยรักษาเสถียรสภาพความหนาแน่นกระดูกในแม่ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเกี่ยวกระดูกหรือโรค กระดูกพรุน ในภายหลังได้

วัยเด็ก

เด็กๆ ต้องการ แคลเซียม มากกว่าวัยผู้ใหญ่และวัยสูงอายุ เพื่อนำมาเสริมสร้างความแข็งแรงให้แก่กระดูกและฟัน และส่วนอื่นๆ เพื่อใช้เป็นโครงสร้างของร่างกาย โดยการสะสม แคลเซียม ในเด็กที่หัดพูดจะช้าแต่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในวัยหนุ่มสาว ซึ่งจากการศึกษาพบว่าถ้าปริมาณ แคลเซียม ในร่างกายเด็กต่ำ จะทำให้ขบวนการสะสมเกลือแร่ในกระดูกและความหนาแน่นของกระดูกต่ำ เป็นผลให้เกิดโรคกระดูกอ่อนหรือโรคกระดูกค่อมงอได้ โดยเด็กจะมีอาการเหงื่อออกบริเวณศีรษะมากเกินไป การนั่ง คลาน เดิน ทำได้ช้า นอนไม่หลับ กระดูกขาของเด็กที่ได้รับ แคลเซียม ไม่เพียงพอเมื่อรับน้ำหนักตัวที่เพิ่มมากขึ้นตามอายุเป็นผลให้ขาโก่ง กระดูกซี่โครงโค้งงอ กระดูกเชิงกรานมีรูปร่างผิดปกติซึ่งอาการนี้เมื่อเกิดขึ้นกับเด็กแล้วไม่สามารถรักษาให้หายคืนปกติได้ นอกจากจะทำการผ่าตัดใหญ่เท่านั้น สิ่งที่สำคัญของช่วงอายุนี้คือ การพัฒนารูปแบบการบริโภคให้สอดคล้องกับระดับ แคลเซียม ที่ร่างกายต้องการให้เพียงพอ เพื่อพัฒนาความหนาแน่นของกระดูก ให้การเติบโตของเด็กเป็นปกติ อีกทั้งยังเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยลดความเสี่ยงการเป็นโรคเกี่ยวกับกระดูกในช่วงต่อไปของชีวิตได้

วัยหนุ่มสาว

จากการศึกษาวิจัยแสดงว่า ช่วยอายุ 11-24 ปี เป็นช่วงที่ร่างกายดำเนินขบวนการก่อรูปกระดูก โดยถ้าร่างกายได้รับ แคลเซียม ในปริมาณที่ต่ำกว่าร่างกายต้องการ จะก่อให้เกิดปัญหาตามมาในภายหลังซึ่งถ้าขาดอย่างร้ายแรงจะก่อให้เกิดโรคกระดูกอ่อน มีอาการเจ็บกระดูก เจ็บกล้ามเนื้อ และเมื่อประสบกับการกระดูกหัก กระดูกจะสมานให้เหมือนเดิมได้ช้า สิ่งสำคัญคือ การรักษาระดับการบริโภคอาหารให้สอดคล้องกับระดับ แคลเซียม ที่ต้องการเพื่อป้องกันโรคเกี่ยวกับกระดูก ถ้าจะต้องมีการสูญเสียไปในภายหลังของช่วงชีวิต โดยถ้าเราได้รับ แคลเซียม ตั้งแต่อยู่ในวัยหนุ่มสาวหรือกลางคนอย่างสม่ำเสมอและพอเพียง อายุการสึกหรือผุกร่อนตามธรรมชาติก็จะยืดออกไปได้อีกนานกว่าคนที่อยู่ในวัยเดียวกันที่บริโภค แคลเซียม ไม่เพียงพอในวัยเด็กและวัยหนุ่มสาว

วัยสูงอายุ

คนเราปกติจะมีโอกาสสูญเสีย แคลเซียม จากกระดูกเมื่อเรามีอายุมากขึ้น เพราะว่าเมื่ออายุเกินกว่า 30 ปีแล้ว ร่างกายจะไม่สะสม แคลเซียม อีกต่อไป โอกาสเผชิญกับโรคเกี่ยวกับกระดูกจะสูงถ้าร่างกายไม่ได้รับ แคลเซียม อย่างเพียงพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหญิงวัยหมดประจำเดือนซึ่งการศึกษาพบว่าร่างกายจะสูญเสียกระดูกในช่วงประมาณ 5-6 ปีแรกหลังจากหมดประจำเดือน เนื่องจากการลดลงของฮอร์โมน oestrogens และประสิทธิภาพในการสร้าง Vitamin D ก็ลดลงตามวัยที่เพิ่มมากขึ้น จึงมีแนวโน้มจะเป็นโรค กระดูกพรุน สูง โดยเป็นโรคที่เป็นผลมาจากการขาดแคลน แคลเซียม ซึ่งบางครั้งอาจทำให้กระดูกหักได้เนื่องจากแบกรับน้ำหนักตัวไม่ไหว และในกรณีที่ร้ายแรงจะก่อผลเสียต่อกระดูกสันหลัง กระดูกต้นขา และกระดูกแขนท่อนนอกได้อีกด้วย โดยโรคดังกล่าวจะไม่แสดงอาการใดๆ ให้ทราบเลยจนกว่าจะมีอาการกระดูกหัก ดังนั้นคนในวัยสูงอายุที่มีการเสริม แคลเซียม ให้กับกระดูกอย่างเพียงพอ จะช่วยยับยั้งการสูญเสียกระดูกในช่วงนี้ได้ การเผชิญกับการผุกร่อนของกระดูกจะน้อยลง ความเสี่ยงที่ต้องเผชิญกับโรคที่เกี่ยวกับกระดูกเมื่อย่างเข้าสู่วัยทองก็น้อยลงหรืออาจไม่เกิดขึ้นเลยก็ได้จะเห็นได้ว่า แคลเซียม มีความจำเป็นสำหรับคนทุกเพศทุกวัยด้วยกันทั้งนั้น แต่ปริมาณความต้องการ แคลเซียม ของร่างกายจะแตกต่างกันในแต่ละวัย ซึ่งสถาบันสุขภาพแห่งชาติของอเมริกา (National Institute Health) แนะนำปริมาณของ แคลเซียม ที่เหมาะสมในแต่ละวัย ดังนี้


ปริมาณแคลเซียมที่ควรได้รับต่อวัน

► เด็ก (1-10 ปี) ควรได้รับ 800 – 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน

► วัยรุ่น (11-25 ปี) ควรได้รับ 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน

► ผู้ใหญ่ ควรได้รับ 1,500 มิลลิกรัมต่อวัน

► หญิงมีครรภ์ ควรได้รับ 1,500 มิลลิกรัมต่อวัน

► หญิงให้นมบุตร ควรได้รับ 1,500 – 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน

► ผู้ป่วยกระดูกหัก ควรได้รับ 1,500 มิลลิกรัมต่อวัน


แหล่งที่พบ

ในการบริโภคอาหารประจำวัน ควรรับประทานอาหารหลายหมู่ หลายประเภทในแต่ละวัน ควรหลีกเหลี่ยงการรับประทานอาหารน้อยชนิด หรือซ้ำซาก จะเป็นการป้องกันภาวะการณ์ขาด แคลเซียม ได้เป็นอย่างดี โดยปริมาณของ แคลเซียม ที่เหมาะสมในแต่ละวันควรรับประทาน แคลเซียม ไม่เกิน 2,500 มิลลิกรัม การเสริมสร้าง แคลเซียม จากอาหารควรกระทำแต่พอเพียง ไม่ควรมากเกินไป เพราะ แคลเซียม ที่เป็นส่วนเกินจะไม่ถูกดูดซึมสู่กระแสเลือด กล่าวคือ โดยปกติทั่วไปร่างกายมนุษย์จะมีการตรวจสอบตัวเองโดยอัตโนมัติ ในการพยายามรักษาสมดุลของปริมาณ แคลเซียม ในเลือด ถ้าร่างกายมีปริมาณ แคลเซียม ในเลือดต่ำ แล้วเรารับประทานอาหารที่มี แคลเซียม เข้าไปอย่างพอเหมาะ ร่างกายจะพยายามดูดซึม แคลเซียม นั้นไว้ทั้งหมด ไม่ยอมปล่อยให้ แคลเซียม ถูกขับออกจากร่างกาย นี่คือกลไกที่วิเศษของร่างกายที่เมื่อขาดสารอาหารชนิดใด แล้วเรารับประทานเข้าไปเพียงนิดเดียวร่างกายจะดูดซึมอย่างมหาศาล ในขณะที่ถ้าเรากินสารอาหารนั้นเกินกว่าความต้องการร่างกายก็จะขับออกโดยอัตโนมัติ ในขณะเดียวกันถ้าร่างกายมีปริมาณ แคลเซียม ต่ำอยู่แล้ว และเราไม่ได้รับประทานอาหารที่มี แคลเซียม เข้าไปอย่างเพียงพออย่างต่อเนื่องก็จะก่อให้เกิดสภาวะการณ์ขาด แคลเซียม ได้ คนที่มีภาวะขาด แคลเซียม จะมีอาการหงุดหงิดง่าย ชา และเป็นเหน็บที่นิ้วมือ นิ้วเท้า และรอบปาก มีอาการกระตุกของกล้ามเนื้อ ถ้าตรวจพบว่าการตอบสนองของเอ็นกระตุกแรงขึ้นจะเกิดอาการตระคริวบ่อย มีอาการมือจีบเกร็งตามมา และชักได้ถ้าขาดรุนแรง ในส่วนของหัวใจอาจพบความผิดปกติของคลื่นหัวใจ บางครั้งหัวใจอาจล้มได้

ปัญหาที่สำคัญอีกประการ ก็คือ การขาด แคลเซียม ไม่มาก แต่ขาดอย่างเรื้อรัง ซึ่งทำให้ร่างกายต้องเสียดุลตลอดเวลา โดยทั่วไปจะไม่ปรากฏอาการชัดเจนในระยะแรก ทำให้แหล่งสะสม แคลเซียม คือ กระดูกเกิดการผุกร่อน ซึ่งผลที่ตามมาก็คือ กระดูกหักง่ายขึ้นทั้งๆ ที่ได้รับแรงกระทบเพียงเบาๆ ตำแหน่งที่พบบ่อยคือ กระดูกที่ต้นแขนใกล้ข้อมือ หรือต้นขาบริเวณสะโพก ถ้าปัญหานี้เกิดขึ้นที่กระดูกสันหลังก็จะทำให้กระดูกสันหลังทรุดได้ง่าย

แคลเซียม นับได้ว่าเป็นสารอาหาร ที่มีความสำคัญ เพราะ แคลเซียม เป็นสารอาหารที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย ส่วนใหญ่อยู่ในกระดูก โดยปกติร่างกายมนุษย์ไม่สามารถสร้าง แคลเซียม ได้เองจึงจำเป็นต้องบริโภคอาหารเพื่อให้ได้รับสารอาหารดังกล่าว ซึ่งนมและผลิตภัณฑ์จากนม และปลาที่สามารถเคี้ยวกระดูกได้เป็นแหล่งอาหารที่มี แคลเซียม สูง สำหรับประโยชน์ของ แคลเซียม นอกจากการเป็นส่วนประกอบสำคัญของกระดูก ฟัน และเนื้อเยื่อต่างๆ ดังที่ได้กล่าวแล้ว แคลเซียม ยังช่วยทำให้กระบวนการต่างๆ ในร่างกายทำงานได้อย่างปกติ เช่น ระบบของกล้ามเนื้อ ระบบของภูมิคุ้มกัน ระบบเหล่านี้ต้องอาศัย แคลเซียม ทั้งสิ้น ปัจจุบันนี้ประโยชน์ของ แคลเซียม มีบทบาทมากขึ้นกว่าเดิมโดยถูกนำมาใช้ในทางการแพทย์สำหรับการป้องกันโรค กระดูกพรุน โรค มะเร็งในลำไส้ใหญ่ ช่วยลดไขมันในเลือด ป้องกัน โรคหัวใจ ช่วยให้ระบบประสาทคลายตัว เป็นยานอนหลับตามธรรมชาติได้อย่างนี้ นอกจากนี้ยังช่วยชะลอความแก่ได้อีกด้วย


แคลเซียม พบมากในนมและผลิตภัณฑ์จากนม แต่ก็พบได้ในอาหารทั่วๆ ไป ดังนี้

อาหารที่พบ (เทียบเป็น % โดยน้ำหนัก)

► กุ้งแห้งตัวเล็ก 2.31%

► กะปิ 1.56%

► มะขามฝักสด 0.43%

► ยอดแค 0.40%

► ยอดสะเดา 0.35%

► คะน้า 0.25%

► เต้าหู้เหลือง 0.16%

► นมสด 0.12%


ประโยชน์ของแคลเซียม

แคลเซียม ในร่างกายเกือบทั้งหมดจะสะสมในกระดูกและฟัน ซึ่งเป็นที่ๆ มันๆ ไปช่วยทำให้เกิดความแข็งแรง อีกทั้งจะมีปริมาณ แคลเซียม จำนวนน้อยๆ ที่อยู่ในกระแสเลือดที่จะมีส่วนช่วยในการสร้างฮอร์โมนและเอนไซม์ต่างๆ เพื่อให้ร่างกายทำงานเป็นปกติ เช่น

► แคลเซียม ทำหน้าที่เป็นตัวนำสัญญาณระหว่างเซลประสาทให้สื่อสารกันได้เป็นปกติ

► แคลเซียม ช่วยให้กล้ามเนื้อหดตัวได้เป็นปกติ ที่สำคัญคือกล้ามเนื้อหัวใจ

► แคลเซียม ช่วยในขบวนการทำให้เลือดแข็งตัว

► แคลเซียม ช่วยในขบวนการสร้างภูมิคุ้มกันโรค

ดังนั้นหน้าที่ๆ สำคัญเหล่านี้ทำให้ร่างกายขาด แคลเซียม ไม่ได้เลย ดังนั้นเมื่อร่างกายขาดก็จะไปดึงมาจากกระดูกแทน ส่งผลให้กระดูกไม่แข็งแรง แต่ก็เป็นที่น่าเสียดายที่คนส่วนใหญ่รับประทาน แคลเซียม น้อยกว่าครึ่งของที่ควรจะได้รับต่อวัน ทำให้กระดูกก็จะบางลง และไม่แข็งลงเรื่อยๆ และเรามักจะทราบว่าเราเป็นโรค กระดูกพรุน ก็ต่อเมื่อเกิดอาการกระดูกหักง่ายแม้กระทบเพียงเล็กน้อย

โดยส่วนใหญ่จะแนะนำให้รับประทานแคลเซียมร่วมกับ แมกนีเซียม และ วิตามินดี ซึ่งที่จริงแล้วร่างกายเราจะได้รับ วิตามินดี จากแสงแดดธรรมชาติอยู่แล้ว และยังพบในอาหารต่างๆ อีก วิตามินดีจะช่วยให้ แคลเซียม ถูกดูดซึมได้เป็นปกติ ส่วน แมกนีเซียม ซึ่งเป็นวิตามินที่สำคัญของร่างกายและอาจจถูกยับยั้งการดูดซึมจาก แคลเซียม ได้ ดังนั้นจึงแนะนำให้รับประทาน แคลเซียม คู่กับ แมกนีเซียม ไปด้วยกัน


โรคกระดูกพรุน
ถ้ากระดูกเราแข็งแรงก็จะช่วยป้องกันโรค กระดูกพรุน ได้หรือทำให้เป็นช้าลง ดังนั้นเราควรพยายามรับประทาน แคลเซียม ให้เพียงพอและต่อเนื่องทุกวัน ซึ่งจะทำให้ร่างกายไปสะสม แคลเซียม ที่กระดูก และทำให้กระดุกแข็งแรง หากเราได้รับ แคลเซียม ไม่เพียงพอก็จะทำให้ก็จะทำให้กระดูกบางลง และทำให้หักได้ง่าย ความสูงไม่เพิ่มขึ้นหรือเตี้ยกว่าที่ควรจะเป็น ได้มีการศึกษาพบว่าถึงแม้ว่าในอายุที่น้อยกว่า 35 ปีร่างกายมักจะไม่มีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพกระดูกและฟัน ทั้งนี้คนที่อายุมากกว่า 65 ปี และพยายามรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วย แคลเซียม หรือรับประทานอาหารเสริมแคลเซียมก็จะช่วยลดความเสี่ยงของการสูญเสียมวลกระดูกและการเกิดอาการกระดูกหักได้ อีกทั้งในรายที่มีปัญหาเกี่ยวกับอาการปวดหลัง ลองรับประทาน แคลเซียม ร่วมกับ แมกนีเซียม ซึ่งจะทำให้กระดูกแข็งแรงขึ้นและลดอาการดังกล่าวได้

ความดันโลหิตสูง
มีการศึกษาพบว่าคนที่ความดันโลหิตสูงมักจะรับประทาน แคลเซียม น้อยกว่าคนปกติ และยังพบอีกว่าการรับประทานอาหารที่อุดมไปด้ว แคลเซียม หรืออาหารเสริมช่วยลดความดันโลหิตลงในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ทั้งนี้เป็นเพราะ แคลเซียม ช่วยให้กล้ามเนื้อบีบตัวได้ดีและทำให้หัวใจและหลอดเลือดทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพจึงส่งผลให้ความดันโลหิตลดลงได้

มะเร็งลำไส้ใหญ่
แคลเซียม ช่วยป้องกัน มะเร็งลำไส้ใหญ่ มีการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้มายาวนาน และพบว่าคนที่มีความเสี่ยงที่จะเป็น มะเร็งลำไส้ใหญ่ จะมีแน้วโน้มลดลงได้เมื่อรับประทาน แคลเซียม มีการพบว่าหลังได้รับ แคลเซียม การแบ่งเซลที่ผิดปกติลดลง มันดูเหมือนว่า แคลเซียม จะไปลดผลการรบกวนของน้ำดีและกรดไขมันในลำไส้ลงที่เป็นสาเหตุของการแบ่งเซลที่ผิดปกติในลำไส้

อาการปวดก่อนมีประจำเดือน
มีการศึกษาที่แสดงให้เห็นว่า แคลเซียม ช่วยบรรเทาอาการปวดก่อนมีประจำเดือน และรวมทั้ง อารมณ์ที่แปรปรวน ซึมเศร้า และอื่นๆ ที่มักจะเกิดก่อนที่จะมีประจำเดือน ทั้งนี้เพราะการที่มีระดับ แคลเซียม ในร่างกายต่ำส่งผลให้ระดับฮอร์โมนผิดปกติไปด้วย มีการศึกษาเมื่อเร็วๆ นี้เองในผู้หญิงหลายร้อยคนให้รับประทาน แคลเซียม ขนาด 750 มิลลิกรัมครั้งละ 1 เม็ด วันละ 2 ครั้ง พบว่าอาการที่เกี่ยวข้องที่มักเกิดก่อนมีประจำเดือนรวมทั้งอาการปวดลดลงอย่างเห็นได้ชัด ความรุนแรงก็ลงกว่าครึ่ง

อื่นๆ

► ลดอาการ โรคกระเพราะ หากรับประทาน แคลเซียม ในรูปของ แคลเซียมคาร์บอเนตซึ่งเป็นรูปแบบของยาลดกรดตัวหนึ่ง จึงไปช่วยลดอาการ โรคกระเพราะลงได้

► โรคนอนไม่หลับ มีหลายๆ คนที่มีปัญหาโรคนอนไม่หลับอันเนื่องมาจากมีระดับ แคลเซียม ในเลือดต่ำ ดังนั้นการรับประทาน แคลเซียม ร่วมกับ แมกนีเซียม จะช่วยลดอาการนี้ได้ดี

► ป้องกันอาการ ไมเกรน เนื่องการรับประทาน แคลเซียม ร่วมกับ แมกนีเซียม จะช่วยให้ระบบหลอดเลือดและสมองมีการทำงานดีขึ้น จึงช่วยลดอาการ ไมเกรน ลงได้

วิตามินซี ช่วยคนสูบบุหรี่ได้นะ

การศึกษาที่ประเทศญี่ปุ่นมีการรายงานว่า วิตามินซี ที่รับประทานเข้าไปสามารถช่วยกระตุ้นระบบไหลเวียนโลหิตของคนที่สูบบุหรี่ที่มีระบบไหลเวียนโลหิตไม่ดี ให้มีสภาพเหมือนคนที่มี สุขภาพดี ได้อย่างรวดเร็ว

การศึกษานี้ทำในอาสาสมัครผู้ชาย สุขภาพ ดีจำนวน 25 คน ซึ่งพบว่าช่วงการทดสอบเกี่ยวกับไหลเวียนโลหิตที่หัวใจในคนที่สูบบุหรี่ในตอนแรกจะไม่ค่อยดีนัก แต่กลับพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงที่ดีอย่างรวดเร็วขึ้นเมื่อเขารับประทาน วิตามินซี ในขนาด 2 กรัม

เพียงช่วงสั้นๆ หลังจากที่รับประทาน วิตามินซี ไม่นาน อาสาสมัครที่สูบบุหรี่ 13 คนพบว่ามีระบบไหลเวียนโลหิตอยู่ในระดับเดียวกับอาสาสมัครที่ไม่ได้สูบบุหรี่จำนวน 12 คน

อย่างไรก็ตามที่สูบบุหรี่ก็อย่าคิดว่าจะแก้ปัญหาที่เกิดจากพิษร้ายแรงทุกอย่างที่เกิดจากการสูบบุหรี่ให้กลับเป็นปกติด้วยการรับประทาน วิตามินซี เพราะนักวิจัยได้บอกว่าผลร้ายจากการสูบบุหรี่ก็จะยังคงอยู่ ทางที่ดีที่สุดก็คือการเลิกสูบบุหรี่

การทดลองนี้ถูกศึกษาโดยคุณหมอ Issei Komuro และคณะจาก Chiba University Graduate School of Medicine ได้มีการตีพิมพ์ผลการศึกษานี้ในวารสารทางการแพทย์ The American Heart Journal

อย่างที่ทราบกันดีว่า วิตามินซี มีฤทธิ์เป็นสารต้าน อนุมูลอิสระ ที่ดี ที่สามารถช่วยป้องกันเซลไม่ให้ถูกทำลายจากอนุมูลอิสระได้ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เชื่อว่า วิตามินซี สามารถที่ป้องกันหลอดเลือดจากที่คนสูบบุหรี่ที่นำเอาสารพิษเข้าสู่ร่างกายได้ โดยการศึกษาครั้งนี้ได้พยายามที่จะศึกษาผลของ วิตามินซี ต่อความเร็วของการไหลเวียนโลหิตที่ไปเลี้ยงหัวใจ (coronary flow velocity reserve (CFVR)) ทั้งนี้การที่ระบบไหลเวียนโลหิตสามารถไหลได้เร็วก็จะมีผลดีต่อหัวใจโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่ออยู่ในสถาวะที่ต้องการเลือดไปเลี้ยงมากๆ จากการศึกษาที่ผ่านมาพบว่าคนที่สูบบุหรี่จะมีปัญหาเกี่ยวกับการขยายตัวของหลอดเลือดทำให้ความเร็วของการไหลเวียนโลหิตที่ไปเลี้ยงหัวใจลดลง

คุณหมอ Komuro ได้ใช้เทคนิคพิเศษ เพื่อวัดค่าความเร็วของการไหลเวียนโลหิตที่ไปเลี้ยงหัวใจด้วยระบบอุลตร้าซาวด์ ในคนที่สูบและไม่สูบบุหรี่ทั้งก่อนและหลังรับประทาน วิตามินซี

พบว่าก่อนการรับประทาน วิตามินซี คนที่สูบบุหรี่มีค่าความเร็วของการไหลเวียนโลหิตที่ไปเลี้ยงหัวใจน้อยกว่าคนที่ไม่สูบบุหรี่ หลังจาก 2-4 ชั่วโมงหลังได้รับ วิตามินซี คนที่สูบบุหรี่กลับมีค่าความเร็วของการไหลเวียนโลหิตที่ไปเลี้ยงหัวใจเป็นระดับปกติเหมือนคนที่ไม่ได้สูบบุหรี่

ซึ่งยังไม่เข้าใจทั้งหมดซะทีเดียวถึงเหตุที่ วิตามินซี สามารถช่วยกระตุ้นระบบหลอดเลือดของคนที่สูบบุหรี่ได้อย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการให้ในช่วงสั้นๆ แบบปริมาณสูง คุณหมอได้แนะนำว่าน่าจะมีการทำการทดลองแบบจำนวนคนที่มากๆ เพื่อยืนยันผลของ วิตามินซี กับความเร็วของการไหลเวียนโลหิตที่ไปเลี้ยงหัวใจ และรวมถึงความเสี่ยงต่อโรคหัวใจอีกด้วย


SOURCE: American Heart Journal, August 2004.

วิตามินดี ช่วยแคลเซียมในการสร้างมวลกระดูก

จากรายงานการศึกษาในวารสารทางการแพทย์ที่ชื่อว่า Journal of Clinical Endocrinology and Metabolism พบว่าเมื่อมีการให้วิตามินดีร่วมกับการรับประทานแคลเซียมในหญิงสูงอายุ วิตามินดีจะไปช่วยการเพื่อมวลกระดูกโดยเฉพาะอย่างยิ่งกระดูกสะโพก

คุณหมอ Richard Prince จากมหาวิทยาลัย University of Western Australia ในนครเพิรทประเทศออสเตรเลีย ได้ทำการทดลองในผู้หญิง ที่มีอายุระหว่าง 70-80 ปี จำนวน 120 คน โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่มกลุ่มหนึ่งให้รับประทานแคลเซียม 1200 มิลลิกรัมต่อวันร่วมกับวิตามินดี อีกกลุ่มหนึ่งให้รับประทานแคลเซียม 1200 มิลลิกรัมต่อวันกับยาหลอกที่ไม่มีวิตามินดี อีกกลุ่มได้แต่ยาหลอกที่ไม่มีทั้งวิตามินดีและไม่มีแคลเซียมแต่อย่างใด

จากการติดตามผลเป็นระยะเวลา 1 ปีพบว่ามีเพียงกลุ่มที่ได้รับแคลเซียม+วิตามินดี กับกลุ่มที่ได้รับแคลเซียมที่ยังคงสามารถคงมวลกระดูกไว้ได้ แต่กลุ่มที่ได้รับยาหลอกมวลกระดูกจะลดลงอย่างเห็นได้ชัด แต่พอถึงปีที่ 3 และ 5 ปี ต่อมา พบว่าจะมีเฉพาะกลุ่มที่ได้รับแคลเซียม+วิตามินดีเท่านั้นที่สามารถคงมวลกระดูกไว้ได้ ส่วนกลุ่มที่ได้รับแคลเซียมเพียงอย่างเดียวกับกลุ่มที่ได้รับแต่ยาหลอกก็จะมีปริมาณมวลกระดูกลงลงอย่างชัดเจน

โดยสรุปเพื่อผลที่ดีในการรักษามวลกระดูกโดยการรับประทานแคลเซียมควรจะรับประทานวิตามินดีร่วมด้วย

SOURCE: Journal of Clinical Endocrinology and Metabolism, online January 17, 2008

วิตามินซีช่วยคนสูบบุหรี่เก็บกักวิตามินอี

คนที่สูบบุหรี่มักจะอัตราการทำลายวิตามินอีที่สูงกว่าคนปกติทั่วไป อย่างไรก็ตามได้มีการงานผลการวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Free Radical Biology and Medicine พบว่าการรับประทานอาหารเสริมวิตามินซีสามารถช่วยชลอการทำลายวิตามินอีที่สูงในคนที่สูบบุหรี่ได้

คุณหมอ Maret G. Traber และทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัย Oregon State University ได้ทำการศึกษาผลของการรับประทานอาหารเสริมวิตามินซีพบว่ามันไม่เพียงช่วยเสริมวิตามินซีให้แก่ร่างกายเท่านั้น มันยังไปช่วยลดการทำลายวิตามินอีอีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคนที่สูบบุหรี่

โดยทีมวิจัยได้แบ่งอาสาสมัครที่สูบบุหรี่เป็นประจำเป็น 2 กลุ่มให้กลุ่มหนึ่งรับประทานยาหลอก อีกกลุ่มรับประทานวิตามินซีวันละ 2 ครั้งๆ ละ 500 มิลลิกรัม นาน 2 สัปดาห์ พอครบ 2 สัปดาห์ ก็จะสลับกันให้กลุ่มที่รับประทานยาหลอกไปรับประทานวิตามินซี และกลุ่มที่รับประทานวิตามินซีไปรับประทานยาหลอก นานอีก 2 สัปดาห์

ผลปรากฏว่าในช่วงเวลาที่ทั้ง 2 กลุ่มนี้รับประทานยาหลอกจะมีอัตราการลดลงของ tocopherols ซึ่งเป็นรูปที่ออกฤทธิ์ของวิตามินอีลดลงอย่างรวดเร็วโดยผู้ที่สูบบุหรี่จะลดลงเร็วกว่าคนที่ไม่ได้สูบบุหรี่

แต่ผลก็แสดงอย่างชัดเจนว่าการรับประทานอาหารเสริมวิตามินซีในทั้ง 2 กลุ่มสามารถช่วยลดอัตราการหายไปของ alpha-tocopherol ลงไป 25 เปอร์เซ็นต์ และ gamma-tocopherol ลงไป 45 เปอร์เซ็นต์

ดังนั้นการรับประทานวิตามินซีไม่เพียงแต่ช่วยเสริมวิตามินซีเท่านั้น ยังสามารถช่วยชลอการทำลายวิตามินอีได้อีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ที่สูบบุหรี่

อัลฟัลฟา (Alfalfa)

Alfalfa คืออะไร
Alfalfa (Lucene) จัดเป็นพืชจำพวกตระกูลถั่วที่มีฝัก เป็นพืชพื้นเมืองของเอเชียตะวันตก และแถบเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออก เป็นพืชชนิดแรก ๆ ที่ใช้เพื่อการเพาะปลูก เติบโตได้ในแถบทุกอากาศทั่วโลก Alfalfa มีระบบรากที่มหัศจรรย์มาก ในบางพื้นที่รากของ Alfalfa สามารถชอนไชลงไปได้ลึกกว่า 130 ฟุต จึงมีประสิทธิภาพในการดูดซึมธาตุอาหารได้มากกว่าและบริสุทธิ์กว่า อีกทั้งตัวของ Alfalfa เองก็จะไม่สะสมสารพิษ ชาวอาหรับโบราณรู้จักใช้ประโยชน์จาก “Alfalfa” มากว่า 2,000 ปีก่อนคริสตกาล โดยใช้เป็นพืชเลี้ยงสัตว์ เพื่อเพิ่มความเร็วและแข็งแรงให้กับม้า อีกทั้งยังใช้ใบมาตากแห้งชงเป็นชาดื่ม ด้วยคุณค่าทางอาหารที่มากมายชาวอาหรับจึงขนานนาม Alfalfa ให้เป็น AL-FAS-FAH-SHA หรือ “ราชาแห่งอาหารทั้งมวล”

Alfalfa ได้ถูกใช้เพื่อการรักษาทางการแพทย์มาตั้งแต่ในสมัยโบราณ โดยแพทย์ชาวจีนได้ใช้ใบ Alfalfa อ่อนในการรักษาอาการย่อยไม่ปกติ เช่นเดียวกันกับแพทย์ชาวอินเดียที่ใช้ใบ และดอกสำหรับการรักษากระบวนการย่อยทำงานที่ทำงานได้น้อย นอกจากนี้ Alfalfa ยังใช้เพื่อการบำบัดโรคข้อต่ออักเสบ ชาวอินเดียนในอเมริกาเหนือได้แนะนำให้ใช้ Alfalfa ในการรักษาโรคดีซ่าน และช่วยสนับสนุนการจับตัวของเลือด แพทย์ที่ใช้สมุนไพรเพื่อการบำบัดในสหรัฐอเมริการได้แนะนำให้ใช้ Alfalfa เป็นยาสำหรับอาการย่อยไม่เป็นปกติ ภาวะโลหิตจาง เบื่ออาหารและอาการการดูดซึมอาหารไม่ดี นอกจากนี้ยังแนะนำว่า Alfalfa มีส่วนกระตุ้นให้การหลั่งน้ำนมในแม่ดีขึ้นอีกด้วย

สารที่ประกอบอยู่ใน Alfalfa
ด้วยระบบรากที่มีประสิทธิภาพในการดูดซึมธาตุอาหารมากกว่าพืชชนิดใด ๆ เป็นผลให้ Alfalfa เป็นพืชที่มีส่วนประกอบของสารต่าง ๆ มากมาย มี กรดอะมิโน ที่จำเป็นต่อร่างกายถึง 8 ชนิด เช่น lsoleucine, Leucine, Lysine, Methionine เป็นต้น ซึ่งเป็น กรดอะมิโน ที่ร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นเองได้ แต่จำเป็นต้องมีไว้เพื่อประโยชน์ในการสร้างเซลล์ใหม่ อีกทั้ง Alfalfa ยังมีวิตามินอีกมากมาย รวมถึง วิตามิน A, B1, B6, B8, B12, C, D, E, K, P และ U รวมทั้งยังประกอบไปด้วยเกลือแร่อีกหลากชนิด เช่น ฟอสฟอรัส โปรแตสเซียม แคลเซียม สังกะสี เซเลเนียม และแมกนีเซียม เป็นต้น และยังมีเอนไซม์หลักอีกถึง 8 ชนิด คือ ไลเปส อาเมเลล โคกุเลส อีมูลซิน อินเวอร์เคส เปอร์อ๊อกซีเตส เพดติเนส โปรตีส นอกจากนี้ Alfalfa ยังมีส่วนประกอบของสารอื่น ๆ อีก เช่น Betacarotene, Bioflavinoids, Carotene, Chlorine Chlorophyll , flavone, isoflavone, sterol และ Saponin เป็นต้น ซึ่งล้วนแต่เป็นสารที่ให้คุณต่อร่างกายด้วยกันทั้งนั้น

Alfalfa กับประโยชน์ต่อร่างกาย
ประโยชน์หลักของ Alfalfa ที่มีการใช้อย่างแพร่หลายคือ

Alfalfa กับการใช้เพื่อสุขภาพสตรีวัยใกล้หมดประจำเดือน
สตรีวัยใกล้หมดประจำเดือน ควรรับประทาน Alfalfa เป็นประจำ
สาร isoflavone ใน Alfalfa ถูกจัดเป็นเอสโตรเจนธรรมชาติ (phytooestrogen) ในสตรีในวันใกล้หมดประจำเดือน เอสโตรเจนจะลดต่ำลงส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพร่างกายและภาวะกระดูกเสื่อม ไฟโต-เอสโตรเจนใน Alfalfa จะเข้าไปชดเชยเอสโตรเจนที่ต่ำลงนี้ รวมทั้ง วิตามินดี แร่ธาตุ แคลเซียมและฟอสฟอรัส ใน Alfalfa ซึ่งเป็นแร่ธาตุที่ทำให้กระดูกฟันแข็งแรง จึงลดความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะกระดูกเสื่อม นอกจากนี้วิตามินและแร่ธาตุใน Alfalfa จะช่วยให้ร่างกายปรับสภาพได้อย่างเหมาะสม ลดอาการผิดปรกติในช่วงนี้ของอายุ เช่น อาการร้อนวูบวาบตามตัว หงุดหงิดง่ายลงด้วย

ประโยชน์ด้านอื่นๆ ของ Alfalfa

Alfalfa กับภาวะ คลอเลสเตอรอล สูง
จากการศึกษาในห้องทดลองพบว่า สาร saponin และส่วนประกอบอื่นใน Alfalfa มีความสามารถในการยึดติดใน คลอเลสเตอรอล กับเกลือน้ำดีซึ่งจะเป็นผลช่วยป้องกันหรือชลอการดูดซึม คลอเลสเตอรอล จากอาหาร ดังนั้นจึงช่วยให้ระดับ คลอเลสเตอรอล ในเลือดต่ำ ป้องกันการเกิดภาวะการสะสมไขมันในหลอดเลือด ในการศึกษาผู้ป่วย 15 คน โดยให้ Alfalfa ขนาด 40 กรัม 3 ครั้งต่อวันเป็นเวลา 8 สัปดาห์ พบว่า คนไข้มีระดับ คลอเลสเตอรอล รวมและ คลอเลสเตอรอล แบบ LDL (คลอเลสเตอรอล ชนิดเป็นโทษ) ลดลง 17-18% ในขณะที่มีบางส่วนลดลงถึง 26-30% จึงอาจกล่าวได้ว่า Alfalfa มีส่วนช่วยในการควบคุมระดับความเข้มข้นของ คลอเลสเตอรอล ให้เป็นปกติ

Alfalfa ช่วยทำความสะอาดผิวจากภายใน
ครอโรฟิลล์ ปริมาณสูง วิตามิน และแร่ธาตุที่มีอยู่ใน Alfalfa ด้วยปริมาณที่เหมาะสม จะทำหน้าที่ขจัดของเสีย สารพิษออกจากเลือดและอวัยวะภายใน (Blood and Bowel cleanser) ลดการตกค้างของเสียตามผิวหนัง ทำให้เลือดสะอาดและไหลเวียนได้ดีขึ้นเหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่รับประทานมากและชอบรับประทานเนื้อสัตว์ เมื่อเลือดดีขึ้นทำให้ผิวพรรณผ่องใสมีสุขภาพที่ดีตามมา นอกจากนี้ใน Alfalfa ยังมีสาร ไฟโต-เอสโตรเจน ช่วยปรับสมดุลย์ฮอร์โมนในร่างกาย ซึ่งพบว่าในคนที่มีสิวง่าย เมื่อรับประทาน Alfalfa ปริมาณการเกิดสิวจะลดลงและผิวจะดูสะอาดขึ้น

Alfalfa กับโรคกระเพาะอาหาร
มีแพทย์จำนวนมากที่ใช้ Alfalfa รักษาโรคที่เกี่ยวกับกระเพาะอาหารต่าง เช่น มีแก๊สมากในกระเพาะอาหารเกิดอาการจุกเสียดเป็นประจำ โรคแผลในกระเพาะอาหาร และโรคเบื่ออาหาร โดยพบว่า Alfalfa มีวิตามินยู ซึ่ง ดร. กาเนนท์ อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัย สแตนฟอร์ด กล่าวว่า วิตามินยู มีศักยภาพสูงในการรักษาโรคกระเพาะ ทำให้การสมานแผลในกระเพาะดีขึ้น และการหลั่งของน้ำย่อยเป็นปกติ

Alfalfa ยังมีเอ็นไซม์ Bataine ซึ่งเป็นเอ็นไซม์สำหรับย่อยและเอ็นไซม์อื่น ๆ อีก 7 ชนิดที่ส่งเสริมปฏิกิริยาเคมีที่สามารถทำให้การดูดซึมสารอาหารภายในร่างกายเป็นไปอย่างถูกต้องและเหมาะสม รวมทั้งการมีเบต้าแคโรทีนในปริมาณสูงของ Alfalfa จะทำให้ผิวที่เคลือบกระเพาะอาหารมีความแข็งแรง ซึ่งพบว่า Alfalfa สามารถช่วยโรคกระเพาะอาหาร ปวดท้องเพราะมีแก๊สมาก รักษาแผลในกระเพาะลำไส้ ได้เป็นอย่างดี การรักษาโรคของหญ้า Alfalfa นี้อาจจะเป็นในลักษณะเดียวกันกับวิธีทางธรรมชาติของแมวหรือสุนัข ที่มักจะกินหญ้าเพื่อบรรเทาโรคกระเพาะของมันได้

ปวดข้อ ข้อแข็ง รูมาตอยด์ แก้ไขได้ด้วย Alfalfa
สารอาหารใน Alfalfa จะช่วยปรับสมดุลย์ กรด-ด่าง ในร่างกาย ป้องกันการสะสมของกรดยูริคและกรดอื่น ๆ ตามข้อต่อต่าง ๆ ในหนังสือของ แคทเทอรีน เอลวูล ชื่อ Feel Like a Million ได้กล่าวว่า “ความมหัศจรรย์ของ Alfalfa เห็นได้อย่างชัดเจนมากขึ้น เมื่อให้คนไข้รูมาตอยด์ ใช้ Alfalfa เพื่อรักษาความปวดตามข้อ ก็ได้รับรายงานจากคนไข้ว่าสามารถงอมือได้สะดวกยิ่งขึ้นและความเจ็บปวดก็หายไป

นอกจากนี้ Alfalfa ยังดีสำหรับมารดาที่กำลังให้นมบุตร ช่วยเพิ่มการหลั่งของน้ำนม Alfalfa ยังมีคุณสมบัติในการช่วยขับถ่าย ปัสสาวะให้เป็นปกติได้อีกด้วย

Alfalfa กับโรค มะเร็ง
มีการศึกษาทั้งในมนุษย์ สัตว์ และระบบเชื้อเพาะเลี้ยงพบว่า สาร phytoestrogens มีบทบาทที่สำคัญในการป้องกันโรค มะเร็ง ได้ โดยสารที่จัดว่าเป็นสารประเภท phytoestrogens จะรวมถึง isoflavones, coumestans, และ lignans ซึ่งในหน่อของ Alfalfa ถั่วเหลือง และต้น clover ถือว่าเป็นแหล่งอาหารทางธรรมชาติที่สำคัญของสารดังกล่าว ถึงแม้ว่าในปัจจุบันจะยังไม่มีข้อแนะนำในขนาดที่ควรรับประทานสาร phytoestrogens อย่างชัดเจน แต่อย่างไรก็ตามการเพิ่มการบริโภคอาหารประเภทดังกล่าวจะก่อประโยชน์และป้องกันการเกิดโรคมะเร็งในร่างกายเราได้เป็นอย่างดี

รูปแบบและขนาดรับประทาน
รูปแบบของ Alfalfa ที่มีในปัจจุบันมีทั้งเป็นแบบผงชาใช้ชงรับประทาน เม็ด หรือแคปซูล โดยถ้าเป็นชาแนะนำให้ใช้ขนาด 1-2 ช้อนโต๊ะต่อถ้วยโดยต้มให้เดือดประมาณ 10-20 นาท สำหรับรูปแบบที่เป็นเม็ด ผงแคปซูลในปัจจุบันยังไม่มีการกำหนดขนาดการใช้ Alfalfa สำหรับมนุษย์อย่างแน่นอน ผู้เชี่ยวชาญด้าน สมุนไพร บางคนแนะนำให้บริโภคขนาด 500-1,000 มิลลิกรัมต่อวัน หรือถ้าใช้ในรูปแบบของทิงเจอร์ให้ใช้ 3 ครั้งต่อวัน
สำหรับกรณีใช้ Alfalfa เพื่อการบำบัดภาวะ คลอเลสเตอรอล สูง ขนาดที่แนะนำคือ 250-1000 มิลลิกรัม 2-3 ครั้งต่อวันพร้อมกับการรับประทานอาหารหลัก

โดยผลิตภัณฑ์ Alfalfa นั้นจะต้องมีข้อความว่าปลอดจากสาร Canavanine และส่วนประกอบที่เป็นอันตรายอื่น จึงจะเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถใช้เป็นธาตุอาหารเสริมได้อย่างปลอดภัย

ข้อควรระวัง

- เนื่องจากปัจจุบัน Alfalfa มีรูปแบบหลากหลายประเภท มีทั้งเป็นแบบผง หน่อ และเมล็ด ซึ่งทั้งหมดนี้จะมีสาร L-cavanine ซึ่งเป็นสารที่อาจก่อให้เกิดเซลล์เลือดผิดปกติ ม้ามขยายตัวได้ แต่อย่างไรก็ตามปัญหานี้จะหมดไปถ้าได้มีการให้ความร้อนแก่ Alfalfa นั้น

- จากการศึกษาในสัตว์พบว่าการรับเมล็ดหรือหน่อของ Alfalfa เข้าสู่ร่างกายเป็นจำนวนมากจะก่อให้เกิดอาการ systemic lupus erythematosus (SLE) ได้ ซึ่งอาการ SLE นี้อาจเชื่อมโยงเกิดขึ้นกับคนที่รับประทาน Alfalfa ในรูปแบบเม็ดได้ โดยอาการของ SLE คือ ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายเกิดผิดปกติขึ้นเอง ซึ่งลักษณะของอาการดังกล่าวคือ ข้อต่ออักเสบ ความเสี่ยงที่ไตและอวัยวะอื่นๆ จะเสียหายสูง ซึ่งอาจเป็นผลมาจากกรดอะมิโน canavanine และปริมาณแคลลอรี่ โปรตีน แลไขมันที่มีอยู่มากในเมล็ด Alfalfa

- ในการใช้อาหารเสริม Alfalfa ไม่ควรใช้ร่วมกันอาหารเสริม Vitamin E เนื่องจาก วิตามิน จะไปขัดขวางการดูดซึม

- มีรายงานความเป็นพิษของหน่อ Alfalfa สดที่ติดเชื้อแบคทีเรียจากเมล็ดก่อนที่จะแตกหน่อ โดยในหน่อที่ยังสดของ Alfalfa อาจมีแบคทีเรียอาศัยอยู่ จึงเป็นสาเหตุของการเจ็บป่วยในคนได้ถ้าได้บริโภคเข้าไป ดังนั้น เจ้าหน้าที่สาธารณสุขจึงแนะนำเด็กเล็ก และผู้ใหญ่ที่เป็นโรคเรื้อรัง ควรหลีกเหลี่ยงการบริโภคหน่อของ Alfalfa

- Alfalfa อาจก่อให้เกิดอาการปวดท้องและท้องร่วงได้ ถ้ามีอาการดังกล่าวควรหยุดใช้ในทันที โดยสมุนไพรนี้เหมาะสำหรับผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรง กรณีของหญิงมีครรภ์ หรือเด็กเล็กไม่ควรใช้

วิธีพิชิตโรค มะเร็ง

ทุกๆ 6 วินาที ทั่วโลกจะมีผู้คนเสียชีวิตด้วยโรค มะเร็ง 1 คน ในปัจจุบันจำนวนผู้ป่วยโรค มะเร็ง ได้เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ และตอนนี้ก็เป็นสาเหตุการตายอันดับ 1 ของพี่น้องประชาชนคนไทยด้วย หลายคนท้อแท้สิ้นหวังเมื่อทราบว่าตนเองหรือญาติป่วยเป็นโรค มะเร็ง หลายคนสับสนและตื่นตระหนก เพราะเข้าใจว่าโรค มะเร็ง ไม่มีทางรักษาให้หายได้ ชีวิตที่เหลืออยู่จึงสิ้นหวัง

ที่จริงแล้วในโลกปัจจุบันนี้มีโรค มะเร็ง หลายชนิดที่สามารถถูกวินิจฉัยได้จากการตรวจสุขภาพประจำปี หรือการตรวจด้วยตนเองที่บ้าน เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก เป็นต้น และเมื่อตรวจพบแล้วก็สามารถรักษาให้หายขาดได้ มะเร็งบางชนิดสามารถใช้วิธีการรักษาหลายๆ วิธีร่วมกันก็จะช่วยยืดอายุออกไปได้อีก แต่ก็มีบางชนิดเช่นกันที่ไม่สามารถรักษาได้หรือให้ผลการักษาที่ไม่ดี

ด้วยเหตุนี้ การศึกษาค้นคว้าวิจัยเพื่อหาวิธีการต่างๆ ในการรักษาโรค มะเร็งเพื่อให้ได้ผลการรักษาที่ดี และมีผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์น้อยที่สุด จึงพัฒนาไปอย่างต่อเนื่องจนปัจจุบันบางโรงพยาบาลสามารถใช้เทคนิคการแพทย์แบบองค์รวม (Holistic Medicine) ในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรค มะเร็ง นั่นคือการใช้การแพทย์แผนปัจจุบัน ได้แก่ การผ่าตัด การฉายรังสี เคมีบำบัด ร่วมกับการแพทย์ทางเลือกในการรักษาโรค มะเร็ง เช่น สมุนไพร เป็นต้น เพราะการแพทย์แผนปัจจุบันมีความสามารถในการทำลายก้อน มะเร็ง ค่อนข้างสูง แต่ขณะเดียวกันก็ทำงายเซลปกติของร่างกายด้วย จึงก่อให้เกิดผลข้างเคียงตามมาเป็นจำนวนมาก ดังนั้นการประยุกต์ใช้แพทย์ทางเลือกดังกล่าวนอกจากจะเสริมประสิทธิภาพการรักษาให้ดีขึ้นแล้ว ยังช่วยลดความทรมานจาก ผลข้างเคียง อันไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้น ส่งผลให้ผู้ป่วยมี คุณภาพชีวิต ที่ดีขึ้น และช่วยให้การรักษาเป็นไปอย่างต่อเนื่องและครบสมบูรณ์ ไม่ต้องหยุดหรือเลื่อนการรักษาและเพื่อให้การรักษาต่างๆ มีประสิทธิผลสูงสุด อีกทั้งในผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับการรักษาแบบแผนปัจจุบันได้ก็สามารถรับยาหรือการรักษาแบบเสริมเข้าไปช่วยได้เช่นกัน อย่างไรก็ตาม สมุนไพร รักษาโรค มะเร็ง ก็มีข้อเสียตรงที่ออกฤทธิ์ช้า จะไม่เห็นผลทันที แต่จะค่อยๆ ออกฤทธิ์อย่างช้าๆ โดยไม่มีผลกระทบต่อร่างกาย

ในการรักษาโรค มะเร็ง ที่เหมาะสมก็คือการใช้การรักษาทั้ง 2 ควบคู่กันไปแบบผสมผสานจึงจะได้ประสิทธิผลการรักษาสูงที่สุด และหากเมื่อนำการรักษาแบบผสมผสานทั้ง 2 แบบแล้ว การรักษาผู้ป่วยให้หายจากโรค มะเร็ง คงไม่ใช่สิ่งที่เป็นไปไม่ได้อีกต่อไป

ในการรักษาผู้ป่วยโรค มะเร็ง นั้น สิ่งสำคัญอีกสิ่งหนึ่งที่เราไม่ควรมองข้ามไป คือ “คุณภาพชีวิต” ปัจจุบันการรักษา มะเร็ง ด้วยหลักของแพทย์แบบแผนตะวันตก ยังเป็นการรักษาโดยตรงที่สัมฤทธิ์ผลมากที่สุด แต่ผลข้างเคียงที่ตามมาก็ทิ้งความเจ็บปวดทั้งกายและใจแก่ผู้ป่วยไม่น้อย ดังนั้นจึงเริ่มมีการบำบัดร่วมกันระหว่างวิธีแพทย์แผนตะวันตก และแพทย์แผนโบราณกันมากขึ้น และไม่เพียงแต่ให้ความสำคัญในเรื่องการรักษาอย่างเดียว ประเด็นเรื่อง คุณภาพชีวิต ภูมิคุ้มกัน การฟื้นฟูร่างกายและจิตใจก็ได้รับความสนใจมากยิ่งขึ้น ก็เพื่อให้ผู้ป่วยโรค มะเร็ง สามารถทนต่ออาการข้างเคียงของการรักษาที่มีอาการข้างเคียงที่รุนแรง แต่ผู้ป่วยยังคงสามารถทนได้และมี คุณภาพชีวิต ที่ดีเหมือนไม่ได้ป่วยเป็นโรค มะเร็ง

เส้นใยอาหาร (Fiber)

เส้นใยอาหาร (Fiber) คืออะไร
ไฟเบอร์ หรือเส้นใยอาหาร ส่วนใหญ่เราจะได้จากส่วนโครงสร้างของพืช เช่น กิ่ง ก้าน เมล็ด เป็นส่วนที่ร่างกายไม่สามารถย่อยสลายได้มีอีกชื่อหนึ่งว่าเซลลูโลส ซึ่งมีโครงสร้างประกอบไปด้วยโมเลกุลน้ำตาลมาต่อกันอย่างซับซ้อน Fiber จะไม่โดนย่อยด้วยกรดในกระเพาะอาหารและเอนไซม์ในลำไส้เล็ก มันจึงเป็นกากที่จะไปเบียดบังพื้นที่ในระบบทางเดินอาหาร เวลารับประทานเข้าไปจึงรู้สึกอิ่ม อีกทั้งมันเป็นสารที่ไม่ให้พลังงาน เมื่อรับประทานเข้าไปจึงไม่ก่อให้เกิดพลังงานส่วนเกิน แต่ในทางตรงข้ามมันกลับไปช่วยขัดขวางการดูดซึมไขมันและ คลอเลสเทอรอล อีกด้วย นอกจากนี้มันยังช่วยป้องกันหรือลดความเสี่ยงจากโรค มะเร็ง ลดอัตราเสี่ยงจากไขมันอุดตันหลอดเลือด ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และเนื่องจากมันช่วยในเรื่องระบบการขับถ่ายให้ดีขึ้นนั่นเองมันจึงช่วยบรรเทาอาการ ท้องผูก ริดสีดวงทวาร ด้วย ไฟเบอร์แบ่งได้ 2 ชนิดคือ

1. ไฟเบอร์ชนิดที่ละลายน้ำได้ เวลาละลายน้ำจะเห็นเป็นลักษณะเมือกๆ พบมากในผลไม้ ถั่ว ข้าวโอ๊ต เป็นต้น

2. ไฟเบอร์ชนิดที่ไม่ละลายน้ำ จะพบมากใน ข้าวซ้อมมือ รำข้าว ผักต่าง

ประโยชน์ของไฟเบอร์ต่อร่างกาย
ผลต่อ คลอเลสเทอรอล และ โรคหัวใจ
จากหลายๆการศึกษาวิจัยพบว่า ไฟเบอร์ ชนิดที่ละลายน้ำได้เท่านั้นที่สามารถช่วยลดปริมาณ คลอเลสเทอรอล ได้ แต่ยังไม่เพียงพอที่จะรับประทานแทนยารักษาได้ และยังไม่ทราบถึงสาเหตุที่แน่ชัดเช่นกัน อย่างไรก็ตามไฟเบอร์ที่ไม่ละลายน้ำจะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิด โรคหัวใจ

ผลต่อโรค เบาหวาน
นอกจากนี้ยังมีงานวิจับพบอีกว่าไฟเบอร์ชนิดที่ละลายน้ำได้จะช่วยในด้านการลดระดับน้ำตาลในเลือด จนสามารถช่วยลดการใช้ปริมาณอินซูลินในการรักษาระดับน้ำตาลในเลือด และยังค้นพบอีกว่าคนที่รับประทานไฟเบอร์มากๆ จะช่วยลดโอกาสการเป็น เบาหวาน

ผลต่ออาการท้องผูก-มะเร็งลำไส้
การรับประทานไฟเบอร์ชนิดที่ไม่ละลายน้ำ ช่วยให้การเคลื่อนไหวของระบบทางเดินอาหารดีขึ้น ส่งผลให้ร่างกายมีการขับถ่ายดีขึ้น ช่วยบรรเทาอาการท้องผูก อีกทั้งยังช่วยลดการเก็บกักของเสียในร่างกาย ลดการหมักหมมของเสียในลำไส้ ลดโอกาสการดูดซับสารพิษจากของเสียเข้าสู่ร่างกาย และที่สำคัญมันช่วยลดโอกาสในการเกิดโรค มะเร็งลำไส้ใหญ่ ด้วยเช่นกัน

ลดความอ้วน
เมื่อเรารับประทาน ไฟเบอร์ ซึ่งเป็นสารที่ไม่ให้พลังงานเข้าไปในร่างกาย มันจะเข้าไปแย่งพื้นที่ในระบบทางเดินอาหาร ส่งผลให้เรารู้สึกอิ่มได้เร็วและอิ่มได้นาน ช่วยลดความอยากอาหารลงไป เราสามารถลดพลังงานที่จะได้รับจากอาหารได้จึงส่งผลให้ ลดน้ำหนัก ได้

แหล่งอาหารที่จะได้รับไฟเบอร์
เราสามารถได้จากพวกธัญพืช เช่น ข้าวซ้อมมือ ลูกเดือย ข้าวโอ๊ต ผลไม้ทั้งผล (ไม่ใช่น้ำผลไม้) ผลส้มแขก เมล็ดแมงลัก

ข้อควรระวัง
ในรายที่เป็นโรคขาดสารอาหารหรือ วิตามิน หรืออยู่ในระหว่างรับประทานยาบางชนิด ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนรับประทาน

อาหารกับการจัดการโรคนอนไม่หลับ

โรคนอนไม่หลับคืออะไร
โรคนอนไม่หลับเป็นอาการที่ร่างกายรู้สึกอยากจะนอนแต่ไม่สามารถหลับได้ อาจจะใช้เวลานานกว่าปกติที่ควรจะเป็น หรือหลับไปแล้วก็จะตื่นเร็วกว่าที่เป็น แล้วไม่สามารถนอนหลับต่อไปได้ ทำให้ร่างกายรู้สึกอ่อนเพลีย ไม่ได้พักผ่อนเต็มที่

ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาที่เฉพาะเจาะจงวิธีใดวิธีหนึ่งสำหรับโรคนอนไม่หลับ การรักษาจะแตกต่างกันไป โดยต้องสอบถามและค้นหาสาเหตุด้วยเพื่อการรักษาที่มีประสิทธิภาพ


เราจะเริ่มใช้อาหารมาช่วยได้อย่างไร
เราจะเริ่มใช้อาหารมาช่วยได้อย่างไร
โดยทั่วไปแล้ว เรามักจะใช้การรักษาด้วยอาหารเสริมหลายๆ แบบมาช่วยในการจัดการกับอาการนอนไม่หลับ และเพื่อผลการรักษาที่ดีที่สุดควรจะใช้หลายๆ วิธีมาใช้ร่วมกันเพื่อบรรเทาอาการนอนไม่หลับ โดยอาจจะใช้สลับกันไปก็ได้ อย่าใช้ตัวใดตัวหนึ่งจนเกิดการดื้อยาหรือจนใช้ต่อไปแล้วไม่ได้ผล เป็นต้นว่า คืนแรกใช้ melatonin คืนที่สองใช้ Valerian คืนต่อไปใช้ 5-HTP คืนต่อไปใช้ GABA แต่น่าเสียดายที่ทุกตัวที่กล่าวมายังไม่มีจำหน่ายในเมืองไทย อย่างไรก็ตามหากเราทราบสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการ แนะนำให้รักษาที่ต้นเหตุเป็นหลัก

ทุกๆ ตัวที่กล่าวมาสามารถที่จะออกฤทธิ์ได้ทันทีที่เริ่มใช้ ดังนั้นจึงแนะนำให้ใช้เฉพาะกรณีที่มีอาการเท่านั้น ไม่ควรรับประทานต่อเนื่องเป็นประจำหรือ อย่ารับประทานร่วมกับยาที่มีฤทธิ์ทำให้ง่วง เช่น ยาแก้แพ้ที่มักจะมีฤทธิ์ทำให้ง่วงนอน เพราะจะทำให้มีอาการง่วงมากเกินไปและเมื่อตื่นมาอาจจะทำให้รู้สึกไม่สดชื่นได้

ข้อแนะนำพิเศษ
►หากมีมักจะมีอาการเป็นตะคริวที่ขาบ่อยๆ จนทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับได้ ก็แนะนำให้รับประทาน Calcium และ Magnesium (อย่างละ 600 มิลลิกรัม) ก่อนนอนจะช่วยได้ดีทีเดียว

►แต่หากทีอาการซึมเศร้า เบื่อๆ ตั้งแต่น้อยมากจนถึงปานกลาง และคิดว่าอาการดังกล่าวรบกวนจนนอนไม่หลับได้►นอกจากนี้ Chamomile จะมีฤทธิ์ทำให้ง่วงแบบอ่อนๆ และยังช่วยมให้กล้ามเนื้อคลายตัวได้ดีอีกด้วย ดังนั้นเจ้า Chamomile จะช่วยให้คนที่มีอาการนอนไม่หลับง่วงและหลับได้ง่ายขึ้น โดยทั่วไปจะนิยมรับประทานเป็นแบบชงเป็นน้ำชา Chamomile ซึ่งมีวิธีชงคือ นำดอก Chamomile มา 2 ช้อนชา สำหรับน้ำ 8 ออนซ์ (250 ซีซี) ชงโดยวิธีใช้น้ำร้อนเทใส่ลงบนดอก Chamomile อย่านำไปต้มด้วยกันนะ รอสัก 5 นาที แล้วเทน้ำออกมาดื่ม

►ส่วนอาหารเสริมที่ได้แนะนำตั้งแต่แรก คือ 5-HTP, melatonin, valerian, GABA ยังไม่มีจำหน่ายในเมืองไทย และก่อนรับประทานควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนรับประทาน และควรจะใช้สลับกันไป ไม่ควรใช้ตัวใดตัวหนึ่งติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน และสิ่งสำคัญที่ควรพิจารณาคือ พยายามหาสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับ และพยายามแก้ไขที่สาเหตุจะเป็นสิ่งที่ดีที่สุด

น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส



 น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรสคืออะไร
พริมโรส (Primrose) มีถิ่นกำเนิดอยู่ในลาตินอเมริกา เป็นพืชในเขตหนาว ลำต้นสูง มีดอกสีเหลืองกลีบบาง ลักษณะของดอกจะเป็นก้านและดอกจะมีลักษณะแผ่กว้าง ในฝักของดอกพริมโรส (Primrose) จะมีเมล็ดสีน้ำตาล และมีน้ำมันชนิดหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส ออยส์ (Evening Primrose Oil) อยู่ในเมล็ด ซึ่งน้ำมันดังกล่าวนี้มีสารประกอบสำคัญ คือ กรดไขมันจำเป็นไม่อิ่มตัว (Essential Fatty Acid) ที่ร่างกายไม่สามารถสร้างเองได้ ชนิดโอเมก้า 6 ได้แก่ กรดไลโนเลอิก (Linoleic - LA) และกรดแกมมาไลโนเลนิก (Gamma Linolenic acid – GLA) ซึ่งทำหน้าที่เป็นองค์ประกอบหลักของเยื่อหุ้มเซลล์ (Cell membrane) มีคุณสมบัติในการป้องกันการสูญเสียน้ำของเซลล์ผิวหนัง ผิวจึงคงความชุ่มชื่น สดใส เปล่งปลั่ง และมีน้ำมีนวล

LA ใน น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส จะถูกร่างกายเปลี่ยนเป็น GLA โดยเอนไซม์ 6-Desaturase ซึ่ง GLA นี้เป็นสารตั้งต้นในกระบวนการสร้างพรอสตาแกลนดิน 1 (Prostaglandin E1 – PGE1) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่มีบทบาทช่วยให้ร่างกายเกิดความสบาย ตลอดจนป้องกันโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ อาทิ ช่วยลดการอักเสบ ป้องกันการอุดตันของหลอดเลือด ความดันดลหิตสูง บรรเทาอาการแทรกซ้อนจากโรค เบาหวาน และที่สำคัญที่สุด คือ รักษาอาการผิดปกติก่อนมีประจำเดือน

ประโยชน์ของน้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส
จากการที่ น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส อุดมไปด้วย GLA ทำให้มันมีคุณสมบัติที่ดีในการรักษา โดยจะเปลี่ยนรูปเป็น พรอสตาแกลนดิน ที่มีคุณสมบัติคล้ายฮอร์โมนในการช่วยให้หน้าที่ต่างๆ ในร่างกายทำงานได้ดีขึ้น นอกจากนี้มันยังมีคุณสมบัติในการต้านอาการอักเสบที่ดีด้วย

น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรสต่ออาการปวดประจำเดือนและอาการก่อนและหลังประจำเดือน
อาการที่เกิดขึ้นร่วมกันกับการมีประจำเดือน อันได้แก่ อาการปวดศรีษะ ปวดเมื่อยตามตัว อ่อนเพลีย วิงเวียนศรีษะ ปวดหลัง รวมถึงอาการคัดหน้าอก เป็นอาการที่สร้างความเดือดร้อนให้กับผู้หญิงเป็นอย่างมาก เป็นผลจากการบริโภคอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวมากเกินไป ทำให้ไขมันถูกเปลี่ยนเป็นฮอร์โมนเอสโตรเจนเพิ่มมากขึ้นในเนื้อเยื่อมดลูก ส่งผลให้มดลูกบีบตัวมากกว่าปกติ ทำให้อาการปวดท้องในขณะที่มีประจำเดือนเกิดขึ้น นอกจากนี้กรดไขมันอิ่มตัวที่มากเกินไปจะทำให้ฮอร์โมนโปรแลคตินเพิ่มมากขึ้น ซึ่งฮอร์โมนชนิดนี้จะทำให้เกิดอาการคัดหน้าอก และทำให้เลือดออกมาก เป็นผลให้เพิ่มการบีบตัวของเลือดในมดลูก ทำให้มีอาการปวดประจำเดือนมากด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ฮอร์โมนโปรแลคตินยังทำให้เกิดอาการต่างๆ เช่น ปวดศรีษะ ปวดหลัง ปวดเมื่อยรวมถึงอาการอ่อนเพลียขณะมีประจำเดือน

การบริโภค น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส ซึ่งมีกรดแกมมา ไลโนเลนิก (GLA) สามารถช่วยลดอาการปวดประจำเดือน อาการก่อนและหลังประจำเดือน อาการคัดหน้าอก ลงได้ โดยต้องบริโภคทุกวัน ไม่ใช่บริโภคเฉพาะในขณะที่เป็นประจำเดือน เพราะร่างกายต้องการเวลาในการสร้างพรอสตาแกลนดิน 1(Prostaglandin E1 – PGE1) เพื่อให้ช่วยลดอาการปวดให้ลดลง

-น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส กับ โรคเยื่อบุมดลูกอยู่ผิดที่
ตามปกติ เยื่อบุมดลูกอยู่ในโพรงของมดลูกเป็นเนื้อเยื่อที่ตอบสนองต่อระดับของฮอร์โมนเพศเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน เมื่อถึงรอบเดือนเยื่อบุมดลูกจะหนาตัวขึ้น เพราะถูกฮอร์โมนเพศกระตุ้นแต่พอฮอร์โมนเพศลดระดับลง เยื่อบุมดลูกจะสลายตัวออกจากโพรงมดลูก หลุดออกมาเป็นประจำเดือนเมี่อออกมาหมดแล้ว และมีฮอร์โมนเพศมากระตุ้นอีก เยื่อบุมดลูกจะหนาขึ้นเหมือนเดิม และเมื่อระดับฮอร์โมนเพศลดลงก็จะออกมาเป็นประจำเดือนของเดือนถัดไป

แต่ในบางครั้งเยื่อบุมดลูกเกิดอยู่ผิดที่ กล่าวคือ ไม่อยู่ในโพรงมดลูก แต่กลับไปอยู่ที่ รังไข่บ้าง ช่องเชิงกรานบ้าง ดังนั้น เมื่อฮอร์โมนเพศมีระดับสูง เยื่อบุมดลูกที่อยู่ผิดที่จะหนาขึ้น และเมื่อระดับฮอร์โมนเพศลดลงก็จะออกมาเป็นเลือด แต่เลือดที่ออกมานี้จะระบายออกมาทางช่องคลอดเช่นเยื่อบุมดลูกที่อยู่ในโพรงมดลูกไม่ได้ เลือดที่ออกมาจะถูกขังอยู่เป็นถุงน้ำหรือซีสต์ ในรังไข่บ้าง ช่องเชิงกรานบ้าง ซึ่งถ้าก้อนมีขนาดใหญ่ก็อาจจะต้องทำการผ่าตัด ดังนั้นกรดไขมันจำเป็น ซึ่งก็คือ กรดแกมมา ไลโนเลนิก (GLA) ที่มีอยู่ในน้ำมันอีฟนิ่งพริมโรสจึงมีบทบาทต่อโรคเยื่อบุมดลูกอยู่ผิดที่เป็นอย่างมาก กล่าวคือ กรดแกมมา ไลโนเลนิก ถูกเอาไปสร้างพรอสตาแกลนดิน 1(Prostaglandin E1 – PGE1) สามารถบรรเทาอาการอักเสบของก้อนเนื้อได้ ทำให้อาการปวดลดลง

น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรสกับโรคไขข้ออักเสบ
ไขข้ออาจมีโอกาสอักเสบได้ เนื่องจากการใช้งาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ข้อเข่า ข้อเท้า ข้อมือ ข้อนิ้ว ที่ทำงานหนัก แต่การซ่อมสร้างต้องกระทำอย่างรวดเร็ว เมื่อมีอายุมากขึ้น ความสามารถในการซ่อมสร้างอาการอักเสบของข้อต่างๆของร่างกายนั้นลดน้อยลง จึงเกิดอาการอักเสบและมีอาการปวดข้อในผู้สูงอายุได้ นอกจากนี้ยังมีโรคไขข้ออักเสบรูมาตอยด์ ซึ่งเป็นโรคไขข้ออักเสบหลายๆข้อทั่วร่างกาย เกิดจากภูมิต้านทานไวเกินและมาทำร้ายเนื้อเยื่อของไขข้อและเนื้อเยื่อรอบข้อ ในผู้ป่วยที่เป็นโรคไขข้ออักเสบรูมาตอยด์นี้ จะมีระดับพรอสตาแกลนดิน 1(Prostaglandin E1– PGE1) ที่รักษาอาการอักเสบต่ำมาก แต่มีระดับพรอสตาแกลนดิน 2 ที่ก่อให้เกิดอาการอักเสบและจ็บปวดมากกว่าปกติ

โดยปกติ การรักษาอาการอักเสบของข้อเป็นหน้าที่ของพรอสตาแกลนดิน 1 (Prostaglandin E1 – PGE1) ซึ่งมีอยู่ใน น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส จะทำหน้าที่คอยบรรเทาอาการอักเสบและอาการบวมรอบข้อลงได้

จากการศึกษาทดลองใช้ในผู้ป่วยเป็นเวลานาน 6 เดือน พบว่าผู้ป่วยที่รับประทาน น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส จะให้ผลลดอาการปวดและอักเสบตามไขข้อได้ดีกว่ายาหลอกอย่างชัดเจน

น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรสกับโรคเบาหวาน
น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส สามารถช่วยป้องกันอาการเซลประสาทถูกทำลายจากโรค เบาหวาน จากการวิจัยได้ชี้ให้เห็นว่า GLA ใน อีฟนิ่งพริมโรส สามารถช่วยป้องกันอาการดังกล่าวได้ และในบางรายยังสามารถทำให้เซลประสาทคืนกลับมาเหมือนเดิมได้ด้วย อาการปลายประสาทอักเสบ (neuropathy) นั้นจะพบได้บ่อยในผู้ป่วยโรค เบาหวาน จากการศึกษาที่นานนับปี มีผลวิจัยออกมาว่าอาการชาตามปลายประสาท อาการเจ็บปวดแปลบๆ และอาการสูญเสียความรู้สึกในผู้ป่วย เบาหวาน จะลดน้อยลงจากชัดเจนในรายที่รับประทาน น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส กว่าผู้ที่ไม่ได้รับประทาน

น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรสกับปัญหาโรคอื่นๆ
-น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส กับผื่นแพ้และกลากน้ำนม
ผู้ที่มีอาการของผื่นแพ้ โดยเฉพาะในเด็กที่เป็นกลากน้ำนม ร่างกายไม่สามารถเปลี่ยนกรดไขมันโอเมก้า 6 ชนิดกรดไลโนเลอิก (Linoleic - LA) ให้เป็นกรดแกมมา ไลโนเลนิก (GLA) ได้ หรือถ้าเปลี่ยนได้ก็เปลี่ยนได้น้อย ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย เนื่องจากขาดเอนไซม์ในปฏิกิริยาชีวเคมีบางชนิด

หากเด็กจำเป็นต้องกินนมวัวและทำให้เกิดกลากน้ำนม เนื่องจากในนมวัวมีกรดไขมันชนิด กรดไลโนเลอิก (Linoleic - LA) ซึ่งเด็กส่วนหนึ่งไม่มีเอนไซม์บางตัว จึงไม่สามารถเปลี่ยนกรดไขมันดังกล่าวให้เป็นพรอสตาแกลนดิน 1(Prostaglandin E1 – PGE1) แบบนมแม่ได้ จึงเกิดอาการแพ้ขึ้น ดังนั้น น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส จึงช่วยลดอาการแพ้นี้ได้ โดยการทาที่ผิวหนังเพื่อให้น้ำมันซึมผ่านเข้าไป

-น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส กับผิวพรรณ
ช่วยบำรุงผิวพรรณให้ชุ่มชื่น ปรับสภาพผิวที่แห้งกร้านให้กลับดูนุ่มนวลสดใส ลดริ้วรอยและความหมองคล้ำของผิวพรรณ ช่วยลดการเกิดสิวอุดตัน ตลอดจนช่วยรักษาอาการผิดปกติทางผิวหนัง เช่น ผิวหนังแห้ง รวมถึงอาการผมร่วง มีรังแค และเล็บเปราะได้

นอกจากนี้ยังช่วยรักษาอาการโรคเรื้อนกวาง (eczema) ซึ่งทำให้ผู้ป่วยโรคนี้มีอาการลดลงสามารถปริมาณการใช้ยากลุ่มสเตียรอยด์ลงไป

-น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส กับ โรคความดันโลหิตสูง
โรคของหลอดเลือดอันเกิดจากไขมันในเลือดสูง ทำให้หลอดเลือดแข็งตัวและเสียความยืดหยุ่น แรงดันเลือดในหลอดเลือดเพิ่มสูงขึ้นจากความแข็งของเลือด อันเป็นสาเหตุสำคัญของโรคความดันโลหิตสูง การที่หลอดเลือดเพิ่มแรงต้านทานในการไหลของหลอดเลือดจะส่งผลกระทบต่อหัวใจ กล่าวคือ จะต้องออกแรงบีบไล่เลือดไปตามหลอดเลือดที่แข็งตัวแรงกว่าเดิม เป็นเหตุให้ความดันโลหิตเพิ่มตาม

กรดไขมันจำเป็น คือ กรดแกมมา ไลโนเลนิก (GLA) ใน น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรสสามารถลดความดันโลหิตลงได้

-น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส กับ โรคหัวใจ
โรคหัวใจ เกิดจากไขมันในเลือดสูง ทำให้เกิดการอุดตันในหลอดเลือด หลอดเลือดมีขนาดรูแคบลง ทำให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่เพียงพอและเกิดอาการแน่นหน้าอก ปวดในหน้าอก จนกระทั่งหัวใจวายได้ใน น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส มีกรดโอเมก้า 6 ช่วยป้องกันไม่ให้เลือดจับตัวกันเป็นก้อน ป้องกันไม่ให้เกิดตะกอนของไขมันในหลอดเลือด และป้องกันโรคหัวใจได้

-น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส กับ โรคไต
ผู้ป่วยที่ป่วยเป็น โรคไต บางรายที่กินยาบางตัว หรือได้รับสารพิษบางตัว ซึ่งสารเคมีดังกล่าว มักจะไปยับยั้งการสร้างฮอร์โมนพรอสตาแกลนดิน 1 (Prostaglandin E1 – PGE1) แล้วทำให้ไตเสียตามมา การบริโภคกรดไขมันจำเป็นโอเมก้า 6 ชนิด GLA จะสามารถถนอมรักษาไตให้คงสภาพปกติได้นานเนื่องจากการบริโภคน้ำมันอีฟนิ่งพริมโรสเข้าไป จะทำให้ร่างกายสร้างฮอร์โมนพรอสตาแกลนดิน 1 (Prostaglandin E1 – PGE1) ได้มากขึ้น ส่งผลให้สามารถแก้ไขความเสียหายของไตที่เกิดขึ้นให้กลับคืนสู่ปกติได้

-น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส กับ โรคจิตใจ
โรคจิตเภท (Schizophrenia) เกิดขึ้น เนื่องจากมีความผิดปกติทางชีวเคมีในสมองของผู้ป่วย ทำให้เกิดอาการทางสมอง คือ ควบคุมตนเองไม่ได้ ซึมเศร้า ทำอะไรไม่รู้ตัว ประสาทหลอน ซึ่งอาการดังกล่าวนักวิทยาศาสตร์คาดว่า อาจเป็นเพราะร่างการขาดกรดไขมันจำเป็น ชนิด กรดแกมมา ไลโนเลนิก (GLA) และมีฮอร์โมนพรอสตาแกลนดิน 1 (Prostaglandin E1 – PGE1) ไม่เพียงพอรวมทั้งยังมีกรดไขมันจำเป็นชนิด กรดไลโนเลอิก (Linoleic - LA) น้อยกว่าปกติ ดังนั้น การบริโภค น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส จะทำให้เพิ่มกรดไขมันจำเป็น ส่งผลให้ลดอาการทางจิตใจได้

-น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส กับ โรคอัลไซเมอร์
โรคอัลไซเมอร์ เป็นโรคความจำเสื่อม มักจะเกิดกับผู้สูงอายุ มีอาการหลงลืม โดยสูญเสียความทรงจำเกี่ยวกับปัจจุบันไป แต่สามารถจำอดีตได้ การที่ผู้สูงอายุสูญเสียความทรงจำไปนี้เพราะขาดกรดไขมันจำเป็น ผลก็คือ เม็ดเลือดแดงจะมีเยื่อหุ้มเซลล์แข็งขึ้นกว่าเดิม ทำให้จับออกซิเจนได้ลดลง เป็นผลให้สมองได้รับเลือดไปเลี้ยงน้อยกว่าปกติ จึงเกิดอาการหลงลืม การบริโภค น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส เข้าไป สามารถเพิ่มกรดแกมมา ไลโนเลนิก (GLA) จะทำให้เม็ดเลือดแดงกลับคืนสู่สภาพปกติ กล่าวคือ สมองได้รับออกซิเจนไปเลี้ยงเพิ่มมากขึ้น อาการดังกล่าวข้างต้นก็จะทุเลาลง

-น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส กับ โรค ไข้หวัด
หลังจากการติดเชื้อไวรัส เช่น ไข้หวัด ร่างกายจะอ่อนเพลียเสมอ ทั้งนี้เพราะการติดเชื้อหวัดจะกระทบต่อการดูดซึมกรดไขมันจำเป็นชนิดกรดไลโนเลอิก (Linoleic - LA) เข้าสู่ร่างกาย อีกทั้งยังยับยั้งการเปลี่ยนกรดไลโนเลอิก (Linoleic - LA) ไม่ให้เป็นกรดแกมมา ไลโนเลนิก (GLA) อีกด้วย
ในขณะที่เป็นหวัด ร่างกายจึงขาดกรดไขมันในกลุ่มโอเมก้า 6 อย่างรุนแรงทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยตามเนื้อตัว และเกิดอาการอ่อนเพลียอย่างรุนแรง ซึ่งการบริโภค น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส จะสามารถบรรเทาอาการหวัดลงได้

-น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส กับ โรคตับเรื้อรัง
ผู้ป่วยโรคตับเรื้อรัง จะมีกรดไขมันจำเป็นในเลือดผิดปกติ โดยมีกรดชนิด กรดไลโนเลอิก (Linoleic - LA) สูงผิดปกติ แต่เมตาโบไลต์ชนิดอื่นในปฏิกิริยาเคมีอยู่ในระดับต่ำ แสดงว่าร่างกายของผู้ป่วยโรคตับเรื้อรังไม่สามารถเปลี่ยน กรดไลโนเลอิก (Linoleic - LA) ให้กลายเป็นกรดแกมมา ไลโนเลนิก (GLA) ดังนั้นฮอร์โมนพรอสตาแกลนดิน 1 (Prostaglandin E1 – PGE1) จึงมีระดับต่ำ ทำให้โรคตับมีอาการกำเริบขึ้น เพราะภูมิต้านทานจะต่ำลง อาการอักเสบมีมากขึ้น เม็ดเลือดขาวทำงานไม่ดี การบริโภค น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส จะสามารถบรรเทาอาการโรคตับลงได้

ปริมาณที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน
ปริมาณที่แนะนำของจำนวนของกรดไขมัน GLA ที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันนั้น คือ 240 มิลลิกรัมต่อวัน ดังนั้นปริมาณที่แนะนำของ น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส สำหรับรักษาอาการต่างคือ รับประทานครั้งละ 1,000 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้ง ซึ่งจะเทียบเท่ากับปริมาณ GLA 240 มิลลิกรัมตามที่ต้องต่อวัน

สำหรับผู้ป่วย เบาหวาน: ปริมาณที่แนะนำให้รับประทานคือ ครั้งละ 1,000 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้ง ร่วมกับรับประทาน น้ำมันปลา (Fish Oil) อีกครั้งละ 1,000 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง

ข้อแนะนำในการรับประทาน

-รับประทาน น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส พร้อมอาหารเพื่อลดอาการข้างเคียงที่อาจจะเกิดขึ้น

-เพื่อให้ได้ผลดีในการใช้ในการรักษาอาการปวดประจำเดือน ดังนั้นเพื่อให้ น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส เปลี่ยนเป็น GLA ได้ดีควรรับประทานร่วมกับ Multivitamin (ควรจะประกอบไปด้วย zinc, vitamin C, vitamin B-complex vitamins และ magnesium)

-ในรายที่ต้องการผลด้าน ผิวหนัง ผม และเล็บ อาจจะต้องใช้เวลา 2-6 เดือนกว่าจะเห็นผล

อาการข้างเคียง

ถึงแม้ว่า น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส จะให้คุณประโยชน์ มากมาย แต่สำหรับผู้บริโภคบางรายที่รับประทานเข้าไปแล้ว อาจจะเกิดอาการข้างเคียงได้ อาทิ

-อาการคลื่นไส้ ท้องอืดเฟ้อ

-อาการปวดศรีษะ

-อาการผื่นแพ้

-อาการลมชักกำเริบ

ในยุคปัจจุบันนี้ ผู้บริโภคส่วนใหญ่จะบริโภคกรดไขมันอิ่มตัวจากการกินเนื้อสัตว์ นม ช็อกโกแลตมากเกินไป จนกระทั่งกรดไขมันอิ่มตัวเข้าไปแทนที่กรดไขมันจำเป็น ทำให้ร่างกายได้รับกรดไขมันจำเป็นชนิดโอเมก้า 6 ไม่เพียงพอ เพื่อให้ร่างกายอยู่ในสภาวะที่สมดุล และช่วยป้องกันและบรรเทาอาการของโรคต่างๆ ดังที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น ดังนั้นจึงควรบริโภค น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส เพื่อให้ร่างกายเปลี่ยน กรดไลโนเลอิก (Linoleic - LA) เป็น กรดแกมมา ไลโนเลนิก (GLA) ทำให้ร่างกายมีสุขภาพดีในที่สุด